การลดฟลูออไรด์ในน้ำโดยใช้กระดูกวัวและก้างปลา

Main Article Content

Teerawat Laonapakul
Nirawit Sutthi
Antika Pranudta
Surapol Padungthon

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบาดาลสูงในบริเวณจังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันตก รวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศและจะเป็นอันตรายหากนำน้ำดังกล่าวมาบริโภค ปัจจุบันได้มีการศึกษาวัสดุที่มีความสามารถในการลดปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำได้จากวัสดุหลายชนิดรวมถึงถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์ ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาการสังเคราะห์ถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์จากกระดูกวัวและก้างปลาด้วยวิธีการทางความร้อน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผลึกของกระดูกวัวและก้างปลาถูกวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ โครงสร้างจุลภาคของถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่สังเคราะห์ได้จะถูกศึกษาโดยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด ถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่สังเคราะห์ได้ถูกนำมาล้างด้วยน้ำปราศจากไอออนและกรดคาร์บอนิคเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการลดปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำด้วยวิธีการแบทซ์ที่ความเข้มข้นของฟลูออไรด์ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ค่าพีเอชเท่ากับ 5 กระดูกวัวและก้างปลาเปลี่ยนโครงสร้างผลึกเป็นถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่อุณหภูมิ 400 และ 1,000 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ไฮดรอกซีอะพาไทต์จากกระดูกวัวที่ถูกล้างด้วยกรดคาร์บอนิคมีความสามารถในการลดปริมาณฟลูออไรด์สูงสุดที่ 40 % (0.8 มิลลิกรัมฟลูออไรด์/กรัม) โดยใช้ผงไฮดรอกซีอะพาไทต์ 0.5 กรัม

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] WHO, Chemical fact sheets: fluoride, Guidelines for drinking water quality: incorporation first addendum, third ed. Recommendation. 2006; 1: 375-377.

[2] Harrison P T C. Fluoride in water: A UK perspective. J. Fluorine Chem. 2005; 126: 1448-1456.

[3] Bhatnagar A, et al. Fluoride removal from water by adsorption-A review. Chem. Eng. J. 2011; 171: 811-840

[4] Medellin-Castillo NA, et al. Adsorption capacity of bone char for removing fluoride from water solution. Role of hydroxyapatite content, adsorption mechanism and competing anions. J IND ENG CHEM. 2014; 20: 4014-4021.

[5] Yu W, et al. Enhanced adsorption of fluoride from aqueous solution onto nanosized hydroxyapatitev by low-molecular-weight organic acids. Desalination 2011; 276:161-168.

[6] Laonapakul T. Synthesis of hydroxy-apatite from biogenic wastes. KKU ENGINEERING JUORNAL 2015; 42(3):269-275.

[7] Ozawa M, Suzuki S. Microstructural Development of Natural Hydroxyapatite Originated from Fish-Bone Waste through Heat Treatment. J Am Ceram Soc. 2002; 85(5):1351-1317.

[8] Huang YC, et al. Hydroxyapatite extracted from fish scale: Effects on MG63 ostedoblast-like cells. Ceram Int. 2011; 37:1825-1831.

[9] Sobczak A, et al. Evaluation of the biomedical properties of hydroxyapatite obtained from bone waste. Pol. J. Chem. Technol. 2009; 11(1):37-43.

[10] Sangeeta P, et al. Synthesis and characterization of mesoporous bone char obtained by pyrolysis of animal bone, for environmental application. J. Environ. Chem. Eng. 2015; 3:2368-2377.

[11] Asmawi R, et al. Synthesis and characterization of nanocrystalline hydroxyapatite power. lisSopyan.2013

[12] Srimurali M, et al. A study on removal of fluorides from drinking water by adsorption onto low-cost materials. Environ Pollut. 1998; 99: 285-289.