การพัฒนาเครื่องอัดก้อนวัสดุเพาะเห็ดฟางแบบกึ่งอัตโนมัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาเครื่องอัดก้อนวัสดุเพาะเห็ดฟางแบบกึ่งอัตโนมัติมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าต้นทุนในการผลิตและควบคุมคุณภาพของก้อนวัสดุเพาะให้ใกล้เคียงกันด้วยการใช้พีแอลซีควบคุมการทำงานของเครื่อง วัสดุเพาะเริ่มต้นมีความชื้นเประมาณ 54 %wb ถูกเตรียมด้วยเครื่องย่อยให้มีขนาดเล็กประมาณ 1 cm โดยมีตัวแปรที่ทดสอบคือแรงดันกระบอกอัด 3 4 และ 5 bar วัสดุเพาะเริ่มต้น 18 kg การทดสอบ 3 ซ้ำ ซึ่งในทางทฤษฎีจะต้องได้จำนวนก้อนทั้งสิ้น 30 bags โดยมีเกณฑ์ชี้วัดคือค่าความหนาแน่นอยู่ในช่วง 0.36-0.38 g/cm3 จากการทดสอบพบว่ามวลที่บรรจุได้ มวลสูญเสียและเวลามีค่าใกล้เคียงกัน เมื่อแรงดันเพิ่มขึ้นส่งผลให้แนวโน้มของค่าความหนาแน่นเพิ่มมากขึ้นคือ 0.366±0.02, 0.371±0.02 และ 0.386±0.02 g/cm3 ตามลำดับ ค่าความสามารถในการอัดจะพิจารณาเพียงก้อนที่ผ่านเกณฑ์คือ 141±3 bag/hr, 188±2 bag/hr และ 138±3 bag/hr ตามลำดับ ในส่วนของประสิทธิภาพการอัดมีค่า 63.34%, 86.67% และ 66.67% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบแรงงานคนที่มีค่าใช้จ่าย 0.5 Baht/bag กับเครื่องอัดที่แรงดัน 4 bar ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมที่สุดในการอัดก้อนเชื้อวัสดุเพาะ มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าประมาณ 0.21 Baht/bag จึงมีผลต่างของค่าใช้จ่ายลดลงประมาณ 10,485 Baht/Month ส่งผลให้มีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 6 Month
Article Details
วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ (FEAT Journal) มีกําหนดออกเป็นราย 6 เดือน คือ มกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี จัดพิมพ์โดยกลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมทั้งยังจัดส่ง เผยแพร่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศด้วย บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร FEAT ทุกบทความนั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2535
References
Ahlawat OP,Tewari RP. Cultivation Technology of Paddy Straw Mushroom (Volvariella Volvacea). National Research Centre for Mushroom. Indian Council Agricultural Research. 2007; 213(1): 36.
Chen S, Ma D, Ge W, Buswell JA. Induction of Laccase Activity in the Edible Straw Mushroom, Volvariella Volvacea. FEMS Microbiology Letters. 2003; 218(1): 143-8.
Kamthan R, Tiwari I. Agricultural Wastes- Potential Substrates for Mushroom Cultivation. European Journal of Experimental Biology. 2017; 7(5): 31.
Kwak WS, Kim YI, Seok JS, Oh YK, Lee SM. Molasses and Microbial Inoculants Improve Fermentability and Silage Quality of Cotton Waste-Based Spent Mushroom Substrate. Bioresource Technology. 2009; 100(3): 1471–3.
Office of Agricultural Economics. Agricultural Economics News. (Internet). Press: 2019 [cited 2019 November 7]. Available from: http://www.oae.go.th/
Kwon H, Kim BS. Cultivation Modes: Bag Cultivation. Mushroom Grower’s Handbook 1: Oyster mushroom Cultivation: 2004.
Saisin K, Saisin P. Design Construction and Efficiency of Press Equipment Mushroom Cube. Vocational Education Innovation and Research Journal. 2017; 1(1): 1–6.
Singhan K, Ninlawat S, Promlung N. The Development of Compressing Mushroom Grow Machine. Journal of Innovative Technology Research. 2017; 1(1): 119–29.
Pharanat C. Automatic Sawdust Pressing Machine for Mushroom Culture. Rajabhat Maha Sarakham University Journal. 2008; 2(1): 23–8.
Nukpook K, Rattanakam S, Thaitae S, Srijumpa N, Choengaksorn C. Development of Screw Press for Packing Corn Husk Substrate in Long Polytene Bag for Mushroom Cultivation. Thai Agricultural Research Journal. 2019; 37(1): 37–47.
Nukpook K. Study Equipment for Bagging Machine from Corn Shell in Long Shape for Mushroom Cultivation. Department of Agriculture. 2017.