ผลกระทบของปริมาณการเติมและขนาดของเถ้าแกลบต่อสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลของคอมโพสิตพอลิโพรพิลีนรีไซเคิล

Main Article Content

วรรณนิศา นุชคุ้ม
จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร
รัฐพล สมนา
วรพงค์ พงศ์ภัทรวุฒิ
พัชระ กัญจนกาญจน์
อนุชิต คงฤทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเบื้องต้นของคอมโพสิตจากพอลิโพรพิลีนที่ผ่านการใช้งานแล้วผสมเถ้าแกลบ โดยพอลิโพรพิลีนในการวิจัยนี้รีไซเคิลจากขวดเครื่องดื่ม ถุงบรรจุอาหารร้อน ถุงน้ำเกลือ และตะกร้าบรรจุของ เถ้าแกลบที่ใช้ในงานวิจัยนี้มีสองขนาดคือ 17 และ 29 ไมครอน โดยผสมกับพอลิโพรพิลีนเกรดรีไซเคิลในอัตราส่วน 1 ถึง 7 ส่วนเทียบน้ำหนัก 100 ส่วน กระบวนการเตรียมคอมพาวน์ดำเนินการด้วยเครื่องอัดรีดสกรูคู่และสร้างเป็นคอมโพสิตและชิ้นงานตัวอย่างด้วยกระบวนการกดอัดร้อน ผลจากการศึกษาพบว่าชนิดของพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลส่งผลต่อสมบัติทางกล และสมบัติทางกายภาพอย่างมีนัยสำคัญ ขนาดของเถ้าแกลบส่งผลต่อค่าความแข็ง ความต้านทานแรงกระแทก และค่าดัชนีการหลอมไหล ส่วนปริมาณการเติมเถ้าแกลบตั้งแต่ 1 ถึง 7 ส่วนเทียบน้ำหนัก 100 ส่วน ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อค่าความต้านทานแรงดึง ค่าความแข็ง ค่าความต้านทานแรงกระแทก และค่าดัชนีการหลอมไหล โดยแนวโน้มที่เกิดขึ้นในงานวิจัยนี้จากปริมาณการเติมเถ้าแกลบที่มากขึ้นส่งผลให้ค่าความแข็ง ค่ามอดุลัสของยังก์สูงขึ้น แต่ทำให้ค่าความต้านทานแรงกระแทก ค่าเปอร์เซ็นการยืดตัว และค่าดัชนีการหลอมไหลลดลง ส่วนขนาดของเถ้าแกลบที่ต่างกันพบว่าค่าความต้านทานแรงกระแทกของคอมโพสิตที่เติมเถ้าแกลบขนาด 29 ไมครอน สูงกว่าสูตรที่เติมเถ้าแกลบขนาด 17 ไมครอน ส่วนค่าดัชนีการหลอมไหลของคอมโพสิตเติมเถ้าแกลบขนาด 17 ไมครอน มีค่าสูงกว่าสูตรที่เติมเถ้าแกลบขนาด 29 ไมครอน ทั้งนี้คอมโพสิตที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ตัวอย่างได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy). [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://library2.parliament.go.th/ ebook/content-issue/2562/hi2562-010.pdf [เข้าถึงเมื่อ 11 มีนาคม 2564]

อนุชิต คงฤทธิ์, กนกวรรณ แช่มพุดซา, รัชนก แป้นโพธิ์กลาง, พงษ์ศักดิ์ รุนกระโทก และจิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร. อิทธิพลของสารคู่ควบต่อสมบัติทางกลของพอลิเมอร์ผสมระหว่างพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลและพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงรีไซเคิล. วารสารวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2559. 11(2); หน้า 57-66.

อนุชิต คงฤทธิ์ และจิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร. ผลกระทบของสารช่วยผสานที่มีต่อสมบัติทางกลและสมบัติทางกายภาพของคอมโพสิตพอลิโพรพิลีนผสมกากกาแฟ. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 2561; 11(1) . หน้า 18-28.

จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร และอนุชิต คงฤทธิ์. ผลกระทบของสารเชื่อมโยงและระยะเวลาการอบไอน้ำในกระบวนการเชื่อม โยงสายโซ่ที่มีต่อสมบัติทางกลและสมบัติทางกายภาพของพอลิออกซีเมทิลลีนรีไซเคิล. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 2562; 12(2). หน้า 49-62.

กรีนพีซ. อะไรคือ "พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง" [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.green peace.org /thailand/explore/resist/plastic1/single-use-plastic/ [เข้าถึงเมื่อ 13 มีนาคม 2564]

เกียรติสุดา สมนา, ประมวล พันชนะ และรัฐพล สมนา. กำลังอัดและโครงสร้างจุลภาคของจีโอพอลิเมอร์ที่ใช้เถ้าก่านหินและซิลิก้าที่สกัดจากเถ้าแกลบ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 2564; 13(1). หน้า 25-35.

Alfaro E.F., Dias D.B. and Silva L.G.A. The study of ionizing radiation effects on polypropylene and rice husk ash composite, Radiation Physics and Chemistry. 2013; 84: 163–165.

Hanafi Ismail, Nizam J.M. and Abdul Khalil H.P.S. The effect of a compatibilizer on the mechanical properties and mass swell of white rice husk ash filled natural rubber/linear low density polyethylene blends, Polymer Testing. 2001; 20: 125–133.

Nawadon P. and Jakkid S. Static and Dynamic Mechanical Properties of Poly (vinyl chloride) andWaste Rice Husk Ash Composites Compatibilized with y-aminopropyltrimethoxy silane, Silicon. 2018; 10: 287–292.

SIRIWARDENA S., ISMAIL H. and ISHIAKU U. S. A Comparison of the Mechanical Properties and Water Absorption Behavior of White Rice Husk Ash and Silica Filled Polypropylene Composites, journal of Reinforced Plastics and Composites. 2003; 22(18): 1645-1666.

Rissanen, J., Ohenoja, K., Kinnunen, P., Romagnoli, M., & Illikainen, M. Milling of peat-wood fly ash: Effect on water demand of mortar and rheology of cement paste. Construction and Building Materials, 180, 143-153.

Djobo, J. N. Y., Elimbi, A., Tchakouté, H. K., & Kumar, S. (2016). Mechanical activation of volcanic ash for geopolymer synthesis: effect on reaction kinetics, gel characteristics, physical and mechanical properties. RSC advances. 2018; 6(45): 39106-39117.

Mucsi, G., Molnar, Z., & Kumar, S. Geopolymerisation of mechanically activated lignite and brown coal fly ash. Acta Physica Polonica A. 2014; 126(4): 994-998.

ASTM D1238-13, Standard Test Method for Melt Flow Rates of Thermoplastics by Extrusion Plastometer, ASTM International, West Conshohocken, PA, 2013, www.astm.org

ASTM D638-14, Standard Test Method for Tensile Properties of Plastics, ASTM International, West Conshohocken, PA, 2014, www.astm.org

ASTM D2240-15e1, Standard Test Method for Rubber Property—Durometer Hardness, ASTM International, West Conshohocken, PA, 2015, www.astm.org

ASTM D256-10(2018), Standard Test Methods for Determining the Izod Pendulum Impact Resistance of Plastics, ASTM International, West Conshohocken, PA, 2018, www.astm.org

Simone M. L. Rosa., Sônia M. B. Nachtigall and Carlos A. Ferreira. Thermal and Dynamic-Mechanical Characterization of Rice-Husk Filled Polypropylene Composites, Macromolecular Research, 2009.;17(1) : 8-13.

Sevdalina T., Svetlana G and Lyubomir V. Obtaining Some Polymer Composites Filled with Rice Husks Ash-A Review, International Journal of Chemistry. 2012; 4(4): 62-89.

Vlachopoulos J. and Strutt D. Overview Polymer processing, Materials Science and Technology. 2003; 19: 1161-1169.

Deeptangshu S. C., Margaret C. J and Ferenc C. Recycling rice hull ash: A filler material for polymeric composites, Advances in Polymer Technology. 2004; 23(2): 147–155.

Chaudhary D.S., Jollands M.C. and Cser F. Understanding rice hull ash as fillers in polymers: A review, Silicon Chemistry 1. 2002; 281–289.