การพัฒนาระบบควบคุมสภาพแวดล้อมสำหรับการเพาะผักไมโครกรีน

Main Article Content

sahapong somwong

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการงอกและเจริญเติบโตของผักไมโครกรีนจากการเพาะแบบทั่วไปที่อาศัยคนเป็นผู้ดูแล ได้แก่ เชื้อราและศัตรูพืช อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นในดิน ปริมาณแสง คุณภาพของน้ำ เป็นต้น  ผลการศึกษานำไปสู่การออกแบบและพัฒนาระบบควบคุมปัจจัยการเจริญเติบโตแบบอัตโนมัติ โดยมีการควบคุมสภาพแวดล้อม ความชื้นในดินให้เหมาะสมตลอดการเพาะ มีการใช้แสงสองระบบคือ แสงธรรมชาติในช่วงกลางวัน และแสงจากไดโอดเปล่งแสง ย่านความถี่ 430-630 นาโนเมตรในเวลากลางคืนเป็นระยะเวลา 5 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ผักสามารถสังเคราะห์แสงเพิ่มเติมได้ในเวลากลางคืน ซึ่งวิธีการนี้ทำให้ผักเจริญเติบโตได้เร็ว มีลำต้นอวบและน้ำหนักมากกว่าการเพาะแบบปกติ  ภายในระบบมีการควบคุม 6 ปัจจัยหลัก คือ การควบคุมแสง การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ การควบคุมความชื้นในดิน และระบบควบคุมคุณภาพและอุณหภูมิของน้ำ  ระบบที่พัฒนาสามารถควบคุมอุณหภูมิสภาพแวดล้อมได้ต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ให้อยู่ในช่วงร้อยละ 65-90  ความชื้นในดินอยู่ในระดับปานกลาง (Moist) อุณหภูมิน้ำต่ำกว่า 28 องศาเซลเซียส  จากการทดลองเพาะข้าวสาลี ผักบุ้ง และทานตะวันด้วยระบบเปรียบเทียบกับการปลูกแบบทั่วไปพบว่า ผักที่เพาะด้วยระบบควบคุมปัจจัยได้ให้ผลผลิตดีกว่าการเพาะแบบทั่วไป โดยมีความยาวเฉลี่ยทั้งถาดมากกว่าแบบทั่วไปประมาณ 3.2 เซนติเมตร และความสูงของลำต้นมีความสม่ำเสมอทั่วทั้งถาดมากกว่าการเพาะแบบทั่วไป น้ำหนักเฉลี่ยจากการเพาะด้วยระบบจะมีค่ามากกว่าการเพาะแบบทั่วไปร้อยละ 70.51 และลดระยะเวลาการเก็บเกี่ยวได้ 2-3 วัน

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Treadwell D, Hochmuth R, Landrum L, Laughlin W. Microgreens: A new specialty crop (HS1164) [Internet]. Florida: Institute of Food and Agricultural Sciences, University of Florida; 2010. Available from:https://www.hort.vt.edu/ghvegetables/documents/Leafy%20Greens/Microgreens_A%20New%20Specialty%20Crop_Univ%20Florida_HS116400.pdf.

[2] Boeing H, et al. Critical review: vegetables and fruit in the prevention of chronic diseases. European Journal of Nutrition 2012; 51(6): 637-63.

[3] ธนากร น้ำหอมจันทร์ และ อติกร เสรีพัฒนานนท์. ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนเพาะปลูกพืชไร้ดินแบบทำความเย็นด้วยวิธีการระเหยของน้ำร่วมกับการสเปรย์ละอองน้ำแบบอัตโนมัติ โดยใช้ระบบควบคุมเชิงตรรกะแบบโปรแกรมได้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 2557; 8(1): 98-111.

[4] Xiao X, et al. Assessment of vitamin and carotenoid concentrations of emerging food products: edible microgreens. Journal of Agricultural and Food Chemistry 2012; 60(31): 7644-51.

[5] กรรณิกา บุญพาธรรม และดนุพล เกษไธสง, การประเมินผลผลิตและสารออกฤทธิ์ทาง ชีวภาพในผักไมโครกรีน 13 ชนิด. แก่นเกษตร. 2560; 45(1): 368-73.

[6] จิระเดช แจ่มสว่าง และวรรณวิไล อินทนู. การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดด้วยเทคนิคอย่างง่ายเพื่อใช้ควบคุมโรคเน่าระดับดินของถั่วฝักยาวที่เกิดจากเชื้อรา sclerotium rolfsii. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 40, 4-7 กุมภาพันธ์ 2545, กรุงเทพฯ; 2545.

[7] Lin H, et al. The effects of red, blue, and white light-emitting diodes on the growth, development, and edible quality if hydroponically grown lettuce.Scientia Horticulture 2013; 150: 86-91.

[8] Li H, et al. Effects of different light sources on the growth of non-heading chinese cabbage (Brassica campestris L.). Journal of Agricultural Science 2012; 4(4): 262-73.