การจัดลำดับกระบวนการทำงานที่ส่งผลกระทบทางการยศาสตร์โดยประยุกต์ใช้ การตัดสินใจแบบลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์: กรณีศึกษากระบวนการทำงานฮอทไลน์ของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาทางการยศาสตร์เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและประสิทธิภาพการทำงาน งานวิจัยนี้ได้นำการตัดสินใจแบบลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์มาประยุกต์ใช้ในการจัดลำดับกระบวนการทำงานที่ส่งผลกระทบทางด้านการยศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
จัดลำดับกระบวนการทำงานฮอทไลน์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ส่งผลกระทบทางด้านการยศาสตร์และนำการตัดสินใจแบบลำดับชั้น
เชิงวิเคราะห์มาประยุกต์ใช้ และได้นำปัญหาทางการยศาสตร์ของพนักงานฮอทไลน์เป็นปัจจัยในการวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของกระบวนการทำงานฮอทไลน์ ได้แก่ ท่าทางในการปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ภาระงาน ความถี่ในการปฏิบัติงาน และสิ่งคุกคามภายนอก ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ ความถี่ในการปฏิบัติงาน รองลงมาคือ ท่าทางในการปฏิบัติงาน และภาระงาน โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ 0.364, 0.258 และ 0.194 ตามลำดับ และจากการพิจารณาลำดับความสำคัญของกระบวนการทำงาน พบว่า งานปลดและเชื่อมสายบนเสาไฟฟ้าต้นเข้าปลายสายสองข้างและเสาไฟฟ้าต้นทางแยกที่เชื่อมด้วยข้อรัดสายไฟฟ้าแบบพีจีหรือ
หลอดต่อสาย มีลำดับความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคืองานปักเสาเพิ่มในระบบจำหน่าย และการติดตั้งและรื้อถอนสวิตช์ตัดโหลดจากระยะไกลโดยมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ 0.164, 0.162 และ 0.145 ตามลำดับ
Article Details
References
Alex A, Matthew RH. Safety risk management for electrical transmission and distribution line construction. Safety Science. 2013;50(1): 118-26.
Jaffar N, Abdul-Tharim AH, Mohd-Kamar IF, Lop N.S. A literature review of ergonomics risk factors in construction industry. In: Norngainy Mohd Tawil, Sr Adi Irfan Che Ani, Sr Md Yusof Hamid, Nor Amin Mihd Radzuan. (eds) The 2nd International Building Control Conference 2011 (Procedia Engineering), 2011 July 11-12, Penang, Malaysia: Elsevier; 2011. p. 89–97.
สำนักงานประกันสังคม. ข้อมูลสถิติกองทุนเงินทดแทน. เข้าถึงได้จาก: https://www.sso.go.th/wpr/main/
knowledge/ข้อมูลสถิติกองทุนเงินทดแทน_
category_list-label_1_169_0 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563].
Deepak KK, Prasad VK. Ergonomic assessment and workstation design of shipping crane cabin in steel industry. International Journal of Industrial Ergonomics. 2016;52(1): 29-39.
Antonio CC, Pacifico MP, Paolo S. AHP-based methodology for selecting safety devices of industrial machinery. Safety Science. 2013;53(1): 202-218.
Silvia C, Luigi M, Giuseppe V. Reduction of workers’ hand-arm vibration exposure through optimal machine design: AHP methodology applied to a case study. Safety Science. 2019;120(1): 706-727.
Min-chih H, Eric MW, Wui-chiang L, Lun-wen L, Chin-yi H, Weide T, et al. Application of HFACS, fuzzy TOPSIS, and AHP for identifying important human error factors in emergency departments in Taiwan. International Journal of Industrial Ergonomics. 2018;67: 171–179.
Saaty TL. How to Make a Decision: The Analytic Hierarchy Process. European Journal of Operational Research. 1990;48(1): 9–26.
กสิณ รังสิกรรพุม. การใช้เครื่องมือการทำการตัดสินใจแบบหลายปัจจัยในการแก้ปัญหาทิศทางการผลิตชิ้นงานจากการผลิตแบบดั้งเดิมและแบบพิมพ์สามมิติ. วรสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. 2563;16(1): 15-30.
นาถ สุขศีล, วชรภูมิ เบญจโอฬาร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อแบบจําลองสมดุลความปลอดภัยในงานก่อสร้าง. วรสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ.. 2558;8(2): 36-47.
ชาญณรงค์ ภุชงควาริน, กสิณ รังสิกรรพุม. การวิเคราะห์ปัจจัยและการจัดเส้นทางสำหรับการเดินรถสาธารณะในจังหวัดอุบลราชธานี. วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2563;15(1): 6-16.
Panagiotis KM, Michail F, Georgios KK, Dimitrios EK. The integration of HAZOP study with risk-matrix and the analytical-hierarchy process for identifying critical control-points and prioritizing risks in industry – A case study. Journal of Loss Prevention in the Process Industries. 2019;62:
-16.
Sandra FBG, Renan P, Jose B, Milton M, Eduardo PLJ. Ergonomic and psychosocial aspects of electrical energy maintenance activities on transmission lines. In: S. Bagnara et al. (eds) Proceedings of the 20th Congress of the International Ergonomics Association (IEA2018), 2018 August 31 - September 1, Firenze, Italy: Springer Nature Switzerland; 2018. p.1757–1760.
Ming Y, Linyan S, Jianhua DJ, Fengge W. Ergonomics hazards analysis of linemen’s power line fixing work in China. International Journal of Occuppational Safety Ergonomics. 2009;15(3): 309–317.
Janice JG, Zharlene BS. An occupational risk analysis of garbage collection tasks in the Philippines. 2019 IEEE 6th International Conference on Industrial Engineering and Applications (ICIEA2019), 26 April 2019 – 29 April 2019, Tokyo, Japan: IEEE; 2019. p.408–413.
Yongcheng Y, Shan Z, Zhen A, Shouying W, Hongbin L, Lingeng L, et al. The associations of work style and physical exercise with the risk of work-related musculoskeletal disorders in nurses. International Journal of Occupational Medicine and Environmental Health, 2019;32(1): 15–24.
สุรศักดิ์ พุคยาภรณ์, ต่อตระกูล ยมนาค, ไพจิตร ผาวัน. การประยุกต์ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินใจเลือกระบบผนัง. ศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2558;7: 61–69.
Saman A, Murat G, Rifat S. Safety risk assessment using analytic hierarchy process (AHP) during planning and budgeting of construction projects. Journal of Safety Research, 2013;46: 99–105.
Rulin L, Weiming C, Yanbin Y, Qingfeng X. Human factors analysis of major coal mine accidents in China based on the HFACS-CM model and AHP method. International Journal of Industrial Ergonomics. 2018;68: 270–279.
เอกวิทย์ พิมพ์ปัจฉิม, นราธิป สุพัฒน์ธนานนท์, รักน้อย อัครรุ่งเรืองกุล. การคัดเลือกสถานที่ตั้งที่เหมาะสมของคลังสินค้าด้วยการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นสำหรับคลังสินค้าควบคุมพิเศษ. วรสาร มทร.อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2563;13(2): 57-73.