การพัฒนากฎการควบคุมพีไอดีสำหรับอุปกรณ์ขับเร้าแบบ เปิด/ปิด

Main Article Content

ธนา ราษฎร์ภักดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนากฎการควบคุมพีไอดีสำหรับอุปกรณ์ขับเร้าแบบ เปิด/ปิด โดยผู้วิจัยขอเรียกว่าตัวควบคุมแบบ Digital PID เพื่อออกแบบตัวควบคุมที่มีความเหมาะสมกับอุปกรณ์ที่มีการขับเร้าแบบ เปิด/ปิด โดยการนำนำมาเปรียบเทียบกับตัวควบคุมที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ คือ On/Off และ PID โดยการนำตัวควบคุมทั้ง 3 ไปควบคุมอุณหภูมิน้ำในระบบทางความร้อนแบบเปิดที่มีการไหลเวียนของน้ำอยู่ตลอดเวลา และอุปกรณ์การทำงานมีสัญญาณ เอาท์พุตเป็นแบบ ดิจิตอล แล้วเปรียบเทียบจากค่า ช่วงเวลาขึ้น  โอเวอร์ชูตสูงสุด เวลาเข้าที่ และค่าความผิดพลาด ณ สถานะอยู่ตัวของระบบ ที่ได้จากทั้ง 3  ตัวควบคุม โดยการควบคุมสัญญาณเอาท์พุต/อินพุตผ่านอุปกรณ์ UEIPAC-300 และออกแบบตัวควบคุมด้วยโปรแกรม MATLAB/Simulink จากการศึกษาพบว่า Digital PID นั้นได้ค่าโอเวอร์ชูตต่ำสุดและค่าความผิดพลาด ณ สถานะอยู่ตัว น้อยที่สุด และมีช่วงเวลาขึ้นที่ใกล้เคียงกับ ตัวควบคุมแบบ On/Off และค่าเวลาเข้าที่ใกล้เคียงกับ ตัวควบคุม PID

Article Details

How to Cite
1.
ราษฎร์ภักดี ธ. การพัฒนากฎการควบคุมพีไอดีสำหรับอุปกรณ์ขับเร้าแบบ เปิด/ปิด. featkku [อินเทอร์เน็ต]. 1 มกราคม 2017 [อ้างถึง 23 มกราคม 2025];3(1):19-24. available at: https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/176539
บท
บทความวิจัย

References

[1] Landau ID and Zito G. Digital Control Systems. Paris : Hermes-Lavoisier; 2002.

[2] Leigh JR. Applied CONTROL THEORY (2ndedition). Peter Peregrinus Ltd. : London,United Kingdom ; 1987.

[3] PID Temperature Control Manual. Germany. Siemens Ltd

[4] Podlubny I, Jiao Z and Chen YQ. Distributed - Order Dynamic Systems : Stability, Simulation, Applications and Perpectives. SpringerBriefs in Electrical and Computer Engineering : British ; (2012).

[5] Radpukdee T. Automation and Measuring Instrument. Khonkaen : Khon Kaen University; 2014.

[6] Podlubny I. Fractional-order systems and λ μ PI D controllers. IEEE Transactions on Automatic Control 1999 ; 44 : 208–214.