มาตรการสนับสนุนการเดินทางแบบไร้เครื่องยนต์ในชุมชนที่ใช้ยานยนต์เป็นหลัก กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Main Article Content

ณฤพล นิยม
ปรเมศวร์ เหลือเทพ

Abstract

       การเดินและการใช้รถจักรยานเป็นการเดินทางแบบไร้เครื่องยนต์ที่นิยมในต่างประเทศ แต่สำหรับประเทศไทยการเดินทางด้วยรูปแบบดังกล่าวยังเป็นประเด็นท้าทายอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานวางแผนและจัดการการขนส่ง  บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการสนับสนุนการเดินทางแบบไร้เครื่องยนต์ในชุมชนที่ใช้ยานยนต์เป็นหลักโดยใช้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นกรณีศึกษา  บทความนี้นำเสนอการพัฒนาแบบจำลองการเลือกรูปแบบการเดินทางระหว่างรถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถโดยสารประจำทาง รถจักรยาน และการเดินของกลุ่มตัวอย่างผู้เดินทางภายในพื้นที่ศึกษา ซึ่งเป็นนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก และได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นในการประเมินประสิทธิภาพของมาตรการสนับสนุนการเดินทางแบบไร้เครื่องยนต์ที่มีต่อการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่าปัจจัยเวลาส่งผลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทางมากกว่าปัจจัยค่าใช้จ่ายในการเดินทาง  ส่วนมาตรการสนับสนุนการเดินทางแบบไร้เครื่องยนต์ที่แท้จริงควรบูรณการมาตรการเพิ่มเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้ใช้รถส่วนตัวกับมาตรการปรับปรุงทางการเดินทางแบบไร้เครื่องยนต์ ทำให้การเดินทางแบบไร้เครื่องยนต์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มบุคคลภายนอกและกลุ่มนักศึกษา และทำให้การปล่อยก๊าซ CO2 ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 62.6

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)