การจัดการการใช้น้ำสำหรับกระบวนการย้อม ในอุตสาหกรรมผลิตพรมตามแนวทางเทคโนโลยีสะอาด

Main Article Content

สุมนา ราษฎร์ภักดี

บทคัดย่อ

กระบวนการย้อมเป็นหนึ่งในกระบวนการหลักของอุตสาหกรรมผลิตพรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากเมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการอื่น เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวมีการใช้น้ำและทรัพยากรต่างๆ เป็นจำนวนมาก การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อบริหารการใช้น้ำในกระบวนการย้อมโดยประยุกต์ใช้แนวทางเทคโนโลยีสะอาด ผลการศึกษาพบว่าโรงงานกรณีศึกษามีการใช้น้ำคิดเป็น 93.09 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน  (174 ลิตรต่อกิโลกรัมผลิตภัณฑ์) เมื่อประเมินหาสาเหตุการสูญเสียโดยใช้แผนภูมิก้างปลาเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาพบว่ามีแนวทางการลดความสูญเสีย 3 แนวทางที่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งประกอบด้วย 1) การปรับปรุงการล้างหม้อย้อมโดยใช้กล่องแทนที่น้ำ 2) การใช้ประโยชน์น้ำกลั่นตัวจากไอน้ำสูญเสียและ 3) การใช้น้ำซ้ำในการกำจัดไขมันและสิ่งสกปรก แนวทางแรก ได้แก่ การปรับปรุงการล้างหม้อย้อมเป็นการติดตั้งกล่องในหม้อย้อมเพื่อลดปริมาตรช่องว่างในหม้อย้อมส่งผลให้ลดน้ำล้างหม้อย้อม การศึกษาเป็นการจำลองการไหลโดยใช้โปรแกรม SOLIDWORKS 2014 พบว่าเมื่อมีการติดตั้งกล่องแทนที่น้ำการไหลของน้ำการยังมีลักษณะหมุนวนและมีความเร็วคล้ายกับก่อนติดตั้งกล่อง สำหรับแนวทางที่สองการใช้ประโยชน์น้ำกลั่นตัวจากไอน้ำสูญเสียเป็นการนำน้ำกลั่นใช้เป็นน้ำดิบโดยตรงทดแทนการใช้น้ำประปา การศึกษาในเชิงเทคนิคพบว่าน้ำกลั่นตัวมีคุณภาพใกล้เคียงกับน้ำดิบสามารถใช้ทดแทนน้ำดิบสำหรับกระบวนการย้อมได้ ส่วนแนวทางสุดท้ายเป็นการใช้น้ำซ้ำในการกำจัดไขมันและสิ่งสกปรกสำหรับการล้างวัตถุดิบต่อเนื่องเนื่องจากน้ำใช้ซ้ำมีคุณภาพค่าใกล้เคียงกับน้ำอ่อนที่ใช้ในกำจัดไขมันและสิ่งสกปรก ดังนั้นแนวทางนี้จึงสามารถใช้น้ำซ้ำโดยตรงภายในกระบวนการโดยไม่ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ผลจากการคาดการณ์ความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ของแนวทางข้างต้นสามารถลดการใช้น้ำและสารเคมีเท่ากับ 1,728.94 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และ 985.2 กิโลกรัมต่อปี ตามลำดับ คิดเป็นเงิน 238,803 บาทต่อปี

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงอุตสาหกรรม. (2553). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมพรมทอ. [ม.ท.ป.: ม.พ.ป.].

[2] ธเรศ ศรีสถิตย์. (2549). เทคโนโลยีสะอาดและการนำไปใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[3] สิริประภา แพงคำแหง. (2553). การลดปริมาณสีย้อมผ้าไหมโดยการประยุกต์ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาดสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

[4] วิลเลียมส์ ดี, คาลิสเตอร์. เจอาร์. (2548). วัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุพื้นฐาน. (กอบบุญ หล่อทองคำ, ธาชาย เหลืองวรานันท์, ปฐมา วิสุทธิพิทักษ์กุล, มาวิน สุประดิษฐ ณ อยุธยา, สุวันชัย พงษ์สุกิจวัฒน์ และเอกสิทธิ์ นิสารัตนพร, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ท้อป.

[5] ไพศรี วรรณแสงทอง. (2558). คู่มือวิเคราะห์น้ำและน้ำเสียในปฏิบัติการทางเคมีสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม. ขอนแก่น: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น