สมบัติการต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวและแผ่นฟิล์มยางพาราผสมสารสกัดเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ทำการสกัดสารไลโคปีนจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวโดยใช้เทคนิคการสกัดแบบอัลตราโซนิกที่ใช้เอทานอลเป็นตัวทำละลาย และทำการขึ้นรูปแผ่นฟิล์มยางพาราผสมสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวด้วยเทคนิคการหล่อขึ้นรูป ทำการวิเคราะห์หาปริมาณสารไลโคปีนด้วยเทคนิค HPLC สารที่สกัดได้และแผ่นฟิล์มยางพาราที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวถูกนำไปทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus (S. aureus) และ Escherichia coli (E. coli) ผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค HPLC พบว่าสามารถสกัดสารไลโคปีนจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวได้สูงสุด 2.2069 mg/g ของเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสด และสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. aureus ได้ดีกว่า E. coli พบว่าในเชื้อ E. coli สารที่สกัดได้มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อ (MIC) และความเข้มข้นต่ำสุดที่ฆ่าเชื้อได้ (MBC) เท่ากันคือ 50 mg/mL ในขณะที่เชื้อ S. aureus มีค่า MIC เท่ากับ 12.5 mg/mL และค่า MBC เท่ากับ 25 mg/mL ในส่วนของแผ่นฟิล์มยางพาราผสมสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวทุกสูตรสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. aureus ได้ดีกว่า E. coli จากแผ่นฟิล์มยางพาราทั้ง 5 สูตร พบว่าแผ่นฟิล์มสูตร REGP6 (สูตรที่ 5) เป็นแผ่นฟิล์มที่ดีที่สุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ E. coli และ S. aureus เมื่อเทียบกับแผ่นฟิล์มสูตรอื่นๆ โดยมีบริเวณการยับยั้งเชื้อเฉลี่ย 0.71±0.51 และ 1.74±0.27 mm ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. aureus ของแผ่นฟิล์มสูตร REGP6 ที่มีอายุการเก็บ 30 วัน จะลดลงร้อยละ 57 เทียบกับแผ่นฟิล์มยางพาราสูตรเดียวกันที่มีอายุ 1 วัน
Article Details
References
[2] Sies H, Stahl W. Vitamins E and C, β-carotene, and other carotenoids as antioxidants. American Journal of Clinical Nutrition. 1995;62(6 SUPPL.).
[3] ปิยะมาศ บุญเพ็ง. การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวโดยใช้เทคนิคไมโครเวฟ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. 2555.
[4] Vuong LT, Franke AA, Custer LJ, Murphy SP. Momordica cochinchinensis Spreng. (gac) fruit carotenoids reevaluated. Journal of Food Composition and Analysis. 2006;19: 664–668.
[5] Tao Y, Wu D, Zhang Q. Ultrasound-assisted extraction of phenolics from wine lees: Modeling, optimization and stability of extracts during storage. Ultrason Sonochemistry. 2014;21(2): 706–715.
[6] Phaechamud T, Issarayungyuen P, Pichayakorn W. Gentamicin sulfate loaded porous natural rubber films for wound dressing. International Journal of Biological Macromolecules. 2016;85: 634–644.
[7] Neelapong W, Phonyotin B, Sittikijyothin W. Extraction of Active Compounds from Thai Herbs: Powder and Extract. The Journal of KMUTNB. 2018;29(1): 157–166.
[8] Rattanapanudda N, Imuri P, Kumming W. Effect of ultrasonic on extraction lycopene from Gac (Momordicaco chinchinensis) fruit aril. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2556;9: 841–846.
[9] Kubola J, Siriamornpun S. Phytochemicals and antioxidant activity of different fruit fractions (peel, pulp, aril and seed) of Thai gac (Momordica cochinchinensis Spreng). Food Chem. 2011;127(3): 1138–1145.
[10] Collins C, Lyne P, Grange JM, Falkinham III JO. Microbiological Methods. London: Arnold, a member of the Holder Headline Group;
[11] Jorgensen JH, Ferraro MJ. Antimicrobial Susceptibility Testing: A Review of General Principles and Contemporary Practices. Medical Microbiology. 2009;49(11): 1749–1755.
[12] Ge B, Wang F, Sjölund-Karlsson M, McDermott PF. Antimicrobial resistance in Campylobacter: Susceptibility testing methods and resistance trends. Journal of Microbiological Methods. 2013;95(1): 57–67.
[13] ธนวรรณ ศรีสกุลดิศ. การศึกษาความเป็นไปได้ในการสกัดสารไลโคปีนจากฟักข้าวด้วยตัวทำละลายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. 2556.
[14] Kubola J, Meeso N, Siriamornpun S. Lycopene and beta carotene concentration in aril oil of gac (Momordica cochinchinensis Spreng) as influenced by aril-drying process and solvents extraction. Food Research International. 2013;50(2): 664–669.
[15] Akkarachaneeyakorn S, Boonrattanakom A, Pukpin P, Rattanawaraha S, Mattaweewong N. Extraction of Aril Oil from Gac (Momordica cochinchinensis Spreng) Using Supercritical Carbon Dioxide. Journal of Food Processing and Preservation. 2017;41(5): 1–12.
[16] Soria AC, Villamiel M. Effect of ultrasound on the technological properties and bioactivity of food: A review. Trends in Food Science and Technology. 2010;21(7): 323–331.
[17] Laohakunjit N, Noomhorm A. Effect of Plasticizers on Mechanical and Barrier Properties of Rice Starch Film. Starch. 2004;56: 348–356.
[18] Pitiphatharaworachot S, Puangsin B. Effect of Glycerol on Physical and Thermal Properties of Tapioca Starch Films. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55. 2560.
[19] Pichayakorna W, Suksaereea J, Boonmea P, Amnuaikita P, Taweepredab W, Ritthidej GC. Nicotine transdermal patches using polymeric natural rubber as the matrix controlling system: Effect of polymer and plasticizer blends. Journal of Membrane Science. 2012;411–412: 81–90.
[20] Ranjbar A, Ranjbar E. Antimicrobial Property of Lycopene Oleoresin on some Food Pathogens Running Head: Lycopene oleoresin antibacterial potent. Iranian Food Science and Technology. 2016;12(3) :382–387.
[21] นงลักษณ์ สุขวาชย์ศิลป์ และธิดา นิงสานนท์. กลุ่มไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) ออกฤทธิ์ยับยั้ง เซลล์แบคทีเรีย Escherichia coli. โครงการคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2532;(4): 33-34.
[22] Nupan B, Thipwong J, Saisa-ard K, Samala S. Phytochemical and Antibacterial Studies of the Crude Leaves’ Extract from Limnophila rugosa (Roth) Merr . วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 2016;3: 26–33.
[23] นิรมล ธรรมวิริยสติ, นันทา คุมคณะ, พฤกษา อินนอก, จิราพร จรอนันต์. ฤทธิ์นอกกายของสารสกัดผลมะเขือเทศสีดาและผลมะเขือเทศราชินีในการต้านจุลชีพก่อโรค. Srinagarind Medical Journal. 2017;32(4): 359–365.
[24] Phaechamud T, Lertsuphotvanit N, Issarayungyuen P, Chantadee T. Design, fabrication and characterization of xanthan gum/liquid- loaded porous natural rubber film. Journal of Pharmaceutical Investigation. 2019;49(1): 149–160.