การพัฒนาระบบควบคุมการบังคับเลี้ยวสำหรับรถแทรกเตอร์อัตโนมัติ

Main Article Content

Teerawat Jatuan
Chattarin Ruangchoho
Mongkol Kathapant
Kamonchanon Vongstan
Payungsak Junyusen

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบควบคุมการบังคับเลี้ยวของรถแทรกเตอร์อัตโนมัติ ค่าเกนที่เหมาะสมของตัวควบคุม PID ถูกปรับจูนโดยใช้วิธีการ Ziegler-Nichols มุมเลี้ยวของรถแทรกเตอร์ถูกวัดด้วยทรานสดิวเซอร์วัดตำแหน่ง ตัวกรองสัญญาณแบบความถี่ต่ำผ่านถูกนำมาใช้เพื่อลดสัญญาณรบกวนจากทรานสดิวเซอร์วัดตำแหน่งการทดสอบสมรรถนะของระบบควบคุมกระทำบนพื้นคอนกรีตขัดมันขณะรถแทรกเตอร์จอดติดเครื่องยนต์อยู่กับที่ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ตัวกรองสัญญาณแบบความถี่ต่ำผ่านสามารถลดสัญญาณรบกวนของทรานสดิวเซอร์วัดตำแหน่งได้ เมื่อสมรรถนะของตัวควบคุม PID ถูกนำมาเปรียบเทียบพบว่า ตัวควบคุม P สามารถบังคับเลี้ยวรถแทรกเตอร์ได้อย่างราบเรียบ ดังนั้นระบบควบคุมการบังคับเลี้ยวด้วยตัวควบคุม P สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง

Article Details

How to Cite
1.
Jatuan T, Ruangchoho C, Kathapant M, Vongstan K, Junyusen P. การพัฒนาระบบควบคุมการบังคับเลี้ยวสำหรับรถแทรกเตอร์อัตโนมัติ. featkku [อินเทอร์เน็ต]. 28 มิถุนายน 2019 [อ้างถึง 23 มกราคม 2025];5(1):1-11. available at: https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/177418
บท
บทความวิจัย

References

[1] Keicher R, Seufert H.Automatic guidance for agricultural vehicles in Europe. Computers and Electronics in Agriculture 2000;25 (1-2):169–94.

[2] Reid J F, Zhang Q, Noguchi N, Dickson M.Agricultural automatic guidance research in North America. Computers and Electronics in Agriculture 2000;25 (1-2):155–67.

[3] Torii T. Research in autonomous agricultural vehicles in Japan. Computers and Electronics in Agriculture 2000;25 (1-2):133–53.

[4] เกรียงไกร แซมสีม่วง มนูศักดิ์ จานทอง และกระวี ตรีอำนรรค. การพัฒนารถแทรกเตอร์อัตโนมัติไร้คนขับนำทางด้วยระบบ GPS สำหรับเกษตรกรรมสมัยใหม่. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย 2560; 23(1):39-54.

[5] ธีรวัฒน์ เจเถื่อน พยุงศักดิ์ จุลยุเสน คธา วาทกิจ และจรูญศักดิ์ สมพงศ์. การจำลองระบบออกแบบเส้นทางของรถแทรกเตอร์อัตโนมัติเพื่อการเลี้ยวกลับรถที่หัวแปลง.การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 17, วันที่ 22 มิถุนายน 2559, จังหวัดกรุงเทพมหานคร; 2559.

[6] ฉัตริน เรืองจอหอ ธีรวัฒน์ เจเถื่อน กมลชนน วงค์สถาน และพยุงศักดิ์ จุลยุเสน. การออกแบบชุดบังคับเลี้ยวสำหรับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก. การประชุมวิชาการวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ ครั้งที่ 5, วันที่ 14 ธันวาคม 2561, จังหวัดขอนแก่น; 2561.

[7] เอกสารประกอบการเรียนการสอน ลักษณะสมบัติของตัวควบคุม PID. (สื่อออนไลน์) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 3 มกราคม 2562].เข้าถึงได้จาก:jitkomut.eng.chula .ac.th/ ee331/6.pdf

[8] José E N, et al. Hybrid steering control for intelligent vehicle navigation.2007 IEEE International Conference on Robotics and Automation; 2007 April 10-14; Roma, Italy.

[9] ศูนย์ข้อมูลและการคาดการณ์เทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี .รายงานการคาดการณ์นวัตกรรมอุตสาหกรรม กลุ่มเกษตรแม่นยำ. (สื่อออนไลน์)[เข้าถึงเมื่อ วันที่ 3 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: stiic.sti.or.th/wp-content/uploads /2018/01/IIO _precision-farming_10.pdf

[10] Åström K, Hägglund T. PID Controllers Theory Design andTuning , 2nd ed., Research Triangle Park, NC: Instrument Society of America, 1995.

[11] กองพัน อารีรักษ์. ระบบควบคุม.นครราชสีมา:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุร-นารี; 2560.

[12] ยุทธนา กันทะพะเยา และเฉลิมพล เรืองพัฒนาวิวัฒน์. การควบคุมของเหลวโดยใช้โปรแกรม LabVIEW. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 1, วันที่ 8-10 กันยายน 2559, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ; 2559.