สมบัติของพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลที่ผ่านกระบวนการเติมแต่งเพื่อผลิตเส้นพลาสติกสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

Main Article Content

พัชร์ธวิทย์ ศิริไพบูลย์ทรัพย์
สุภัทรา หมู่ป่ารัง
จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร
พัชระ กัญจนกาญจน์
ฐิติ หมอรักษา
วรรณนิศา นุชคุ้ม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ดำเนินการเปรียบเทียบคุณสมบัติทางกลและสมบัติทางกายภาพ เส้นพลาสติกพอลิแลคติกแอซิดเติมแต่งสารเรืองแสงกับเส้นพลาสติกพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลผสมพอลิแลคติดแอซิดเติมแต่งสารเรืองแสง สำหรับกระบวนการขึ้นรูปชิ้นงาน 3 มิติ โดยใช้การเติมแต่งสารเรืองแสง 3 สัดส่วน ได้แก่ ร้อยละ 0.3 0.5 และ 1 แสดงผลการทดสอบความต้านทานแรงดึง มอดูลัสความยืดหยุ่น เปอร์เซ็นต์การยืดตัว ความแข็ง ดัชนีการไหล พบว่าเส้นพลาสติกพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลผสมพอลิแลคติดแอซิดเติมแต่งสารเรืองแสง สัดส่วนสารเรืองแสงร้อยละ 0.3 ส่งผลให้การพิมพ์ขึ้นรูปชิ้นงาน 3 มิติ สมบูรณ์แบบ และเมื่อเติมสารเรืองแสงในปริมาณที่มากส่งผลให้เกิดความหนืดของพอลิเมอร์ ทำให้ความต้านทานแรงดึง และดัชนีการไหลลดลง ในทางกลับกัน สัดส่วนการเติมสารเรืองแสงไม่มีผลต่อ มอดูลัสความยืดหยุ่น ความแข็ง และเปอร์เซ็นต์การยืดตัว และเมื่อวิเคราะห์การทดสอบทางกายภาพ พบว่าลักษณะการฉีกขาดของชิ้นงานทดสอบแรงดึง แสดงให้เห็นถึงลักษณะความหนาแน่นของชั้นการพิมพ์ขึ้นรูป ซึ่งมีความสอดคล้องกับเปอร์เซนต์การยืดตัว จากการทดสอบความวาวแสงของเส้นพลาสติกทั้ง 4 ชนิด พบว่ามีความยาวคลื่นที่ใช้การกระตุ้นใกล้เคียงกัน ในช่วง 509 นาโนเมตร ซึ่งการเติมสารเรืองแสงในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เส้นพลาติกมีลักษณะวาวแสงเพิ่มขึ้น แต่ลักษณะกราฟความวาวแสงของสัดส่วนการเติมร้อยะละ 0.3 0.5 และ 1 แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนการเติมสารเรืองแสงมีความสว่าง ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ดารารัตน์ ทาทอง. ผลกระทบจากเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติต้นทุนต่ำต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในงานอุตสาหกรรม. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี. วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, (2559)

ไทยโฮมทาวน์. (2564, 09. 25). ต่อยอดเทคโนโลยี 3D Printing ในวงการก่อสร้างด้วยนวัตกรรม 3D Cement Extrusion Printing. [Online], แหล่งที่มา: https://www.thaihometown.com/

ประชาชาติธุรกิจ. (2564, 11. 25). 3D printing พริกโลกอุตสาหกรรม. [Online], แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/

ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ. (2564, 12. 15). 3D Printing: เทคโนโลยีแห่งโอกาส. [Online], แหล่งที่มา: https://www.i-am-maker.com/

M Report. (2564, 11. 19). 3D Printing: เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล. [Online], แหล่งที่มา: https://www.mreport.co.th/

วรทร ชูส่งแสง. (2564, 12. 15). 3D Printing: เทคโนโลยีของโลกยุคใหม่. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.petromat.org/

Yang Lu, Meng Jiaguang, XUE Tao. Effect of 3D printing process parameters on tensile strength of PLA specimen [J]. Plastics Industry, 201,49(05):73-77+142.

