การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง สำหรับช่วยลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้าง

Main Article Content

นพดล จอกแก้ว
ธนิต ธงทอง
สมจินตนา แขนงแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการนำเทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงมาใช้กับการก่อสร้าง โดยได้เล็งเห็นถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้าง จึงทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงเพื่อลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้างระหว่างเจ้าของงาน ผู้ออกแบบ และผู้รับเหมา โดยกำหนดสมมติฐานว่าเทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงให้ความรู้สึกไม่แตกต่างกับการดำเนินงานก่อสร้างในสภาพแวดล้อมจริง จากการทดสอบสมมติฐานโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อวัดความรู้สึกเปรียบเทียบระหว่างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงกับสภาพแวดล้อม โดยทำการทดลองในโครงการก่อสร้าง จำนวน 2 กรณีศึกษาและดำเนินการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างนิสิตระดับปริญญาตรี คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 20 คน เพื่อวัดการรับรู้ถึงความรู้สึกต่อขนาดและความรู้สึกปลอดภัยของสิ่งก่อสร้าง จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบลำดับที่โดยเครื่องหมายของวิลค๊อกซัน (Wilcoxon-signed rank test) จากการวัดผลเปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้ถึงความรู้สึกระหว่างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงกับสภาพแวดล้อมจริง จากการศึกษาพบว่าการรับรู้ของความรู้สึกของขนาดและความปลอดภัยของสิ่งก่อสร้างผ่านทางเทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงและสภาพแวดล้อมจริง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 2 กรณีศึกษา แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงมาประยุกต์ใช้เพื่อการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้างได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ไตรวัฒน์ วิรยศิริ, สุริยน ศิริธรรมปิติ. การออกแบบและการเขียนแบบก่อสร้างอาคารเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

Virtual Reality Society. Head-mounted Displays (HMDs) Available from: https://www.vrs.org.uk/virtual-reality-gear/head-mounted-displays [เข้าถึง 19 เมษายน 2022].

จักรพงศ์ วังคุม. ประเภทของระบบ VR Available from : https://www.prezi.com/wliyatroudjb/vr [เข้าถึง 10 เมษายน 2022].

ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ. Virtual Reality เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน Available from : https:// www. scimath.org/article/item/4818-virtual-reality [เข้าถึง 10 เมษายน 2022].

ปรีดิ์ณัฐ ภาณุมนต์วาที. การศึกษาความตระหนักด้านความปลอดภัยของแรงงานไทยในงานก่อสร้างอาคารสูงกรณศึกษา: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร: 2552.

ชำนาญ พิเชษฐพันธ์, ไพบูลย์ กิตติพิทยากร. ปัญหาในการก่อสร้าง. นครราชสีมา: ดีพร้อมการพิมพ์; 2557.

Gould,F.E., and Joyce. Construction project management. N.J.: rentice-Hall, Upper Saddle River; 2003.

คุณากร แป้นเหลือ, จักรพงษ์ พงษ์เพ็ง. สาเหตุ ผลกระทบและแนวทางลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงงาน. การประชุมวิชาการโยธาแห่งชาติ

ครั้งที่ 20, 8-11 กรกฎาคม. ชลบุรี; 2558.

Robert K. Cox. Managing change orders and claims. Journal of management in engineering. 1997; (13): 24-29.

ศุภามณ จันทร์สกุล, สุชาดา บวรกิติวงศ์. สถิตินอนพาราเมตริกและการประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางการพยาบาล.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560; (11): 38-48.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพมหานคร: เว็บไซต์วัดผลจุดคอม; 2548.

ลลิตา โชติธนากิจ. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสถิติทดสอบทีและสถิติทดสอบวิลคอกซัน สำหรับประชาการสองที่ไม่เป็นอิสระกัน, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี: 2554.

ฐานันดร์ อุสัยนี, ธวีร์วุทธ จันทร์หอม, รุสนี มะตาเยะ, วรรณี ปาทาน. The WilcoxonTest Available from : http://file.siam2web.com/natcha/531/2011926_67308.pdf [เข้าถึง 1 สิงหาคม 2022].

กัลยา บุญหล้า, น้ำเพชร ยอดแสน, สุรีย์รัตน์ แก้วศรีเมือง. การเปรียบเทียบสถิติทดสอบเมื่อประชากร 2 กลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง. 2561; (27): 79-87.