การพัฒนากำลังอัดแกนเดียวของวัสดุพื้นทางเดิมปรับปรุงด้วยเถ้าลอย และกากแคลเซียมคาร์ไบด์จีโอโพลิเมอร์

Main Article Content

เสริมศักดิ์ ติยะแสงทอง
เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์
ปิยธิดา อยู่สุข
นพดล ดีเรือก
วรวิทย์ โพธิ์จันทร์
นาถ สุขศีล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการพัฒนากำลังอัดแกนเดียวของวัสดุพื้นทางเดิมปรับปรุงด้วยเถ้าลอย และกากแคลเซียมคาร์ไบด์ จีโอโพลิเมอร์ ที่อายุบ่ม 7, 14, 28, 60 และ 90 วัน งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของปริมาณสารกระตุ้นซึ่งเป็นส่วนผสมของสารละลายโซเดียมซิลิเกต (NS) และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NH) ที่ความเข้มข้น 8 โมลาร์, อัตราส่วนของหินคลุกที่ไม่ผ่านมาตรฐาน:กากแคลเซียมคาร์ไบด์:เถ้าลอย (RCR:CCR:FA) และอัตราส่วน NS:NH พบว่าหน่วยน้ำหนักแห้งสูงสุดของ RCR-CCR-FA จีโอโพลิเมอร์มีค่าลดลงตามปริมาณ FA ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความถ่วงจำเพาะของ FA ต่ำกว่า กำลังอัดแกนเดียวที่อายุบ่ม 7 วันมีค่าเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มของปริมาณ FA เนื่องจากปริมาณซิลิกาและอลูมินาในระบบเพิ่มขึ้น ตัวอย่างที่ปริมาณสารกระตุ้นที่เหมาะสม (Optimum liquid alkaline content, OLC), อัตราส่วน RCR:CCR:FA เท่ากับ 40:10:50 และอัตราส่วน NS:NH เท่ากับ 2 ให้ค่ากำลังอัดแกนเดียวสูงสุดที่อายุบ่ม 7 วัน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 9.88 MPa เมื่อเปรียบเทียบค่าเกณฑ์มาตรฐานกำหนดของกรมทางหลวง ทล.-ม.204/2556 มาตรฐานพื้นทางดินซีเมนต์ ซึ่งระบุว่ากำลังอัดต้องไม่น้อยกว่า 1.724 MPa พบว่าทุกอัตราส่วนผสมผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนดของกรมทางหลวง นอกจากนี้ ได้นำเสนอสมการที่เป็นประโยชน์ในการทำนายกำลังอัดของวัสดุพื้นทางเดิมปรับปรุงด้วยเถ้าลอย และกากแคลเซียมคาร์ไบด์ จีโอโพลิเมอร์ เมื่อทราบกำลังอัดของตัวอย่างที่อายุบ่ม 28 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Suksiripattanapong C, Horpibulsuk S, Boongrasan S, Udomchai A, Chinkulkijniwat A, Arulrajah A. Unit weight, strength and microstructure of a water treatment sludge-fly ash lightweight cellular geopolymer. Construction and Building Materials. 2015;58: 254-257.

Suksiripattanapong C, Horpibulsuk S, Chanprasert P, Sukmak P, Arulrajah A. Compressive strength development in fly ash geopolymer masonsy units manufactured from water treatment sludge. Construction and Building Materials. 2015;82: 20-30.

Makaratat N, Laosamathikul T, Jaturapitakkul C. Utilization of calcium carbide residue –fly ash mixture as a cementing material in concrete. The 33rd Internaltional Association for Bridge and Structural Engineering. 2009;96: 144-149.

Amnadnua K. Tangchirapat W, Jaturapitakkul C. Strength, water permeability, and heat evolution of high strength concrete made from the mixture of calcium carbide residue and fly ash. Materials and Design.2013;51: 894-901.

Phetchuay C, Horpibulsuk S, Arulrajah A, Suksiripattanapong C, Udomchai A. Strength development in soft marine clay stabilized by fly ash and calcium carbide residue based geopolymer. Applied Clay Science. 2016;127-128: 134-142.

Phummiphan I, Horpibulsuk S, Sukmak P, Chinkulkijniwat A, Arulrajah A, Shen SL. Stabilisation of marginal lateritic soil using high calcium fly ash-based geopolymer. Road Materials and Pavement Design. 2016;17(4): 877-891.

Phummiphan I, Horpibulsuk S, Phoo-ngernkham T, Arulrajah A, Shen SL. Marginal Lateritic Soil Stabilized with Calcium Carbride Residue and Fly Ash Geopolymers as a Sustainable Pavement Base Material. Materials in Civil Engineering. 2017;29(2): 1-10.

Rattanasak U, Chindaprasirt P. Influence of NaOH solution on the synthesis of fly ash geopolymer. Minerals Engineering. 2009;22: 1073-1078.

Chindaprasirt P, Chareerat T, Sirivivatnanon V. Workability and strength of coarse high calcium fly ash geopolymer. Cement and Concrete Composites. 2006;29(3): 224-229.