การทำนายค่าสติฟเนสของเสาเข็มสปริง กรณีเสาเข็มเจาะในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดประสงค์ในการทำนายค่าสติฟเนสของเสาเข็มสปริง (K) กรณีเสาเข็มเจาะ สำหรับการออกแบบฐานรากอาคารสูงในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการสร้างสมการทำนายค่าสติฟเนสของเสาเข็มสปริงโดยรวมผลของดินโดยรอบเทียบกับสติฟเนสตามคุณสมบัติและรูปร่างของเสาเข็ม (K/(EA/L)) จากการรวบรวมข้อมูลผลการทดสอบเสาเข็มเจาะในพื้นที่ศึกษา ร่วมกับการจำลองผลการทดสอบเสาเข็มวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ 3 มิติและปรับเทียบด้วยวิธีทางสถิติจากข้อมูลผลการทดสอบเสาเข็ม ผลการศึกษาพบว่าค่า K มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามขนาดและความยาวของเสาเข็ม ในขณะที่ค่า K/(EA/L) มีแนวโน้มแปรผันตามความยาวของเสาเข็ม และแปรผกผันกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็ม งานวิจัยนี้ได้นำเสนอสมการทำนายค่า K/(EA/L) ขึ้นใหม่ ผลการทำนายค่า K/(EA/L) พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R2) เท่ากับ 0.880 ซึ่งถือว่ามีความคลาดเคลื่อนน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการทำนายค่า K/(EA/L) ด้วยสูตรดั้งเดิม ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R2) เท่ากับ 0.365
Article Details
References
Mali SM and Singh B. Behavior of Large Piled-Raft Foundation on Clay Soil. Ocean Engineering. 2018; 149: 205-216.
Rabiei M and Choobbasti AJ. Piled raft design strategies for high rise buildings. Geotechnical and Geological Engineering. 2016; 34(1): 75-85.
กมล อมรฟ้า และ นพดล เพียรเวช.การจำลองเสาเข็มด้วยสปริงในการออกแบบฐานรากอาคารสูง. ใน: การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 17, 2555; GTE036 หน้า 1-8.
ATC-40 report. Seismic Evaluation and Retrofit Of concrete Buildings. California seismic safety commission; 1996.
Serbpong K. Evaluation of Seismic Performance of an Existing Medium-Rise Reinforced Concrete Frame Building in Bangkok. Dissertation for the degree of Master of Engineering, Asian Institute of Technology; 2001.
Randolph MF and Wroth CP. An analysis of the vertical deformation of pile groups. Geotechnique. 1979; 29(4): 423-439.
สุระสีห์ อาวรณ์. การจำลองฐานรากแพบนเสาเข็มเป็นแผ่นที่โก่งตัวได้และรองรับโดยสปริง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา. มหาวิทยาลัยรังสิต; 2541.
Teng WC. Foundation Design. Prentice-Hall. Englewood Cliffs: New Jersey; 1962.
อมร พิมานมาศ, ปรีดา ไชยมหาวัน และ ภาณุวัฒน์ จ้อยกลัด. การออกแบบโครงสร้างฐานรากคอนกรีตเสริมเหล็กขั้นสูง . ซีวิลเอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์แอนด์ เทรน; 2555. หน้า 305-374.
Amornfa K, Phienwej N, and Kitpayuck P. Current practice on foundation design of high-rise buildings in Bangkok Thailand. Lowland Technology International. 2012; 14(2): 70–83.
ชาญชัย ทรัพย์มีวงศ์. พฤติกรรมการรับน้ำหนักในแนวดิ่งและแนวราบของเสาเข็มแบเร็ทรูปตัวทีและเสาเข็มเจาะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฏีบัณทิต สาขาวิศวกรรมโยธา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2009.
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย. การหากำลังบรรทุกน้ำหนักเสาเข็มจากการทดสอบ. สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2542.
Chhunla C and Likitlersuang S. Underground excavation behaviour in Bangkok using three-dimensional finite element method. Computers and Geotechnics. 2018; 95: 68-81.
Jamsawang P, Jamnam S, Jongpradist P, Tanseng P and Horpibulsuk S. Numerical analysis of lateral movements and strut forces in deep cement mixing walls with top-down construction in soft clay. Computers and Geotechnics. 2017; 88: 174-181.
Likitlersuang S, Surarak C, Wanatowski D, Oh E, and Balasubramaniam A. Finite element analysis of a deep excavation: A case study from the Bangkok MRT. Soils and Foundations. 2013; 53(5): 756-773.
Phutthananon C, Jongpradist P, Yensri P and Jamsawang P. Dependence of ultimate bearing capacity and failure behavior of T-shaped deep cement mixing piles on enlarged cap shape and pile strength. Computers and Geotechnics. 2018; 97: 27-41.
Rukdeechuai T, Jongpradist P, Wonglert A and Kaewsri T. Influence of Soil Models on Numerical Simulation of Geotechnical works in Bangkok subsoil. Research and development journal. 2009; 20(3): 17-28.
Amornfa K. Analysis of Piled Raft Foundations with Their Application to Bangkok Subsoil Condition. Dissertation for the degree of Doctor of Engineering. Geotechnical and Geoenvironmental Engineering. Asian Institute of Technology, Bangkok; 2012.
Wehnert M and Vermeer PA. Numerical Analyses of Load Tests on Bored Piles. In: NUMOG 9th, 25-27 August 2004, Ottawa, Canada. 2004.
Naveen BP, Parthasarathy CR and Thallak SG. Numerical Modeling of Pile Load Test. In: 4th China International Piling and Deep Foundations, Shanghai, China; 2014.
จารุกิตติ์ พูนชัย และ สมโพธิ์ อยู่ไว. การจำลองพฤติกรรมของเสาเข็มเดี่ยวในดินเหนียวกรุงเทพด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์. ใน: การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23, 2561; หน้า 1-5.
พรสิน สุภวาลย์. การวิเคราะห์การถดถอย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร; 2556.
ศิริชัย กาญจนวาสี. การวิเคราะห์พหุระดับ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
เชิดพันธุ์ อมรกุล. ฐานข้อมูลชั้นดินทางวิศวกรรมบริเวณที่ราบภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณทิต (วิศวกรรมโยธา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2553.