การประเมินค่าการนำความร้อนและกำลังอัดของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าที่อุณหภูมิความร้อนแตกต่างกัน

Main Article Content

ธนภร ทวีวุฒิ
นท แสงเทียน
อิทธิพงศ์ พันธ์นิกุล
วิวัฒน์ พัวทัศนานนท์

บทคัดย่อ

คอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าเป็นมอร์ต้าที่ผสมฟองอากาศหรือโฟมเหลวคงรูปให้กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอในเนื้อคอนกรีตแทนการใช้มวลรวมหยาบ เพื่อลดหน่วยน้ำหนักของคอนกรีต ซึ่งคุณสมบัติของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าขึ้นกับค่าหน่วยน้ำหนัก คอนกรีตที่มีส่วนผสมของฟองอากาศมากมีความพรุนสูง น้ำหนักเบา ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนจะต่ำ คอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าที่หน่วยน้ำหนักออกแบบ 1600 และ 1800 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 0.45 และ 0.55 และอัตราส่วนทรายต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 2:1 และ 3:1 ถูกออกแบบและผลิตเพื่อศึกษาคุณสมบัติการนำความร้อนและกำลังรับแรงอัดเมื่อคอนกรีตได้รับความร้อนที่อุณหภูมิต่าง ๆ ได้ผลดังนี้ (1) ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนอยู่ระหว่าง 0.164 – 0.255 วัตต์ต่อเมตรองศาเคลวิน (2) ค่ากำลังรับแรงอัดคงเหลือเฉลี่ยของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าที่ถูกนำไปอบที่อุณหภูมิ 200, 400, 600, 800 และ 1000 องศาเซลเซียส อยู่ที่ประมาณร้อยละ 91, 76, 52, 28 และ 17 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Narayanan N. and Ramamurthy K. 2000. Structure and properties of aerated concrete: a review. Cement & Concrete Composites. 22: 321-329.

Fouad H. Fouad. 2006. Cellular concrete. Joseph F.Lamond and James H.Pielert (eds). In: Significance of Tests and Properties of concrete and concrete- making material, p561-569. ASTM International, West Conshohocken, PA.

Nambiar E.K.K. and Ramamurthy K. 2007. Air void characterisation of foam concrete. Cement and Concrete Composites. 37: 221-230.

Shetty M.S. 2000. Concrete Technology: Theory and Practice. S.CHAND & COMPANY. Ram Nagar, New Delhi.

Gambhir M L. 2013. Concrete Technology: Theory and Practice, 5ed. McGraw Hill Education (India) Private Limited, New Delhi.

มอก. 60-2516. มาตรฐานคอนกรีตบล็อกเชิงตันรับน้ำหนัก. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม. 2516.

บริษัทปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรม. 2548. ปูนซีเมนต์และการประยุกต์ใช้งาน พิมพ์ครั้งที่ 2 293 หน้า.

www.dconproduct.com สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พ.ย.2565

www.qcon.co.th สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พ.ย.2565

อิทธิเชษฐ์ อุตะธีรวิชญ์ และ ธนภร ทวีวุฒิ. 2553. คุณสมบัติการใช้งานคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 15 12-14 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จ.อุบลราชธานี.

ปภาวิน สินรัมย์ และ ธนภร ทวีวุฒิ. 2555. ช่องว่างอากาศและคุณสมบัติการใช้งานคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 17 9-11 พฤษภาคม 255 ณ โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์แอนคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ จ.อุดรธานี

คณะกรรมการกฤษฎีกา ราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนของวัสดุ หน้า 15 เล่ม 113 ตอนพิเศษ 21 ง ลงวันที่ 17 กรกฏาคม 2539

Kosmatka Steven H., Kerkhoff B., and Panarese William C. 2003. Design and Control of Concrete Mixtures, 14ed. Portland Cement Association.

Rodriguez A., Pedraza M., Luciano J. and Constantiner D. 1999. Mixture Design Optimisation of Cellular concrete. Ravindra K Dhir and Neil A Henderson. (eds). In: Specialist techniques and materials for concrete construction. Thomas Telford Publishing. London.

ธนภร ทวีวุฒิ, นท แสงเทียน, วิวัฒน์ พัวทัศนานนท์, อิทธิพงศ์ พันธ์นิกุล. กำลังรับแรงอัดของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 2563; กรกฎาคม-ธันวาคม. 13(2): 88-101.

ASTM C128 - Standard Test Method for Specific Gravity and Absorption of Fine Aggregate

การวิเคราะห์ขนาดคละมวลรวมละเอียด Sieve Analysis of Fine and Coarse Aggregates and Maximum Size of Aggregate (ASTM C 136 – 96a)

Neville Adam M. 2003. Properties of Concrete. Fourth Edition. Pearson Prentice Hall. England.

Kunhanandan Nambiar E.K. and Ramamurthy. K. 2006. Influence of filler type on the properties of foam concrete. Cement & Concrete Composites. 28 475–480.

Falade F., Ikponmwosa E. and Fapohunda C. 2013. A Study on the Compressive and Tensile Strength of Foamed Concrete Containing Pulverized Bone as a Partial Replacement of Cement. Pak. J. Engg. & Appl. Sci. Vol. 13, p. 82-93.

ASTM C 177 Standard Test Method for Steady-State Thermal Transmission by Mean of The Guarded Hot Plate

มอก. 409-2525. มาตรฐานวิธีทดสอบความต้านแรงอัดของแท่งคอนกรีต. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม. 2525.