การคัดเลือกและประเมินผู้ส่งมอบด้วยวิธีการลำดับขั้นเชิงวิเคราะห์ : กรณีศึกษาบริษัทค้าปลีกในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

คธายุทธ ก๋ามะโน

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานการส่งมอบของบริษัทผู้จัดจำหน่ายที่ส่งมอบสินค้าให้กับบริษัทกรณีศึกษาร้านค้าปลีกแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่"ภายใต้ปัจจัยในการประเมินผลที่ได้กำหนดไว้ โดยวิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ทั้งนี้บริษัทกรณีศึกษาและบริษัทผู้จัดจำหน่ายจะได้ทราบถึงผลการดำเนินงานที่ดีที่สุดในแต่ละด้าน รวมไปถึงปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานการส่งมอบมากที่สุด ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินพัฒนามาจากทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างเป็นแบบสอบถามและส่งให้ผู้เกี่ยวข้องได้ประเมิน ซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทกรณีศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และบริษัทผู้จัดจำหน่าย จากนั้นจะทำการสรุปผลปัจจัยตามมุมมองของผู้ประเมิน และผลการดำเนินงานที่ดีที่สุดของผู้จำหน่าย จากการศึกษาพบว่า วิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เป็นวิธีที่สามารถใช้ในการประเมินผลได้ดี เนื่องจากเป็นวิธีคิดแบบมีลำดับขั้น ตัดสินใจเลือกเป็นคู่ ๆ ทำให้สามารถช่วยลดอคติในการตัดสินใจ ซึ่งผลที่ได้จะมีอัตราค่าความสอดคล้องรองรับเพื่อความน่าเชื่อถือในการประเมินผล ผลจากการประเมินพบว่า จากปัจจัยหลักทั้ง 6 ปัจจัย และปัจจัยรองทั้ง 12 ปัจจัย ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของผู้ส่งมอบมากที่สุดคือ ปัจจัยหลักด้านต้นทุน และปัจจัยรองด้านส่วนลด ซึ่งจากการประเมินผลการดำเนินงานของผู้ส่งมอบในมุมมองของบริษัทกรณีศึกษาพบว่า บริษัทผู้จัดจำหน่าย E มีผลการดำเนินงานที่ดีที่สุด ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญพบว่า บริษัทผู้จัดจำหน่าย B มีผลการดำเนินงานที่ดีที่สุด และในมุมมองการประเมินตนเองของบริษัทผู้จัดจำหน่ายพบว่า บริษัทผู้จัดจำหน่าย I มีผลการดำเนินงานที่ดีที่สุด ทั้งนี้เมื่อได้ถ่วงน้ำหนักตามค่าความสำคัญของผู้ประเมินแล้วพบว่า บริษัทผู้จัดจำหน่ายที่มีผลการดำเนินงานการส่งมอบที่ดีที่สุดคือ บริษัทผู้จัดจำหน่าย B และ E ซึ่งผลการดำเนินงานที่ดีในปัจจัยแต่ละด้านสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของผู้ส่งมอบต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Banomyong, R., & Supatn, N. Selecting logistics providers in Thailand: a shippers' perspective. European Journal of Marketing. 2011;45(3) :419-437.

Saaty, T. L., & Vargas, L. G. The seven pillars of the analytic hierarchy process. In Models, methods, concepts & applications of the analytic hierarchy process. Springer, Boston, MA. 2012; 23-40.

ภัชรี นิ่มศรีกุล. (2552). การประยุกต์ใช้การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์เพื่อคัดเลือกศูนย์กลางโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้าในประเทศไทยบนแนวระเบียงเศรษฐกิจ. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

Huizingh, E., & Vrolijk, H. C. (1995). Decision support for information systems management: applying analytic hierarchy process. Graduate School Research Institute Systems, Organisation and Management, University of Groningen.

วิฑูรย์ ตันศิริคงคล. (2542). AHP กระบวนการตัดสินใจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก. กรุงเทพฯ: กราฟฟิคแอนด์ปริ้นติ้ง.

นันทกานต์ ก้านทองคำ. (2549). การคัดเลือกผู้ประกอบการโลจิสติกส์ลำดับที่ 3 โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบลำดับชั้น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยบูรพา

อนุรักษ์ สว่างวงค์. (2552) การประยุกต์ใช้กระบวนการตัดสินใจหลายหลักเกณฑ์แบบฟัซซี่ ในการคัดเลือกพื้นที่จัดตั้ง และระบบเชื่อมต่อของสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 3. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กันต์ธมน สุขกระจ่าง และธราธร กูลภัทรนิรันดร์. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจในการเลือกใช้ผู้ให้บริการขนส่งของกลุ่มผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ า โดยวิธี AHP”. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจ าปี 2554. มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.กรุงเทพฯ.

นริสรา ขันธีวิทย์ (2551) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการด้านขนส่งของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

เกรียงศักดิ์ พิสิฐบัณฑูรย์ (2543) ปัจจัยที่มีผลต่อลูกค้าในการเลือกใช้บริการของธุรกิจขนส่งสินค้าเอกชนโดยรถบรรทุก วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นพรัตน์ โค้วบุญญะราศรี. (2542) การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพผู้ส่งมอบสำหรับโรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ . สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือกรุงเทพฯ.