การประเมินความเต็มใจที่จะจ่ายของเกษตรกรเพื่อการบริหารจัดการชลประทาน

Main Article Content

ทิพาภรณ์ หอมดี
กชกร เดชะคำภู

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความเต็มใจที่จะจ่าย (willingness to pay, WTP) ของเกษตรกรเพื่อการบริหารจัดการชลประทานด้วยวิธีการประเมินมูลค่าในสถานการณ์สมมติ (contingent valuation method: CVM) และ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ (logistic regression) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ใช้น้ำในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ จังหวัดนครพนม จำนวน 414 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการบริหารจัดการชลประทานจำนวน 224 คน คิดเป็นร้อยละ 54.11 โดยเต็มใจจะจ่ายเฉลี่ยเป็นเงิน 0.188 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มี 5 ปัจจัย ได้แก่ การเพาะปลูกข้าวนาปี/นาปรัง การเพาะปลูกข้าวนาปี/ทำสวน พื้นที่ที่ทำการเกษตรทั้งหมด รายได้หลังหักต้นทุนจากการทำการเกษตร และระดับการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

[1] ทิพาภรณ์ หอมดี, กชกร เดชะคำภู. การประเมินมูลค่าน้ำชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครพนม. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรจน์. 2559; 11(2): 39–47.
[2] ชูชีพ พิพัฒน์ศิถี. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาการบริหารการจัดเก็บค่าน้ำ (รายงานหลัก) กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2544.
[3] ปัทมาพร ปันทิยะ. การประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายของเกษตรกรเพื่อสนับสนุนการก่อตั้ง กองทุนเหมืองฝายของชุมชนในลุ่มนํ้าแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2552.
[4] Bozorg-Haddad O, Malmir M. MohammadAzari S, Loáiciga H. A. Estimation of farmers’ willingness to pay for water in the agricultural sector. Agricultural Water Management. 2016; 177, 284−290.

[5] Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publication; 1973.
[6] นิดา พุฒิพิริยะ. การประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อป้องกันนํ้าท่วมในเขต ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2552
[7] สุรพงษ์ พวงคต. ความเต็มจ่ายค่าน้ำชลประทานอ่างเก็บนํ้าห้วยศาลา จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2553.
[8] เศรษฐภูมิ บัวทอง. การประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายของเกษตรกรเพื่อบริหารจัดการชลประทาน โครงการส่งและและบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชลจังหวัดนครนายก. The Association for Environmental Education of Thailand AEE-T Journal of Environmental Education. 2015; 6(12): 19–29.
[9] Hanemann WH. Welfare evaluation in contingent valuation experiments with discrete responses. American Journal of Agricultural Economics. 1984; 66(3): 332–341.
[10] Tang Z, Nan Z, Liu J. The willingness to pay for irrigation water: A case study in Northwest China. Global Nest Journal. 2013; 15(1), 76−84.
[11] Aidam PW. The impact of water-pricing policy on the demand for water resources by farmers in Ghana. Agricultural Water Management. 2015; 158, 10−16.