การวิจัยและพัฒนากระบวนการอัดขึ้นรูปร้อนแผ่นไม้ไผ่จากเศษไม้ไผ่สู่การใช้ประโยชน์

Main Article Content

วรพงค์ บุญช่วยแทน
ชาตรี หอมเขียว
จักรนรินทร์ ฉัตรทอง
สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์
ณัฐศักย์ หวังสุด
ปฏิภาณ มิ่งแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตแผ่นไม้ไผ่จากเศษไม้ไผ่ วัตถุดิบใช้เศษไม้ไผ่ที่มีขนาด 3-5 เซนติเมตร มีความชื้นไม่เกิน 13 เปอร์เซ็นต์ และใช้ตัวประสานจากวัสดุธรรมชาติ โดยมีกระบวนการการอัดขึ้นรูปร้อนที่อุณหภูมิอัดร้อน 3 ระดับ คือ 170 190 และ 210 องศาเซลเซียส และเวลาอัดขึ้นรูป 3 ระดับ คือ 10 15 และ 20 นาที จากนั้นนำไปทดสอบลักษณะทางกายภาพและสมบัติทางกล ประกอบด้วย การทดสอบการพองตัวตามความหนา การทดสอบความแข็งแรงดัด การทดสอบความยึดเหนี่ยวของตะปูเกลียว และการทดสอบความแข็งแรงดึง และเปรียบเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ (มอก.876-2547) ผลการวิจัยพบว่าสภาวะที่เหมาะสมแก่การอัดขึ้นรูปร้อนแผ่นไม้ไผ่จากเศษไม้ไผ่ที่อุณหภูมิอัดร้อน 190 องศาเซลเซียส เวลาอัดขึ้นรูป 15 นาที เนื่องจากมีค่าความแข็งแรงดัด ค่ามอดูลัสแรงดัด ค่าความเครียดแรงดัด ค่าความแข็งแรงดึง และค่ามอดูลัสแรงดึงที่สูง ผลการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.876-2547 พบว่า มีค่าการทดสอบที่ผ่านมาตรฐาน 3 ค่ามาตราฐาน คือ ค่าการพองตัวตามความหนา ค่าความแข็งแรงดึง และค่ามอดูลัสแรงดึง และมีค่าการทดสอบที่ไม่ผ่านมาตรฐาน 2 ค่ามาตราฐาน คือ ค่าความแข็งแรงดัด และค่ามอดูลัสแรงดัด และผลการทดสอบความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์จากแผ่นไม้ไผ่จากเศษไม้ไผ่พบว่า มีค่าคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 3.41 คะแนน ระดับความพึงพอใจมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

สำนักจัดการที่ดินปาไม้. 2563. โครงการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ ปี พ.ศ. 2556 – 2557. รายงานวิจัย.กรมป่าไม้. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ณัชธกาภรณ์ จรัญจารุพัฒน์ และสาลินี อาจารีย์. การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 2561;28(2): 469-476.

ไตรรงค์ เปลี่ยนแสง ปาริชาต เตชะ ชุติมา ใจวิสาร น้ำฝน อินเท้ง และอรณิชา ศิริประโชติ. การศึกษาการผลิตวัสดุทดแทนไม้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. PSRU Journal of Science and Technology. 2564;6(3): 121-134.

ณัชธกาภรณ์ จรัญจารุพัฒน์ และสาลินี อาจารีย์. การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 2561;28(2): 469-476.

พนุชศดี เย็นใจ ทรงกลด จารุสมบัติ และธีระ วีณิน. การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษเหลือทิ้งของไม้เสม็ดขาว. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2559;11(2): 131-140.

Chanpor Yiachongthor. การเพิ่มมูลค่าขี้เลื่อยไม้สักจากโรงเลื่อยในเมืองเชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง เป็นแผ่นปาร์ติเกิลเพื่อการผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2564.

แสงระวี สุขีธรรม ทรงกลด จารุสมบัติ ธีระ วีณิน. แผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษเหลือไผ่จากโรงงานทำตะเกียบ. วารสารวนศาสตร์. 2562;38(2): 192-201.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ (มอก.876-2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม, 2547.

วรพงค์ บุญช่วยแทน และสุรสิทธิ์ ระวังวงศ์. ส่วนผสมและกรรมวิธีการผลิตแผ่นไม้ไผ่จากเศษไม้ไผ่โดยการอัดขึ้นรูปร้อน. อนุสิทธิบัตรคำขอเลขที่ 2203002954, วันที่ยื่นคำขอ 27 ตุลาคม 2565.

ภาณุเดช ขัดเงาม สมบัติ ชะนะวงศ์ วิชา หมั่นทำการ และวรธรรม อุ่นจิตติชัย. การศึกษาการทำแผ่นปาร์ติเกิลบอร์ดจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของต้นสบู่ดำ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 2558;14(3): 734-740.

ชาตรี หอมเขียว วรพงค์ บุญช่วยแทน และวรรธนพร ชีววุฒิพงศ์. ผลกระทบของปริมาณเส้นใยผลตาลโตนดและแป้งมันสำปะหลังต่อสมบัติของแผ่นใยไม้อัดปลอดสารพิษ. วารสารวิศวสารลาดกระบัง. 2557;33(3): 41-55.

กันยา อัครอารีย์ และอาทิตยา กาญจนะ. การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้กากใบชาจากอุตสาหกรรมเครื่องดื่มทดแทนการใช้ชิ้นไม้สับในการผลิตแผ่นปาร์ติเกิล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2557.