การประยุกต์ใช้เทคนิคลีนในการปรับปรุงกระบวนการทำงานการผลิตใบยาสูบ

Main Article Content

เมธาวิน สามสี
นลิน เพียรทอง
ลออง ผโลดม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานก่อนและหลังการปรับปรุง โดยใช้เทคนิคลีน การศึกษางาน ความสูญเปล่า 7 ประการและเทคนิค ECRS ในการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มวิสาหกิจผู้ผลิตยาสูบบ้านแก่นทราย     ต.รอบเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด  จากการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลข้อมูลการทำงานก่อนปรับปรุง พบว่า มีขั้นตอนการทำงาน 5 ขั้นตอนหลัก  คือ การเพาะปลูก การเก็บ การร้อยใบยาสูบ การตากและการอัด จากการศึกษาข้อมูลกระบวนการทำงานผู้จัดทำวิจัยได้ทำการเลือก 3 ขั้นตอน คือ การร้อยใบยาสูบ การตากและการอัด เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานและลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการ จากการวิเคราะห์ข้อมูลและปรับปรุงกระบวนการทำงาน กระบวนการทำงานก่อนปรับปรุงมีขั้นตอนการทำงาน 23 ขั้นตอน และหลังปรับปรุงมีขั้นตอนการทำงาน 16 ขั้นตอน สามารถลดขั้นตอนการทำงานลงได้ 7 ขั้นตอน  เวลาในการทำงานก่อนปรับปรุง 441.6 ชั่วโมงและหลังปรับปรุง 321.12 ชั่วโมง สามารถลดระยะเวลาการทำงานลงได้ถึง 120.5 ชั่วโมงและระยะทางในการทำงานก่อนปรับปรุง 1,220 เมตรและหลังปรับปรุง 660 เมตร สามารถลดระยะทางในการทำงานลงได้ถึง 560 เมตร หลังจากการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานใหม่ของกระบวนการทำงานการผลิตใบยาสูบ 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. การยาสูบแห่งประเทศไทย, ค้นหาวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565.

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. อธิบดีกรมสรรพสามิต แจงการปรับโครงสร้างภาษียาสูบใหม่มีผลบังคับใช้ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป, ค้นหาเมื่อ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565.

https://www.thaigov.go.th/news/contents/detai ls/46420

HR NOTE.asia. 5 หลักการระบบลีน (Lean) วิธีการใช้ งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร, ค้นหาเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2565. https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/lean- management-210621/

วุฒิชัย วิชัยขัทคะ. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพใน กระบวนการบรรจุของโรงงานผลิตขนมขบเคี้ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.http://cmuir.cmu.ac.th/jspui /handle/6653943832/68999

ภาณุวัฒน์ วงค์แสงน้อย และ นลิน เพียรทอง. การ ปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตยางพาราแผ่น เรียบด้วยเทคนิคลีน. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และ นวัตกรรม. 2566; 16(2), 168-175

มาโนช ริทินโย และคณะ. การพัฒนาเครื่องค้นหูกเส้น ไหมด้วยเทคนิค ECRS.วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 10 เล่มที่ 2, 2561.

อมรัตน์ ปิ่นชัยมูล และศิระพงศ์ ลือชัย. ปรับปรุงการ ทำงานสำหรับกระบวนการผลิ ผลิตภัณฑ์ไรซ์แครกเกอร์ ด้วยแนวคิดไคเซ็น. วารสารข่ายงานวิศวกรรม อตุสาหการไทย (Thai Industrial Engineering Network Journal) ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2563.

พรศิริ คำหล้า อาภาพร การเลิศ ปริญาดา ภารรัศมี กำธรสารวรรณ.การปรับปรุงประสิทธิภาพ กระบวนการผลิตเตาถ่าน กรณีศึกษา : โรงเตาในจังหวัด กาฬสินธุ์. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปี ที่ 14 เล่มที่ 3 2563.

จิรวัฒน์ วรวิชัยและคณะ การปรับปรุงวิธีการทำงานใน การบรรจุชิ้นงานขึ้นรูปพลาสติก กรณีศึกษา : บริษัท ผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2563.

น.ส จิรกาล กัลยาโพธิ์. การลดความสูญเปล่าใน กระบวนการผลิตยางรองล้อรถยนต์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย, 2563.