การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพโดยใช้ระบบน้ำวนและระบบแผ่นกั้นแบบไม่ใช้อากาศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อทำการออกแบบและสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพโดยใช้ระบบน้ำวนขนาดจำลอง การออกแบบถังหมักก๊าซชีวภาพ 2 ถังที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน ถังหมัก D1 ใช้ระบบน้ำวน ถังหมัก D2 ไม่ใช้ระบบน้ำวน ถังหมัก D1 มีลักษณะเป็นวงกลม 2 ชั้นขนาด 250 ลิตร และถังหมัก D2 มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 250 ลิตร ในการทดลองจะใช้มูลไก่สด ผสมกับ เชื้อตั้งต้นให้ได้ปริมาตร 250 ลิตร สัดส่วนที่ทดลองมีดังนี้ 25:75, 50:50, 75:25 โดยปริมาตร เป็นวัตถุดิบ แต่ละสัดส่วนใช้เวลาหมัก (Hydraulic Retention Time : HRT) 10 วัน จากการทดลองพบว่า อัตราส่วนระหว่างมูลไก่สดกับเชื้อตั้งต้นที่เกิดก๊าซชีวภาพมากสุดคือ 50 : 50 โดยปริมาตร ถังหมัก D1 และถังหมัก D2 เกิดก๊าซชีวภาพ 6.53 ม3, 22.32 ม3 ตามลำดับ โดยมีสัดส่วนก๊าซมีเทนใน ถังหมัก D1 และถังหมัก D2 เท่ากับ ร้อยละ 62.28, ร้อยละ 61.2 ตามลำดับ
Article Details
วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ (FEAT Journal) มีกําหนดออกเป็นราย 6 เดือน คือ มกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี จัดพิมพ์โดยกลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมทั้งยังจัดส่ง เผยแพร่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศด้วย บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร FEAT ทุกบทความนั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2535
References
[2] Khursheed et al. (2005). Anaerobic Digestion of animal waste: Effect of mode of mixing, Chemical Reaction Engineering Laboratory (CREL). Washington: Department of Chemical Engineering, Washington University.
[3] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (2557). กระทรวงพลังงาน, กรุงเทพฯ: คู่มือ เทคโนโลยีพลังงานก๊าซชีวภาพ โครงการถ่ายทอด เผยแพร่การใช้พลังงานก๊าซชีวภาพ
[4] Benjiamin, Jr. S.M., Thomas, T.A., Johnston, P. (2001). Anaerobic Co digestion of hog and poultry waste. Bioresource Technology, 76(1), 165-168