การออกแบบวัฏจักรการขับขี่สำหรับรถจักรยานยนต์ในเขตเมืองสำหรับประเมินค่าการปลดปล่อยก๊าซไอเสียและการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการสร้างวัฏจักรการขับขี่เพื่อประเมินค่าการปลดปล่อยมลภาวะและอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงนั้น สามารถอธิบายได้ถึงลักษณะการขับขี่ที่ส่งผลกระทบต่อการปลดปล่อยปริมาณมลพิษจากไอเสียของรถจักรยานยนต์และอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงได้ การออกแบบวัฏจักรการขับขี่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลความเร็วต่อเวลาเพื่อใช้ในการคำนวณหาค่าพารามิเตอร์เป้าหมายและการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณไอเสียเพิ่มเติมเข้ามานั้นยังทำให้สามารถอธิบายถึงรูปแบบการขับขี่ที่ส่งผลกระทบต่อการปลดปล่อยมลพิษได้อย่างแม่นยำ โดยในการศึกษานี้จะทำการเก็บข้อมูลความเร็วต่อเวลา ปริมาณไอเสียและอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง จากการศึกษาจะพบว่า วัฏจักรการขับขี่สำหรับรถจักรยานยนต์ที่สร้างขึ้นสามารถเป็นตัวแทนรูปแบบการขับขี่ที่มีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและปล่อยมลพิษจากไอเสียต่ำ โดยจะมีการปล่อยมลพิษโดยรวมมีค่าเท่ากับ 171.05 กรัมต่อกิโลเมตร และ มีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเท่ากับ 20.687 กิโลเมตรต่อ
ลิตร ซึ่งวัฏจักรการขับขี่ดังกล่าวมีความเหมาะสมสำหรับใช้เป็นแนวทางสำหรับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซไอเสียและอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสำหรับรถจักรยานยนต์ เนื่องจากมีปริมาณการปล่อยไอเสียและการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงต่ำที่สุดและยังมีพฤติกรรมการขับขี่ที่ใกล้เคียงกับการขับขี่ในสภาวะจริงบนท้องถนน โดยพิจารณาจากค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนของพารามิเตอร์วัฏจักรที่สร้างขึ้นกับพารามิเตอร์เป้าหมาย เท่ากับ 2.363%
Article Details
วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ (FEAT Journal) มีกําหนดออกเป็นราย 6 เดือน คือ มกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี จัดพิมพ์โดยกลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมทั้งยังจัดส่ง เผยแพร่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศด้วย บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร FEAT ทุกบทความนั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2535
References
[2] Khon Kaen Municipality and SIRDC. “A Master Plan of Khon Kaen Transit System” Khon Kaen Municipality and SustainableInfrastructure Research and Development Center. Khon Kaen University: Khon Kaen; 2008.
[3] Khumla P, Radpukdee T, Satiennam T. Driving Cycle Generation for Emissions and Fuel Consumption Assessment of the Motorcycles in Khon Kaen City. The First TSME International Conference on Mechanical Engineering; 2010 Oct 20-22; 2010; Ubon Ratchathani; 2010.
[4] Kumar R, Durai BK, Saleh W, Boswell C. Comparison and evaluation of emissions for different driving cycles of motorcycles: A note. Transportation Research Part D: Transport and Enviroment. 2011; 16, 61–64.
[5] PCD. Guidelines on the laws and standards on pollution control in Thailand. Pollution Control Deparment: Bangkok; 1995.
[6] Tamsanya S, Chungpaibulpatana S. Development of A Driving Cycle For The measurement of fuel consumption and exhaust emission of automobiles in Bangkok. During Peak Periods Inter national Jounal of Autamotive Technology. 2009; 10(2): 251-264.
[7] Tamsanya S, Chunpaipulpatana S. Study on the Influence of Bangkok Driving Characteristics on Exhaust Emissions and Fuel Consumption of Gasoline Passenger Car. The Joint International Conference on “Sustainable Energy and Environment (SEE)”, 2004 Dec 1-3, Hua Hin, Thailand; 2004.
[8] Tong HY, Hung WT, Cheung CS. Development of A Driving Cycle for Hong Kong. Atmospheric Environment. 1999 ; 33, 2323-2335.
[9] Tsaia JH, Chiangb HL, Hsuc YC, Penga BJ, Hungd RF. Development of a local real world drivingcycle for motorcycles for emission factor measurements. Atmospheric Environment. 2005; 39, 6631–6641.
[10] Wang Q, Huo H, He K, Yao Z, Zhang Q. Characterization of vehicle driving patterns and development of driving cycles in Chinese cities. Transportation Research Part D: Transport and Enviroment. 2008; 13, 289–297.