การจำลองผลเชิงตัวเลขของเครื่องสไลด์ผลมันฝรั่งแบบแกนนอนด้วยการวิเคราะห์ความเค้นและการจำลองแบบพลวัต

Main Article Content

วีระยุทธ หล้าอมรชัยกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการวิเคราะห์และออกแบบชุดใบมีดของเครื่องสไลด์มันฝรั่งขนาดเล็กแบบแกนนอนด้วยเทคนิคทางไฟไนต์เอลิเมนต์ ขั้นตอนการจำลองเชิงตัวเลขการสไลด์ของชุดใบมีดของเครื่องสไลด์มันขนาดเล็กแบบแกนนอนโดยอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Autodesk Inventor Professional 2014 ซึ่งเครื่องสไลด์ในงานวิจัยที่จำลองเป็นเครื่องสไลด์มันฝรั่งขนาดเล็กแบบแกนนอนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงล้อขับเคลื่อนใบมีดเท่ากับ 100 มิลลิเมตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษา การออกแบบและวิเคราะห์จุดหมุนของชุดส่งกำลังใบมีดเครื่องสไลด์มันฝรั่งขนาดเล็กแบบแกนนอน โดยเน้นคำนวณหาค่าตัวแปรที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบโครงสร้างหลักและรูปทรงต่าง ๆ ของเครื่องสไลด์มันฝรั่งขนาดเล็กแบบแกนนอน ซึ่งระบบการออกแบบเริ่มต้นจากการคำนวณหาขนาดรูปทรงเบื้องต้น และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องสไลด์มันฝรั่งขนาดเล็กแบบแกนนอนได้แก่ ฐานโครงสร้าง, เพลา และชุดใบมีด งานวิจัยนี้จึงได้นำระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบไม่เชิงเส้นมาประยุกต์ในการสร้างแบบจำลองสถานการณ์และการวิเคราะห์จุดหมุนในการขับเคลื่อนใบมีดตัดมาเป็นกรณีศึกษา โดยใช้เทคนิคทางไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อทำการออกแบบชิ้นส่วนงานในส่วนของการวิเคราะห์ความเค้น (Stress Analysis) และการจำลองแบบพลวัต จากผลการศึกษาและวิจัยในครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบและพัฒนาระบบของเครื่องสไลด์มันฝรั่งขนาดเล็กแบบแกนนอนได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

. สิทธิบูรณ์ ศิริพรอัครชัย, วุฒิศักดิ์ กาวินัน และอริยะ แสนทวีสุข. เครื่องสไลด์กล้วยตามแนวยาวของผล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2555; 14(3): 17-28.

. นพดล ตรีรัตน์ และ วีระยุทธ หล้าอมรชัยกุล. โครงการวิจัยประยุกต์ใช้งานวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์.กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาค 2. พิษณุโลก. 2558.

. วิรัตน์ หวังเขื่อนกลาง. การศึกษาเครื่องสับมันสำปะหลังแบบใบมีดโยกสำหรับผลิตชิ้นมันเส้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2547.

. วิรัตน์ หวังเขื่อนกลาง. เครื่องหั่นชิ้นมันเส้น. ใน: การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่; 2555. หน้า 148-155.

. Tawakalitu BO. Design and Fabrication of a Three-Hopper Plantain Slicing Machine. American Scientific Research Journal for Engineering, Technology, and Sciences (ASRJETS), 2016; 17(1): 61-80.

. Thomas A, Manu E, Navneeth K, Harikrishnan VK. Design and Fabrication of Peeling and Cutting Machine. International Journal of Applied Engineering Research, 2019; 14(14): 12-15.

. Guide SG, Tawanda M. Design of an Automated Vegetable Cutter and Slicer. In: Proceedings of the International Conference on Industrial Engineering and Operations Management Pilsen. Czech Republic; 2019. 46-60.

. วีระยุทธ หล้าอมรชัยกุล, สราวุฒิ คงสวัสดิ์, มารุต เกตุแก้ว.การออกแบบเครื่องสไลด์มันเทศสำหรับชุมชน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ งบประมาณแผ่นดิน 2559. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. 2559.

. วีระยุทธ หล้าอมรชัยกุล. การออกแบบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะด้วยเทคนิคการจำลองทางไฟไนต์เอลิเมนต์. ใน: การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2554, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยศรีปทุม: ชลบุรี; 2554.

. ศุภชัย ตระกูลทรัพย์ทวี และสถาพร วังฉาย. Solid Works/Cosmos Work. กรุงเทพฯ; 2549. หน้า 130.

. วีระยุทธ หล้าอมรชัยกุล. การออกแบบและจำลองกระบวนการผลิตด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. พิษณุโลก; 2564. หน้า 275-276.

. Wasim Younis. Autodesk Inventor Professional 2011. First publication. USA: Butterworth-Heinemann is an imprint of Elsevier, 2010.

. จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร และมาโนช ริทินโย. การออกแบบและสร้างเครื่องตีเกลียวเส้นด้าย. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 2558; 8(2): 116-123.

. ธวัช กองสี, ธวัฒน์ชัย คุณะโครต และอภินันท์ อุรโสภณ. ผลกระทบของระดับแรงดันสารทำความเย็นและความเสียหายทางกลต่อสัญญาณการสั่นในเครื่องปรับอากาศ. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 2563; 14(3): 23-33.