ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำสำหรับตู้ปลาสวยงามโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Main Article Content

จักรพนธ์ อบมา
พลวัตน์ พรหมสร้างมิ่ง
นิวัตร์ อังควิศิษฐพันธ์
อดิศร นวลอ่อน
สมชาติ โสนะแสง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอการปรับปรุงคุณภาพน้ำสำหรับตู้ปลาสวยงามโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ระบบที่นำเสนอนี้ใช้ปรับปรุงค่าความเป็นกรดเบส (pH) และอุณหภูมิของน้ำในตู้ปลาสวยงามโดยใช้ ESP8266 เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิและค่า pH ข้อมูลที่วัดได้จากตัวรับรู้อุณหภูมิและตัวรับรู้ค่า pH ถูกรับส่งและเก็บข้อมูลผ่านเว็ปแอปพลิเคชัน ในงานวิจัยนี้ได้มีการพัฒนาโปรแกรมจากภาษา C++ , JavaScript, PHP และ MySQL  ตู้ปลาสวยงามมีขนาดเท่ากับ 18”x36”x18” การทดสอบในงานวิจัยนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 กรณีคือ กรณีที่ 1 เป็นการทดสอบค่า pH โดยการเปรียบเทียบค่า pH ของน้ำที่วัดได้จากตัวรับรู้ค่า pH และ เครื่องวัดค่า pH EUTECH PC700 กรณีที่ 2 การเปรียบเทียบอุณหภูมิของน้ำที่วัดได้จากตัวรับรู้อุณหภูมิและเทอร์โมมิเตอร์ กรณีที่ 3 ระบบถูกทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพของการควบคุมและเฝ้าระวังค่า pH และกรณีที่ 4 เป็นการทดสอบระบบด้วยการปรับค่าอุณหภูมิ จากผลการทดลองพบว่า ตัวรับรู้ pH มีค่าความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 99.07 ขณะที่ตัวรับรู้อุณหภูมิมีความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 99.73 ระบบนี้สามารถควบคุมและเฝ้าระวังค่า pH และอุณหภูมิด้วยการควบคุมแบบเปิด-ปิด ระบบนี้สามารถนำไปประยุกต์เป็นประโยชน์ในงานต้นแบบเกษตรอัจฉริยะได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

[1] สมพล สุขเจริญพงษ์, กสมล ชนะสุข, ศานติดิฐ สถาพรเจริญและวีรศักดิ์ นาชัยดี. (2558) การส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการส่งออกในจังหวัดนครปฐม.วารสารมหาวิทยาลัย คริสเตียน. 21(2) : 203-214.
[2] สามารถ ใจเตี้ย. (2555) ความเสื่อมสภาพของแม่น้ำกับสุขภาพ.วารสารสาธารณสุขล้านนา. 8(3) : 57-68.
[3] N.Shnel, Y. Barak, T. Ezer, Z. Dafni and J.V. Rijn (2002). Design and Performance of a Zero-discharge Tilapia Recirculating System. Aquacultural Engineering. 26(3) : 191-203.
[4] นิติพงษ์ สมไชยวงศ์, ธนพล อินตาวงศ์, อนุรักษ์ เผ่ากาและอิศเรศน์ นาเมือง. (2561) การออกแบบและสร้างระบบควบคุมความเป็นกรด-ด่างและออกซิเจนละลายน้ำในบ่อเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ฟ.วารสารการวิจัยกาสะลองคำ. 11(3) : 327-341.
[5] Kirankumar G.Sutar and Ramesh T.Patil (2013) Wireless Sensor Network System to Monitor The Fish Farm . Journal of Engineering Research and Applications. 3(5) : 194-197.
[6] สราวุฒิ บุญเกิดรัมย์. (2560) การพัฒนาระบบการตรวจสอบคุณภาพนํ้าแบบไร้สายโดยใช้ซิกบี .วารสารวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต . 7(1) : 92-104.
[7] นวรัตน์ พิลาแดงและอภินันท อุรโสภณ. (2564) ระบบเฝ้าสังเกตสภาวะการทํางานสําหรับเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน .วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร ม.อบ . 14(1) : 129-137.
[8] Ashthon K. (2009). That ‘internet of things’ thing. RFiD Journal, 22(7): 97-114
[9] ประภาพร กุลลิ้มรัตน์ชัย. (2559) Internet of Things : แนวโน้มเทคโนโลยีปัจจุบันกับการใช้งานในอนาคต .วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 10(1) : 29-36.
[10] วิวัฒน์ มีสุวรรณ. (2559) อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (Internet of Things) กับการศึกษา .วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 4(2) : 129-137.
[11] ชัยวุฒิ วุทธิสิทธิ์. (2560) ระบบเฝ้าระวังคุณภาพอากศสำหรับประเมินผลกระทบต่อสุขภาพโดยใช้อินเตอร์เน็ททุกสรรพสิ่ง .วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. 2(1) : 1-9.
[12] วงศพัทธ์ วรรณยศ, อารีย์รัตน์ ส่งสกุลวัฒนาและวศิณ ชูประยูร. (2564) การพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลอุปกรณ์ IoT เพื่อการสื่อสารระหว่างผู้สูงอายุปวยติดเตียงกับผู้ดูแล .วารสารรังสิตสารสนเทศ. 27(1) : 27-50.
[13] Jaishetty, Shruti, A., and Patil, Rekha. (2016). IOT sensor network based approach for agricultural field monitoring and control. International Journal of Research in Engineering and Technology, 5(6), pp. 45 - 48.
[14] Gondchawar, Nikesh, & Kawitkar, R. S. (2016). IoT based smart agriculture. International Journal of Advanced Research in Computer and Communication Engineering, 5 (6), pp. 838 - 842.
[15] บงกช สุขอนันต์, มงคล ปุษยตานนท, ฐิติมา คําหาร, ณัฏฐชา พิสุราชและอภิสิทธิ์ ชาวไทย. (2564) การพัฒนา โรงเรือนปลูกพืชและระบบตรวจวัดสําหรับโรงเรือนปลูกพืชด้วย IOT .วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร ม.อบ. 14(3) : 132-143.
[16] พรวนา รัตนชูโชค. (2562) การพัฒนาระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยใช้ IoT เพื่อติดตามคุณภาพน้ำผ่านแอปพลิเคชัน .วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 11 : 78-92.
[17] ปวีณา กำเหนิดนนท์และวิภาพรรณ ไสยสมบัติ .(2561) การวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ตามข้อกำหนดของ USP 41. ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์.
[18] เกียรติศักดิ์ ชินาภาษ. (2548). เครื่องควบคุมระดับค่าพีเอชแบบอัตโนมัติสำหรับบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.