การปลุกความรับรู้และตื่นตัวใน ICT ของ SME

Main Article Content

พิษณุ มนัสปิติ

บทคัดย่อ

 งานวิจัยนี้เสนอแนวทางใน การหยั่งความพร้อมและกระตือรือร้นในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology, ICT) โดยสำรวจ ระดับการใช้งาน การรับรู้และตื่นตัวต่อประโยชน์ของ ICT โดยใช้ตัวอย่างสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises, SMEs) ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในส่วนที่มาจากผลิตภาพและประสิทธิภาพมีความสำคัญต่อความเติบโตและเจริญรุ่งเรืองของกิจการ งานวิจัยนี้นำเสนอแนวความคิด "Bootstrapping" หรือการปลุกระบบเพื่อให้การประเมินตนเองถึงระดับการใช้งานและแนวโน้มความต้องการในการใช้ ICT การทำ Bootstrapping เกิดขึ้นจากการเปรียบเทียบหัวข้อต่างๆใน "Quality" หรือความต้องการการใช้งานของผู้ปฏิบัติการ กับ "Function" หรือกลไกในบริบทของการวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planning and Control, PPC) ซึ่งความต้องการเหล่านี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้น และทิศทาง ของประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้ ICT ในการประกอบการ ผลการวิเคราะห์เผยให้เห็นว่าสำหรับ ในบรรดา 26 หัวข้อ มี 5 หัวข้อ ที่ผู้ปฏิบัติงานได้มีการนำใช้ ICT ถึงระดับที่ตนพอใจแล้ว การที่ผู้ตอบมีความปารถนาจะยกระดับการใช้งาน ICT ย่อมหมายถึงภาวการณ์รับรู้ที่พร้อมที่จะถูกกระตุ้นและมีความกระตือรือร้นในหัวข้อเหล่านั้น  ผลการศึกษาล่าสุดเมื่อราวกลางปี 2563 ที่ให้ผลคล้ายคลึงกันยืนยันผลความเป็นทั่วไปของภาวการณ์ แนวทางการสำรวจและวิเคราะห์นี้จะทำให้การพัฒนาต่อยอดสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีระบบมากขึ้น เทคนิควิธีทางสถิติอื่นๆ สามารถถูกนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปอื่นๆ เพิ่มเติม เช่นหัวข้อที่มีการเห็นพ้องกันจากมากไปหาน้อย


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. รายงานสถานการณ์ประจำปี SME 2560. Available from: https://sme.go.th/th/download.php?modulekey=215&cid=0 [เข้าถึง 20 กุมภาพันธ์ 2562]

Techopedia. Dictionary. Available from: https://www.techopedia.com /definition/3328/bootstrap [Accessed 20th February 2019].

Harvie C. ERIA Research Project Report, No.8, Chapter 3. 2009,

Kyophilavong P. Integrating Laos SMEs into a more integrated east Asia region. ERIA Research Project Report, No.8, Chapter 6. 2009;2(1):168-198 Available from: https://www.eria.org/ uploads /media /Research-Project-Report /RPR_FY2009_08.pdf [Accessed 20th February 2019],

ณัฐวัฒน์ สุขะศิริวัฒน์ และ ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี.ความท้าทายและข้อจำกัดของการขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 2557;37(1): 119-131.

Sevilla, RC, Soonthornthada K. SME Policy in Thailand: Vision and Challenges. Institute for Population and Social Research. Mahidol University, Nakhonpathom, Thailand 2000. p. 1-68.

Kula V, Tatoglu E. An exploratory study of internet adoption by SMEs in an emerging market economy. European Business Review. 2003; 15(5): 324-333.

Ricardo L, Sterlacchini A. The adoption of ICT among SMEs: evidence from an Italian survey. Small Business Economics. 2004; 23(2): 151-168.

วันทนีย์ มงคลทรัพย์กุล, อัญณิฐา ดิษฐานนท์, อรพรรณ คงมาลัย, จันทร์จิรา นพคุณธรรมชาติ. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ: กรณีศึกษาการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 2559;39(1): 3-9.

อรพรรณ คงมาลัย และ วสันต์ ใจวงศ์. การยอมรับและการนำระบบโทรเวชกรรมเข้าไปใช้กับกระบวนการสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกล กรณีศึกษา: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 2560;40(4): 642-50.

Ashrafi R. Use and impact of ICT on SMEs in Oman. Electronic Journal Information Systems Evaluation. 2008;11(3). 125 – 138.

Smith SB. Computer Based Production and Inventory Control: Prentice-Hall International, Inc., New Jersey, USA. 1989.

Dieter GE. Engineering Design: McGraw-Hill International Edition, Singapore, 2000.

พิษณุ มนัสปิติ. การสำรวจและวิเคราะห์ผลกระทบของระดับการใช้และรูปแบบสารสนเทศต่อการวางแผนและควบคุมการปฏิบัติงานในโรงงานรับสั่งทำชิ้นงานขนาดกลางและขนาดย่อม. ทุนสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัย ปี 2549 มหาวิทยาลัยรังสิต, เลขที่ 20/2549.

อภิสิทธิ์ แก้วชาลุน และ นลิน เพียรทอง. การพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพ กรณีศึกษา: ธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 2555;5(1): 29-39.

ภาณุวัฒน์ วงค์แสงน้อย. การประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อโคขุน. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 2555; 5(1): 29-39.