การจำลองสถานการณ์เพื่อลดข้าวคงค้างระหว่างกระบวนการแปรรูปข้าวเปลือก

Main Article Content

อณจ ชัยมณี
สุภัสสรา แก้วเจริญสีทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ใช้การจำลองสถานการณ์เพื่อปรับปรุงกระบวนการแปรรูปข้าวเปลือก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณข้าวคงค้างระหว่างกระบวนการ โดยปัญหาถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ กระบวนการลดความชื้นของข้าวเปลือก และกระบวนการแปรรูปข้าวเปลือกภายในโรงสี ในงานวิจัยได้พัฒนากระบวนการตัดสินใจ 2 กระบวนการ ซึ่งเป็นการสร้างเงื่อนไขในการเลือกวิธีการลดความชื้นข้าวเปลือกอย่างเป็นระบบ  วัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณข้าวคงค้างในกระบวนการลดความชื้น นอกจากนี้ในงานวิจัยยังใช้การจัดสมดุลสายการผลิตเพื่อหาจำนวนเครื่องจักรที่เหมาะสมในโรงสี วัตถุประสงค์เพื่อลดข้าวคงค้างภายในโรงสี ผลการจำลองสถานการณ์พบว่าการใช้กระบวนการตัดสินใจที่ 1 รวมกับการเพิ่มเครื่องจักรทั้งหมด 11 เครื่อง ให้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัย ทำให้ข้าวคงค้างโดยเฉลี่ยในกระบวนการลดความชื้น และกระบวนการแปรรูปข้าวลดลง 84.08% และ 70.18% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังเพิ่มโอกาสทางการขายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปมากขึ้น ทำให้โรงสีสามารถเพิ่มกำไรโดยเฉลี่ยได้ 574,714.72 บาทต่อเดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

