การประเมินประสิทธิภาพของเครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังต้นแบบ ที่พัฒนาในประเทศไทย

Main Article Content

มนตรี ทาสันเทียะ

บทคัดย่อ

ปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานเป็นปัญหาสำคัญในกระบวนการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ปัจจุบันวิธีที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังคือการใช้เครื่องจักรและการใช้แรงงานคนทำงานร่วมกัน และการพัฒนาเป็นเครื่องเก็บเกี่ยว คือการออกแบบให้เครื่องขุด ลำเลียง สับเหง้า และขนย้ายไปพร้อมกันแต่จากข้อจำกัดด้านปัจจัยในการเก็บเกี่ยวจึงทำให้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมานั้นยังไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาพัฒนาเครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังมีผู้สนใจทำการศึกษาเป็นจำนวนมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการรวบรวมข้อมูลการพัฒนาเครื่องเก็บเกี่ยวในประเทศไทยมาทำการประเมินเพื่อใช้เป็นการกำหนดรูปแบบของการพัฒนาเครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในอนาคต ผลการประเมินพบว่ารูปแบบของเครื่องเก็บเกี่ยวในอนาคตจะมีลักษณะเป็นการทำงานของเครื่องจักรและคนทำงานร่วมกัน รวมถึงการพัฒนาอุปกรณ์การทำงานให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานในการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง

Article Details

How to Cite
1.
ทาสันเทียะ ม. การประเมินประสิทธิภาพของเครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังต้นแบบ ที่พัฒนาในประเทศไทย. featkku [อินเทอร์เน็ต]. 1 มิถุนายน 2015 [อ้างถึง 23 มกราคม 2025];1(2):107-16. available at: https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/176185
บท
บทความวิจัย

References

[1] ประสาท แสงพันธุ์ตา.2548.การออกแบบและพัฒนาเครื่องขุดและรวบรวมหัวมันสำปะหลัง.[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล] กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

[2] พยุงศักดิ์ จุลยุเสนและคณะ.2557.การพัฒนาเครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังแบบตัดหัวมันสำปะหลังออกจากเหง้า.สาขาวิศวกรรมเกษตร สำนักวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.วิทยาศาสตร์เกษตร .353-356 น.

[3] วิชา หมั่นทำการ.2552.เครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง.ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.[ระบบออนไลน์] แหล่งที่มาhttp://www.rdi.ku.ac.th,เข้าดูเมือวันที่ 30 /7/ 2553

[4]ศุภวัฒน์ ปากเมย.2540.การออกแบบและประเมินเครื่องขุดมันสำปะหลัง.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเครื่องจักรกลเกษตร บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น