การหาค่าควบคุมที่เหมาะสมสำหรับเครื่องสีข้าวขาวขนาดเล็ก โดยใช้วิธีพื้นผิวตอบสนอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
เครื่องสีข้าวขาวขนาดเล็กมักจะส่งผลให้ข้าวหักเกินค่ามาตรฐานและสีข้าวได้ปริมาณต่ำ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดปริมาณข้าวที่หักและเพิ่มปริมาณข้าวที่สีได้ วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการสีข้าวขาวขนาดเล็กทำได้โดยขั้นตอนแรกสร้างเครื่องสีข้าวขาวขนาดเล็กให้สามารถควบคุมความเร็วของมอเตอร์และอัตราการป้อน จากนั้นใช้การออกแบบการทดลองแฟคทอเรียล 3k และวิธีพื้นผิวตอบสนอง เพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องที่ดีที่สุด ผลที่ได้จะเป็นดังนี้: ความเร็วรอบของมอเตอร์เท่ากับ 2087 รอบต่อนาทีและอัตราการป้อนคิดเป็นร้อยละ 83.56 ซึ่งทำให้เป็นไปได้ที่จะคาดการณ์ปริมาณของข้าวต่อนาทีมีค่าเท่ากับ 1,433 กรัมต่อนาทีและอัตราการหักของข้าวคิดเป็นร้อยละ 3.42
Article Details
วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ (FEAT Journal) มีกําหนดออกเป็นราย 6 เดือน คือ มกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี จัดพิมพ์โดยกลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมทั้งยังจัดส่ง เผยแพร่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศด้วย บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร FEAT ทุกบทความนั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2535
References
[2] บริษัท ยูเรกา อะโกร แมชชีนเนอรี่ จำกัด. เรื่อง วิสาหกิจชุมชนก้าวไกลด้วยเครื่องสีข้าว ขนาดเล็กไทยทำ. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2559].เข้าถึงได้จาก:http://www. eurekaagro.co.th/index.php/news/26-2016-05-03-06-49-54
[3] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เรื่อง หนุ่มวิศวกรรมไฟฟ้า มทร.ธัญบุรี พัฒนาเครื่องสีข้าวขนาดเล็กสำหรับใช้ในครัวเรือน. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 พฤศจิกายน2559]. [เข้าถึงได้จากhttp://www.news.rmutt.ac.th/archives/54445
[4] สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร แห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2555
[5] สุรสิทธิ์ ช่อวงศ์. การสร้างเครื่องสีข้าวกล้อง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2553; 2 : 133-143.
[6] ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ สวทช. เครื่องสีข้าวกับชุมชน, การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 11; 2558.
[7] Gan, C.Y. & Latiff, A.A. Optimization of the solvent extraction of bioactive compounds from Parkia speciosa pod using response surface methodology. Food Chemistry 2011; 124: 1277-1283.
[8] Montgomery, D.C. Design and Analysis of Experiments. 5th ed. New York: John Wiley & Sons; 2001.
[9] Myers, R.H. and Montgomery. D.G. Response Surface Methodology. 2nd ed. New York: John Wiley & Sons; 2001