การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนของปัจจัยพยากรณ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการท่าเรือสินค้าทั่วไป
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพยากรณ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการท่าเรือสินค้าทั่วไป ในการศึกษานี้ กลุ่มตัวอย่าง 290 ตัวอย่างมาจากผู้ประกอบการนำเข้า–ส่งออกสินค้าทั่วไปหรือผู้ใช้บริการท่าเรือกรณีศึกษา แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริการ 2) ด้านราคา 3) ด้านสถานที่ 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด 5) ด้านบุคคล 6) ด้านกระบวนการ และ 7) ด้านลักษณะทางกายภาพ จากนั้นข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ถูกนำมาประมวลผลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมซอฟแวร์ทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ 4.75 คือ ด้านบุคลากร ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมา คือ บริการ ลักษณะทางกายภาพ ราคา กระบวนการ การส่งเสริมการตลาด และสถานที่ คือ 4.67 4.66 4.62 4.62 4.44 และ 4.40 ตามลำดับ นอกจากนี้ สมการพยากรณ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการท่าเรือสินค้าทั่วไป ได้แก่ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านบุคคล ด้านการบริการ และด้านกระบวนการ โดยสรุปผลการวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการของท่าเรือสินค้าทั่วไปต่อไป
Article Details
References
ความเป็นมา การท่าเรือฯขนส่งสินค้า และท่าเรือสำคัญของประเทศ. เข้าถึงได้จาก: http://airseafr.com/ประเภทท่าเรือฯขนส่งสิน/ [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564]
ท่าเรือแหลมฉบัง ข้อมูลทั่วไป. เข้าถึงได้จาก: http://lcp.port.co.th/cs/internet/lcp/ข้อมูลทั่วไป.html [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564]
ปวีณา คำพุกกะ. สถิติธุรกิจ. อุบลราชธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2552
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์(พิมพ์ครั้งที่20). กรุงเทพมหานคร: ส านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสภิตา รัตนสมโชค. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ (บีทีเอส) ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2558.
จุไรพร พินิจชอบ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการผู้ประกอบการขนส่งของกลุ่มผู้ค้าอีคอมเมิร์ซในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2560.
พรพิมล แก้วฟุ้งรังษี. การศึกษาปัจจัยการยอมรับระบบอีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาและอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. รายงานวิจัยกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 2562.
จุฑามาศ กิจจรัส. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บัตรเครดิตของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). การศึกษาอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2560.
ศุภสัณห์ บุญชัด, ศิริรัตน์ รัตนพิทักษ์. ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7Ps) ส่งผลต่อปัจจัยด้านความตั้งใจเลือกใช้บริการสินเชื่อธุรกิจห้องแถว ธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11. สงขลา. 2563 หน้า 1839-1854.
สราวุธ พุฒนวล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งท่าเรือระนอง จังหวัดระนอง. รายงานวิจัย ทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2561.
ดวงใจ จันทร์ดาแสง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งสินค้าขาออกของผู้ประกอบการ กรณีศึกษา ท่าเรือกรุงเทพ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2558; 5(3): 52-65.
ธีรจิตร สอนแจ้ง. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและปัจจัยภายนอกองค์กรที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการเขตปลอดอากรในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2559.
ศุภลักษณ์ สินธนา, สุกินา อาแล, พิมลพรรณ ลีลาภัทรพันธุ์, อรวรรณ กมลปัจจัย. พยากรณ์พฤติกรรมการบรูณาการการจัดการเรียนรู้กับการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา. 2560; 12(2): 207-215.
เอกภพ จันทร์สุคนธ์, วิภาดา ศรีเจริญ, กิ่งแก้ว สำรวยรื่น. ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560; 11(3): 229-239.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, รุ่งทิวา ชูทอง, ชณทัต บุญรัตนกิตติภูมิ, กนกอร บุญมี. คุณลักษณะของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาที่มีอิทธิพลต่อความทุ่มเทในการทำงานของบุคลากรทางการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2564; 15(1): 53-65.
กสิณ รังสิกรรพุม, รัตนา เล็กสมบูรณ์. การวิเคราะห์ปัจจัยในการผลิตสื่อการสอนทางการแพทย์จากการพิมพ์แบบเพิ่มขึ้น ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 21(1): 133-144.
Chaiyaphan C, RansikarbumCriteria K. Analysis of food safety using the analytic hierarchy process (AHP) a case study of Thailand’s fresh markets. E3S Web of Conferences. 2020; 141: 1-7.
Khamhong P, Yingviwatanapong C, Ransikarbum K. Fuzzy analytic hierarchy process (AHP)-based criteria analysis for 3D printer selection in additive manufacturing. 2019 Research, Invention, and Innovation Congress (RI2C), 2019; 1-5.
ทิพาภรณ์ หอมดี, กชกร เดชะคำภู. การประเมินความเต็มใจที่จะจ่ายของเกษตรกรเพื่อการบริหารจัดการชลประทาน. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 2563; 11(1): 61-68.
ประภัสสร อรภักดี. แรงจูงใจในการทำงานที่มีผลกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่า จำกัด. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 2560.
ชาญณรงค์ ภุชงควาริน, กสิณ รังสิกรรพุม. การวิเคราะห์ปัจจัยและการจัดเส้นทางสำหรับการเดินรถสาธารณะในจังหวัดอุบลราชธานี. วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2063; 15(1): 6-16.
การวิเคราะห์รูปแบบการวางแผนผังตลาดสดด้วยเทคนิคแบบจําาลองมอนติคาโล. วิศวกรรมสาร มก. 2562; 32(108).