การจัดตารางการผลิตสำหรับเครื่องจักรแบบขนานด้วยเทคนิคจำลองสถานการณ์: กรณีศึกษาโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก

Main Article Content

จิรัสยา ปาณะศรี
นรา สมัตถภาพงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษากระบวนการจัดตารางการผลิตสำหรับเครื่องจักรแบบขนานด้วยเทคนิคจำลองสถานการณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดลำดับงานเข้าเครื่องจักรให้เหมาะสมที่สุดและเพื่อใช้ประโยชน์ของวัตถุดิบให้คุ้มค่ามากที่สุด รวมถึงส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ทันเวลาที่ลูกค้ากำหนดและทำให้เวลาทำงานรวมต่ำที่สุด (Makespan) จากการศึกษาและเก็บข้อมูลกระบวนการวางแผนและการจัดลำดับการผลิตของโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก พบว่าประสบปัญหาในการตัดสินใจมอบหมายงานให้กับเครื่องจักร เนื่องจากไม่มีการศึกษาการจัดลำดับการผลิตอย่างเป็นระบบ โดยการจัดลำดับการผลิตจะอาศัยประสบการณ์ของผู้วางแผนในฝ่ายวางแผนการผลิตและเครื่องมือในการจัดตารางการผลิตไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าการจัดลำดับการผลิตปัจจุบันให้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุด ผู้วิจัยจึงได้นำเทคนิคจำลองสถานการณ์มาใช้เพื่อสร้างทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมดและค้นหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกระบวนการจัดลำดับการผลิตบนเครื่องจักร ผลจากการจำลองสถานการณ์พบว่าการจัดลำดับการผลิตโดยใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์สามารถสร้างทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมด 40 ทางเลือก และทางเลือกที่ให้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุดใช้เวลาทำงานรวมเท่ากับ 96,018.01 วินาที จากเวลาทำงานรวมของการจัดลำดับการผลิตปัจจุบันเท่ากับ 208,850 วินาที โดยสามารถลดเวลาทำงานรวมได้เท่ากับ 112,831.99 วินาที คิดเป็นร้อยละ 54.03

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมพลาสติก. โครงสร้างอุตสาหกรรมพลาสติกไทยปี 2564. เข้าถึงได้จาก: http://plastic.oie.go.th/ReadArticle.aspx?id =21857 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565].

Flexsim software products, Inc. Flexsim Simulation Software. Available from: www.flexsim.com [Accessed 13th June 2022].

นมิดา ศรีผล. การจัดตารางการผลิตเพื่อปรับปรุงปริมาณ งานล่าช้า: กรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

พงษ์ธาดา คุรุกิจกำจร. การเปรียบเทียบการจัดตาราง การผลิตเครื่องจักรแบบขนานที่ไม่สัมพันธ์กันโดยใช้ โปรแกรมการจัดการผลิตและการใช้แบบจำลอง มอบหมายงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรม อุตสาหการและการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2556.

พิภพ ลลิตาภรณ์. ระบบการวางแผนและควบคุมการ ผลิต. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2545.

ปารเมศ ชุติมา. เทคนิคการจัดตารางการดำเนินงาน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ. การจำลองสถานการณ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

พรศิริ จงกล และทวีศักดิ์ ภรามร. การวิเคราะห์หาระยะเวลาในการดำเนินการของแบบจำลองเหตุการณ์แถวคอย. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553; 3(1): 12-19.

นัฐพงค์ สุดพุ่ม และสรรพสิทธิ์ ลิ่มนรรัตน์. การจัดตารางการผลิตสำหรับเครื่องจักรแบบขนานโดยมีเวลาเตรียมการผลิตเป็นแบบไม่อิสระ. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 46 กรุงเทพฯ. 2551 หน้า 329-336.

ธนวัฒน์ วงศ์เครือ และวรวุฒิ หวังวัชรกุล. การจัดตารางการผลิตเครื่องจักรขนานในกระบวนการทดสอบวงจรรวม. วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน. 2564; 9(1): 153-162.

Gabriella Caputo, Mose Gallo and Guido Guizzi. Optimization of production plan through simulation techniques. Wseas Transactions on Information Science and Applications. 2009; 3(6). 352-362.

Howe C. Cheng and David Y.K. Chan. Simulation optimization of part input sequence in a flexible manufacturing system. 2011 Winter Simulation Conference (WSC). Phoenix Arizona, USA: IEEE. 2011. p. 2374-2382.

วัสพล ธารณา, ฐิติมา ชูกิจรุ่งโรจน์ และมธุรดา วิริยะ พงษ์. การจัดตารางการผลิตของเครื่องพิมพ์บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษลูกฟูก. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555 เพชรบุรี. 2555 หน้า 339-345.

บุริม นิลแป้น และพงษ์ชัย จิตตะมัย. การวางแผนการขนส่งอ้อยโดยการกำหนดลำดับการทำงานของรถตัดอ้อย. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2552; 2(2): 17-25.

ณัฐวุฒิ เหลียวอินทร์. การจัดตารางการผลิตบน เครื่องจักรขนานที่แตกต่างกันของแผนกบรรจุ: กรณีศึกษาโรงงานผลิตยาแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร; 2560.

อารดา ไชยโคตร. การจัดตารางการผลิตเครื่องจักรแบบขนานที่ลำดับงานมีผลต่อเวลาการตั้งเครื่องจักรในกระบวนการขึ้นรูปยางรถยนต์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

ธนวัฒน์ วงศ์เครือ และวรวุฒิ หวังวัชรกุล. การจัดตารางการผลิตเครื่องจักรขนานในกระบวนการทดสอบวงจรรวม. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. 2564; 9(1): 153-162.

Robert G. Sargent. Verification and validation of simulation models: an advanced tutorial. 2020 Winter Simulation Conference (WSC). Orlando Florida, USA: IEEE. 2020. p. 16-29.

Pramot Thongman and Nara Samattapapong. Production sequence using simulation techniques: case study of mineral production plants for dairy cow. 11th Annual International Conference on Industrial Engineering and Operations Management. Singapore: IEOM Society International. 2021. p. 650-659.

พัฒนพงศ์ น้อยนวล และธนัญญา วสุศรี. การปรับปรุงกระบวนการขนส่งภายในคลังสินค้าโดยใช้แบบจำลองสถานการณ์กรณีศึกษาอุตสาหกรรมน้ำอัดลม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 2555; 35(3): 323-334.

Christopher A. Chung. Simualtion modeling handbook a practical approach. Boca Raton, London, New York, Washington: United States; 2004.