[1] สุรชัย ปรีทอง. การปรับปรุงกระบวนการอบข้าวเปลือกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสีข้าว. วิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559. 71 หน้า.
[2] Banks J, Carson JS, Nelson BL, Nicol, DM. Discrete-Event System Simulation. Upper Saddle River: Pearson Education, Inc; 2005.
[3] รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ. คู่มือการสร้างแบบจำลองด้วยโปรแกรม Arena. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน); 2553.
[4] จุฑา พิชิตลำเค็ญ. 2558. พื้นฐานการจำลองสถานการณ์เชิงสุ่มเพื่อประยุกต์ใช้กับปัญหาจริง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2558.
[5] พิภพ ลลิตาภรณ์. ระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน); 2556.
[6] ประไพศรี สุทัศน์ ณ อยุธยา, พงศ์ชนัน เหลืองไพบูลย์. สถิติวิศวกรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด; 2554.
[7] อารดา ลีซุติวัฒน์. การปรับปรุงระบบคลังสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรมแปปรรูปไม้ยางพารา. วิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโท. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552. 190 หน้า.
[8] กัณศิริ กิตติภากร. การจัดสมดุลสายการผลิตและการวางแผนทรัพยากรโดยใช้การจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษา อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553. 142 หน้า
[9] เกียรติศักดิ์ พริ้งสุวรรณ. (2554). แบบจำลองสถานการณ์ของการลดจำนวนชิ้นงานระหว่างกระบวนการผลิตด้วยแนวความคิดระบบการผลิตแบบดึง. วิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมระบบการผลิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี; 2554. 142 หน้า.
[10] อมรเทพ ดอกไม้. (2554). การปรับปรุงกระบวนการประกอบชิ้นส่วนของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟโดยการจำลองสถานการณ์ 3 มิติเสมือนจริง. วิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2554. 126 หน้า
[11] รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ และ สรายุธ ทองฉ่ำ. การหาจำนวนเครื่องจักรที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาคอขวดโดยใช้แบบจาลองสถานการณ์. ใน: การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2554, 20-21 ตุลาคม 2554. ณ โรมแรมแอมบาสเดอร์ พัทยา ชลบุรี; 2554. หน้า 1 – 5.
[12] กลยุทธ ผึ้งทอง, เสมอจิตร หอมรสสุคนธ์, วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์กร. การจัดรูปแบบสายการผลิตโดยการจำลองสถานการณ์. ใน: รายงานการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2556, วันที่ 16 – 18 ตุลาคม 2556. ณ โรงแรมเอวัน เดอะ รอยัล ครูซ, พัทยา ชลบุรี; 2556. POM021 จำนวน 6 หน้า.
[13] ตะวันฉาย โพธิ์หอม. การประยุกต์ใช้โปรแกรมการจำลองแบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษาบริษัทกระจายสินค้าขนาดกลางและขนาดย่อม. ใน: รายงานการประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2556, 11-14 กันยายน 2556. ณ กรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ นครราชศรีมา; 2556. หน้า 34 – 38.
[14] ชานนท์ แสงเทียรมงคล. การเพิ่มประสิทธิภาพของสายการผลิตโดยการลดความสูญเปล่าและสมดุลการผลิตด้วยแบบจำลองสถานการณ์ทางคอมพิวเตอร์. การค้นคว้าอิสระหลักสูตร ระดับปริญญาโท สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559. 129 หน้า.
[15] ปนัดดา ปาระมะ. การปรับปรุงสายการผลิตและการวิเคราะห์จำนวนทรัพยากรโดยใช้การจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์: กรณีศึกษา. การค้นคว้าอิสระหลักสูตร ระดับปริญญาโท. สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม, ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560. 147 หน้า.
[16] สุทธิดา เอี่ยมสำอางค์ และ อธิวัฒน์ บุญมี. การจำลองสถานการณ์เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานของสายการผลิตสับปะรดบรรจุถุง:กรณีศึกษา. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 2560; 13(1): 114 – 126
[17] Chakravarthy SR. Reliability, health care, and simulation. Simulation Modelling Practice and Theory. 2012; 29(2012): 44-51.
[18] Nino L, Harris S, Claudio D. A Simulation of Variability-Oriented Sequencing Rules on Block Surgical Scheduling. In: Roeder TMK, Frazier PI, Szechtman R, Zhou E, Huschka T, Chick SE, (eds.) Proceedings of the 2016 Winter Simulation Conference, December, 2016, Arlington Virginia. USA; 2016. p. 2023 – 2040.
[19] Chraibi A, Cadi AAE, Kharraja S, Artiba A. Using Discrete Event Simulation to Evaluate Operating Theater Layout. International Federation of Automatic Control. 2016; 49-12(2016): 095-098.
[20] นิรมล โขขุนทด และ ไอลดา ตรีรัตน์ตระกูล. การปรับปรุงประสิทธิภาพการเดินรถโดยสารสวัสดิการภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยใช้ระบบจีพีเอสและการจำลองสถานการณ์. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52, 4-7 กุมภาพันธ์ 2557. กรุงเทพฯ; 2557. หน้า 41 – 47.
[21] Kamrani M, Esmaeil Abadi SMH, Golroudbary SR. Traffic Simulation of Two Adjacent Unsignalized T-Junctions during Rush Hours Using Arena Software. Simulation Modelling Practice and Theory. 2014; 49(2014): 167 – 179.
[22] อณจ ชัยมณี, ชวลิต มณีศรี และจุฑา พิชิตลำเค็ญ. การวิเคราะห์แบบจำลองระบบการให้บริการอาหารจานด่วน. ใน: รายงานการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2555, 17-19 ตุลาคม 2555. ณ โรงแรมเมธาวลัย ชะอำ เพชรบุรี; 2555. หน้า 66 – 72.
[23] วัชรชาญ สุขเจริญวิภารัตน์, อณจ ชัยมณี, ปวิณ สุวแข และ ประเทือง อุษาบริสุทธ์ิ. การจำลองสถานการณ์สำหรับการผลิตเครื่องจักรกลเกษตร. ใน: การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2558, 25-27 มีนาคม 2558. ณ โรงแรมพินนาเคิลแกรนด์ จอมเทียนรีสอร์ทแอนด์สปา พัทยา ชลบุรี; 2558. หน้า 60 – 64.
[24] Shawki KM, Kilani K, Gomaa MA. Analysis of Earth-Moving Systems Using Discrete-Event Simulation. Alexandria Engineering Journal. 2015; 54: 533 – 544.
[25] Sargent, R. G., Goldsman, D. M., Yaacoub, T. In: Roeder TMK, Frazier PI, Szechtman R, Zhou E, Huschka T, Chick SE, (eds.) Proceedings of the 2016 Winter Simulation Conference, December, 2016, Arlington Virginia. USA; 2016. p. 163 – 177.
[26] Ransikarbum, K., Kim, N., Ha, S., Wysk, R. A., & Rothrock, L. A highway-driving system design viewpoint using an agent-based modeling of an affordance-based finite state automata. IEEE Access, 2017; 6: 2193-2205.