การอบแห้งผักโขมด้วยไมโครเวฟร่วมกับลมร้อน

Main Article Content

รุกขชาติ ผลผาด
ณัฐพล ภูมิสะอาด
ละมุล วิเศษ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอบแห้งผักโขมด้วยไมโครเวฟร่วมกับลมร้อน ที่กำลังไมโครเวฟ 5 ระดับ ดังนี้ 0 500 1,000 1,500 และ 2,000 วัตต์ ร่วมกับลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 และ 60 องศาเซลเซียส อบแห้งจนกระทั่งมีค่าปริมาณน้ำอิสระต่ำกว่า 0.6 จากนั้นนำไปวิเคราะห์ค่าสี ค่าคลอโรฟิลล์ และค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะ พบว่าเมื่อกำลังไมโครเวฟเพิ่มขึ้นระยะเวลาที่ใช้ในการอบแห้งลดลงโดยที่กำลังไมโครเวฟ 0 500 1,000 1,500 และ 2,000 วัตต์ ระยะเวลาการอบแห้งลดลงเป็น 8 4 3 2.5 และ 2 ชั่วโมง ตามลำดับ โดยที่อุณหภูมิ 50 และ 60 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาในการอบแห้งไม่แตกต่างกัน ค่าความชื้นสุดท้ายอยู่ในช่วงร้อยละ 11.03 - 12.62 ฐานเปียก ค่าปริมาณน้ำอิสระอยู่ในช่วง 0.48 - 0.57 สำหรับการวิเคราะห์ค่าสี พบว่าเมื่อกำลังไมโครเวฟและอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ค่าความสว่าง (L*) และค่าความเป็นสีเขียว (a*) มีแนวโน้มลดลง ค่าความเป็นสีเหลือง (b*) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ที่กำลังไมโครเวฟ 500 และ 1,000 วัตต์  ปริมาณคลอโรฟิลล์มีค่าสูงกว่าที่กำลังไมโครเวฟ 1,500 และ 2,000 วัตต์ ส่วนการอบแห้งที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส มีค่าคลอโรฟิลล์สูงกว่าที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เมื่อพิจารณาคุณภาพและพลังงาน พบว่าการอบแห้งด้วยกำลังไมโครเวฟ 1,000 วัตต์ ร่วมกับลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส มีความเหมาะสมที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

เดชา ศิริภัทร. ผักขม:ความขมที่เป็นทั้งผักและยา. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th/article/detail/ 3913 [เข้าถึงเมื่อ 21 กันยายน 2563]

สุธาทิพ ภมรประวัติ. มูลนิธิหมอชาวบ้านเรื่องผักขม. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th/article/detail/ 4092 [เข้าถึงเมื่อ 21 กันยายน 2563]

จุรีมาศ ดีอำมาตย์ และคณะ. การเสริมคุณค่าทางโภชนาการโดยใช้ผงผักโขมในคุกกี้เนย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดร. 2556; 6(2): 43-52.

สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา. การอบแห้งอาหารและวัสดุชีวภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สํานักพิมพ์ท้อป จํากัด; 2555.

นันทวัน เทิดไทย และสุพิชา กระจ่างเมธีกุล. ผลของการใช้ไมโครเวฟร่วมแบบลมร้อนต่อคุณภาพของฟักทองอบแห้ง. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 กรุงเทพฯ 1-4 กุมภาพันธ์ 2554. 2554. หน้า 133-140.

สุภวรรณ ฏิระวณิชย์กุล และคณะ. การอบแห้งขนุนด้วยพลังงานความร้อนร่วมของรังสีอินฟราเรด/ไมโครเวฟ และลมร้อน : จลนพลศาสตร์ คุณภาพและการทดสอบประสาทสัมผัส. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 2556; 17(1): 117-129.

ธราวุธ บุญน้อม และคณะ. การศึกษากระบวนการผลิตพริกแห้งโดยใช้เตาอบไมโครเวฟร่วมกับลมร้อน ระดับต้นแบบ. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย. 2561; 24(1): 38-46.

สุวิทย์ แพงกันยา และคณะ. การอบแห้งทุเรียนแผ่นด้วยไมโครเวฟร่วมกับลมร้อนโดยใช้เทคนิคการปรับลดระดับกำลังไมโครเวฟ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัย ขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2558; 46(4): 102-111.

เทวรัตน์ ทิพยวิมล และสมยศ เชิญอักษร. การอบแห้งพริกชี้ฟ้าด้วยลมร้อนร่วมกับไมโครเวฟ. วารสาร วิชาการเกษตร. 2550; 25(1): 46-57.

Mujaffar S, Alex L. The Rehydration Behavior of Microwave-Dried Amaranth (Amaranthus Dubius) Leaves. Food Science & Nutrition. 2016; 3(5): 399-406.

นฤมล พงษ์รามัญ และคณะ. ผลของการเติมผักโขมผงต่อคุณภาพของบะหมี่แห้ง.วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 2554; 42(2)(พิเศษ): 477-480.

รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต. Water Activity กับการควบคุมอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร. เข้าถึงได้จาก : www.playsotec.com/17390808/water-activity/ [เข้าถึงเมื่อ 21 กันยายน 2563]

AOAC. 2000. Official Methods of Analysis of AOAC International. 17th ed., Maryland, USA.

ศุภชาติ ธรรมนิติเวทย์. การสกัดสารสีจากใบพืชสำหรับใช้ในการศึกษาทางสรีรวิทยาของพืช. วารสารเกษตรนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก. 2562; 16(1): 73-81.

ณัฐพล กระจ่าง. การอบแห้งขมิ้นชันด้วยเครื่องอบแห้งด้วยลมร้อนร่วมกับรังสีอินฟราเรด. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560.

Roshanak S, Rahimmalek M, Goli S. Evaluation of seven different drying treatments in respect to total flavonoid, phenolic, vitamin C content, chlorophyll, antioxidant activity and color of green tea (Camellia sinensis or C. assamica) leaves. Journal of J Food Sci Technol. 2016; 53(1): 721-729.

รุ่งโรจน์ ตับกลาง และคณะ. ผลของอุณหภูมิและเวลาทำแห้งต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์กระท้อนแช่อิ่มอบแห้ง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. 2564; 14(1): 155-163.

วัลลี ภาคพจน์ และคณะ. อิทธิพลของอุณหภูมิและเวลาในการอบแห้งต่อคุณภาพทางกายภาพและเคมีของเปลือกมะม่วงผง. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 มหาวิทยาลัย ขอนแก่น 15 มีนาคม 2562. 2562. หน้า 662-672.