Makara Lay, Nuur Laila Najwa Thajudin, Zuratul Ain Abdul Hamid, Arjulizan Rusli, Muhammad Khalil Abdullah, Raa Khimi Shuib. Comparison of physical and mechanical properties of PLA, ABS nylon 6 fabricated using fused deposition modeling[J] Composites Part B,2019,176(C).

Shen Liang. Preparation and Research of Polylactic Acid Composite Material for Ecological Vehicle [D]. Jilin University,2021.

A. Ebrahimzade. Study on characteristics and afterglow properties of luminous . ปีที่ (10) : 8167, 2017.

Stefani, R. Rodrigues, L., C., V., Carvalho, C., A., A., Felinto, M., C., F., C., Brito, H., F., and Lastusaari, M., J., H., (2009). “Persistent luminescence of Eu2+ and Dy3+ doped barium aluminate (BaAl2O4:Eu2+, Dy3+) materials”, Opt. Mater. 31, 1815– 1818.

Xiao, L., Meng, S., Junying, Z., and Tianm, W., (2010). “Effect of mixing process on the luminescent properties of SrAl2O4:Eu2+, Dy3+ long afterglow phosphors”, J. Rare Earth., vol. 28, no. 1, Feb. pp.150.

พิชญ์ ดนู ธวัชพันธุ. ผลของสารเรืองแสงต่อการเรืองแสงและความแข็งของยางที่ผลิตจากน้ำยาง คอมปาวด์. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 7. 24/11/2560. ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา : 1.

Thanyalak Khwankaew, Wuttipong Nilpanan, Supatthra Muparang , Amornsak Mayai, Wannisa Nutkhum and Jittiwat Nitthikarnjanatharn. Plastic Strand Production with Recycled Polypropylene and Polylactic Acid for 3D Molding Processes. The 6th Rajamangala and Management Technology Conference 2021

Ratchapat Sartsoongnern Jittiwat Nitthikarnjanatharn. Study of melting temperature , feed rate and temperature used in 3D printing with Polypropylene Used in the Fused Deposition Modeling process. academic conference Engineering Science Technology and Architecture 9th. September 7, 2018 at 50th Anniversary Thai-German Technical Building, Khon Kaen (Building 18), Faculty of Engineering Rajamangala University of Technology Isan Khon Kaen Campus, Khon Kaen Province

จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร และสุภัทรา หมู่ป่ารัง. ส่วนผสมการผลิตเส้นสำหรับการพิมพ์ขึ้นรูป 3 มิติ. กรมทรัพย์สินทางปัญญา. อนุสิทธิบัตรเลขที่ 2303000987

Iulian Antoniac, Diana Popescu, Aurelian Zapciu, Aurora Antoniac, Florin Miculescu, and Horatiu Moldovan. Magnesium Filled Polylactic Acid (PLA) Material for Filament Based 3D Printing. Materials 2019 9, 12, 719.1 March 2019

Ayman M. M. Abdelhaleem. Mechanical Properties of Recycled Polypropylene Mixed with Glass Fibers. International Journal of Advanced Materials Research Vol. 2, No. 4, 2016, pp. 72-79

Rossella Arrigo, Daniele Battegazzore, Giulia Bernagozzi, Fulvia Cravero, David Norberto Ribero Pedraza and Alberto Frache. Recycled PP for 3D Printing: Material and Processing Optimization through Design of Experiment. Appl. Sci. 2022, 12, 10840.

Binglong Li. Meng Zhang, Qunshan Lu, Baoqing Zhang, Zhuang Miao, Lei Li, Tong Zheng, and Peilai Liu. Application and Development of Modern 3D Printing Technology in the Field of Orthopedics. BioMed Research International. Volume 2022, Article ID 8759060, 15 pages

Wantanee Buggakupta. Glowing Ceramic. Ceramics Jounal Vol.14, NO.34, May - August 2010, pp.72-75