การศึกษาการจำลองเหตุการณ์แบบไม่ต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพของลานตู้คอนเทนเนอร์เปล่าในท่าเรือกรณีศึกษา

Main Article Content

พัชรา ศรีพระบุ
เชฎฐา ชำนาญหล่อ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ทำการจำลองสถานการณ์การปฏิบัติงานภายในลานกองตู้คอนเทนเนอร์เปล่าของท่าเรือทางทะเลแห่งหนึ่งลงในระบบคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมอารีน่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของลานกอง ลานกองกรณีศึกษาถูกใช้สำหรับการจัดเก็บตู้เปล่าชั่วคราวซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จากการศึกษากระบวนการทำงานของกรณีศึกษา พบว่า เวลาโดยเฉลี่ยในระบบของรถบรรทุกหัวลากสูงกว่าที่วางแผนไว้และรถบรรทุกจะต้องรอคอยสำหรับการดำเนินการจัดการตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของลาน ดังนั้นแบบจำลองสถานการณ์ปัจจุบันที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องแล้วจึงถูกสร้างขึ้น จากนั้น แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพได้ถูกกำหนดเป็นทางเลือก ซึ่งแบ่งออกเป็นสองแนวทางดังต่อไปนี้ 1) แนวทางที่ต้องการการลงทุนเพิ่มเติม (มี 3 ทางเลือก) และ 2) แนวทางที่ไม่ต้องลงทุน (มี 3 ทางเลือก) จากผลการทดลอง พบว่า แนวทางที่ดีที่สุดจากการจำลองทั้งหมด คือ ทางเลือกที่ 3 ที่ต้องการการลงทุนเพิ่มเติม โดยมีการเพิ่มจำนวนพนักงานจาก 3 คน เป็น 6 คน ทั้งที่ประตูทางเข้าและทางออก ซึ่งแนวทางนี้ทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วยเวลาเฉลี่ยในระบบลดลง 27.97% ภายในระยะเวลาคืนทุน 1.37 เดือน และจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 288 ตู้


ระบบลดลง 27.88%

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กฤตภาส อิสราพาณิช. คุณรู้จักระบบการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเลไหม. เข้าถึงได้จาก: www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/QM166_p025-30.pdf [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2562 ]

การท่าเรือแห่งประเทศไทย. รายงานประจำปี 2561. กรุงเทพมหานคร: การท่าเรือแห่งประเทศไทย; 2562.

Sriphrabu P, Chamnanlor C. Improving Service Efficiency of a Container yard through Simulation Modeling. 2020 IEEE 7th International Conference on Industrial Engineering and Applications (ICIEA). Bangkok, Thailand. 2020. p. 419-424.

รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ. คู่มือการสร้างแบบจำลองด้วยโปรแกรม Arena. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2553.

ชยตุม์ บันเทิงจิตร. การประยุกต์ใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์ในการออกแบบผังคลังสินค้าเพื่อลดเวลาในการขนถ่ายวัสดุ. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต. 2561; 8(3): 1-14.

สุทธิดา เอี่ยมสำอางค์ และ อธิวัฒน์ บุญมี. การจำลองสถานการณ์เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานของสายการผลิตสับปะรดบรรจุถุง: กรณีศึกษา. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 2563; 13(1): 114–126.

กิตติวัฒน์ ข้องม่วง และ ไอลดา ตรีรัตน์ตระกูล. การปรับปรุงระบบการให้บริการแผนกอายุรกรรมของโรงพยาบาลสัตว์ด้วยการจำลองสถานการณ์. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52. กรุงเทพมหานคร. 2557 หน้า 48-55.

เวธิต พจน์ทวีเกียรติ และ รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ. การปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการแผนกตรวจสุขภาพด้วยการจำลองสถานการณ์. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555 เพชรบุรี. 2555 หน้า 115-120.

พูนธนะ ศรีสระคู และกฤต จันทรสมัย. การจำลองสถานการณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของคลินิกอายุรกรรม อาคารผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาสารคาร. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต. 2562; 9(3): 184-200.

จิตราภรณ์ คงพูล. การปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการลานวางตู้คอนเทนเนอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบันฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2553.

] ยุทธนา เหล่าพัดจัน. แบบจำลองเพื่อการจัดสรรตู้เปล่าในธุรกิจสายการเดินเรือคอนเทนเนอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบันฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2548.

Sargent RG, Balci O. History of verification and validation of simulation models. 2017 Winter Simulation Conference (WSC). Las Vegas, USA: IEEE. 2017. p. 292-307.

Ransikarbum K, Kim N, Ha S, Wysk RA, Rothrock L. A highway-driving system design viewpoint using an agent-based modeling of an affordance-based finite state automata. IEEE Access. 2017; (6): 2193-2205.