การเลือกตำแหน่งที่ตั้งของตัวแทนกลุ่มเกษตรกรเพื่อจัดการปุ๋ยในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้มีนโยบายการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยมีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการการผลิตและการตลาดร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้ได้นำแนวคิดตามนโยบายดังกล่าวมาปรับใช้ในการหาตำแหน่งและจำนวนที่จัดตั้งสำหรับการจัดตั้งตัวแทนกลุ่มเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ในการจัดหาและการกระจายปุ๋ยไปยังแหล่งเพาะปลูกภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีเป้าหมายให้ค่าใช้จ่ายรวม ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการจัดหา ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งและดำเนินการ และค่าใช้จ่ายในการจัดส่งมีค่าต่ำสุด ภายใต้ขอบเขตพื้นที่ในการให้บริการ (ระยะทางในการจัดส่ง) ในปัญหานี้พิจารณาขอบเขตระยะทางที่แตกต่างกัน 5 ระยะทาง และตำแหน่งที่ตั้งของตัวแทนกลุ่มเกษตรกรกำหนดจากกลุ่มเกษตรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในแต่ละตำบลของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีจำนวนทั้งหมด 121 ตำบล โดยที่ทุกตำบลมีโอกาสเป็นตัวแทนกลุ่มเกษตรกรเท่า ๆ กัน งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ตัวแบบปัญหาการหาตำแหน่งที่ตั้งโรงงานที่พิจารณาข้อจำกัดด้านกำลังการผลิตและด้านระยะทางในการจัดส่ง และแก้ปัญหาโดยใช้ซอฟต์แวร์ Premium Solver Platform ผลลัพธ์พบว่า จำนวนตัวแทนกลุ่มเกษตรกรที่ต้องจัดตั้งเท่ากับ 95 62 53 49 และ 48 แห่ง ภายใต้ขอบเขตระยะทางในการกระจายปุ๋ย 10 15 20 25 และ 30 กิโลเมตร ตามลำดับ
Article Details
References
[2] ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการ เกษตร. พื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันในภาคใต้ปี พ.ศ. 2556. เข้าถึงได้จาก http://www.oae.go.th/ down load/prcai/farmcrop/palm.pdf [เข้าถึงเมื่อ 2557].
[3] นิกร ศิริวงศ์ไพศาล, เสกสรร สุธรรมานนท์, พัลลภัช เพ็ญจำรัส. การศึกษาระบบโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ในการปรับตัวรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร, กรุงเทพฯ. 2557.
[4] สมาคมปาล์มน้ำมันจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สมาชิกชาวสวนปาล์มน้ำมัน. เข้าถึงได้จาก http://www.suratthani .doae.go.th/newplam/indexpind.htm [เข้าถึงเมื่อ 2557].
[5] Matopoulos A, Vlachopoulou M, Manthou V, Manos B. A conceptual framework for supply chain collaboration: empirical evidence from the agri-food industry. Supply Chain Management: An International Journal. 2007; 12(3): 177–186.
[6] Cao M, Zhang Q. Supply chain collaborative advantage: a firm’s perspective. International Journal of Production Economics. 2010; 128: 358–367.
[7] Ramanathan U, Gunasekaran A. Supply chain collaboration: impact of success in long-term partnerships. International Journal of Production Economics. 2014; 147: 252–259.
[8] จันทร์ศิริ สิงห์เถื่อน. การเลือกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ให้บริการด้วยวิธีการหาคำตอบที่ดีที่สุด. วิศวกรรมสาร มก. 2554; 24(78): 107−122.
[9] Christou IT. Quantitative Methods in Supply Chain Management. In: Models and Algorithms. London: Springer-Verlag; 2012.
[10] ปณิธาน พีรพัฒนา, รัฐไท ธนานุรูปไพศาล, ชาติชาย บุญยู, วีรพัฒน์ เศรษฐสมบูรณ์. ปัญหาการจัดกลุ่มเกษตรกรไร่อ้อยและการหาทำเลที่ตั้งสำหรับสถานีพักอ้อยในรูปแบบพลวัต. วิศวกรรมสาร มข. 2549; 33(3): 209–224.
[11] Auckara-aree K, Boondiskulchok R. Location selection for inbound collection system. In: Proceedings of the 2007 Industrial Engineering Network Conference, Phuket, Thailand, Oct. 24-26; 2007. p. 224–229.
[12] ทองพูน ทองดี, ระพีพันธ์ ปิตาคะโส. การแก้ปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งและการมอบหมายเส้นทางแบบหลายลำดับขั้น หลายต้นกำเนิดและหลายจุดประสงค์: กรณีศึกษาโรงงานผลิตเอทานอลจากชานอ้อยและกากมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัย มข. 2555; 17(1): 71–87.
[13] จักรพรรดิ์ เชื้อนิล, บุษบา พฤกษาพันธุ์รัตน์. ตัวแบบโดยรวมในการเลือกตำแหน่งที่ตั้งการกระจายสินค้าและการลงทุนในศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 2556; 23(3): 675–686.
[14] อนุรักษ์ ชัยวิเชียร, ระพีพันธ์ ปิตาคะโส. การพัฒนาวิธีการฮิวริสติกส์เพื่อใช้ในการค้นหาทำาเลสถานที่ตั้งที่มีข้อจำากัดด้านขนาดควบคู่กับการประเมินซัพพลายเออร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2558; 7(2): 12–22.
[15] ภัทราภรณ์ ศรีเสนพิลา, สมบัติ สินธุเชาวน์. การแก้ปัญหาการเลือกขนาดและการหาตำแหน่งที่ตั้งหลายแห่ง กรณีศึกษา การกำจัดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลชุมชนในภาคตะวันออกเฉียง เหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 2559; 9(1): 39–47.
[16] Ghiani G, Guerriero F, Musmanno R. The capacitated plant location problem with multiple facilities in the same site. Computers & Operations Research. 2002; 29(13): 1903–1912.
[17] Wang Q, Batta R, Bhadury J, Rump CM. Budget constrained location problems with opening and closing of facilities. Computers & Operations Research. 2003; 30(13): 2047–2069.
[18] Teo CP, Shu J. Warehouse-retailer network design problem. Operations Research. 2004. 52(3): 396–408.
[19] Jia H, Ordóñez F, Dessouky MM. Solution approaches for facility location of medical supplies for large-scale emergencies. Computers & Industrial Engineering. 2007; 52(2): 257–276.
[20] Zhu Z, Chu F, Sun L. The capacitated plant location problem with customers and suppliers matching. Transportation Research Part E. 2010; 46: 469–480.
[21] ณัฐพร เพชรพันธ์. การคัดเลือกตำแหน่งที่เหมาะสมในการจัดตั้งลานรับซื้อผลปาล์มดิบจากเกษตรกร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2553.
[22] วริษา ขุนชำนาญ, พนิดา แช่มช้าง. การวิเคราะห์ตําแหน่งที่ตั้งศูนย์รวบรวมและกระจายปาล์มน้ำมัน จังหวัดกระบี่. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์; 2556. 2(2): 1–9.
[23] Mayachearw P, Pitakaso R. Evolutionary algorithm in differential evolution (DE) to solving multi-stage multi–objective location problems: case study in locating oil palm collecting centers and palm oil factories in Naradhiwas province, Thailand. In: Proceedings of the 13th Asia Pacific Industrial Engineering and Management Systems Conference, Phuket, Thailand, Dec. 2-5; 2012. p. 635–645.