ผลของความดันที่มีต่อการหลุดร่วงและปริมาณน้ำมันปาล์มดิบ ในกระบวนการให้ความร้อนปาล์มน้ำมันแบบนึ่งโดยตรง

Main Article Content

Siravit Pakdeechot
Makatar Wae-hayee

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ ได้ศึกษาผลของความดันที่มีผลต่อการหลุดร่วงและปริมาณน้ำมันดิบ (CPO) ในการนึ่งทะลายปาล์มที่ใช้ในกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม ในการทดลองได้ให้ความร้อนทะลายปาล์มแบบนึ่งโดยตรงในหม้อนึ่งขนาดเล็ก ที่ระยะเวลา 45 นาที โดยควบคุมความดันที่ 1.5 bar และ 3 bar ทะลายปาล์มที่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนจะนำเข้าเครื่องแยกลูกปาล์มออกจากทะลาย เพื่อหาปริมาณการหลุดร่วงของลูกปาล์มจากทะลาย จากนั้นนำลูกปาล์มที่ได้เข้าเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มแบบสกรู เพื่อหาปริมาณน้ำมันปาล์มดิบ จากการศึกษาพบว่าที่ความดัน 1.5 bar และ 3 bar มีผลทำให้ลูกปาล์มหลุดร่วงออกจากทะลายในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ที่ 86.83% และ 87.28% ตามลำดับ และได้ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบที่ใกล้เคียงเช่นกันที่ 53.47% และ 53.84%  ตามลำดับ ซึ่งมีผลแตกต่างกันไม่เกิน 1% ดังนั้น ควรเลือกที่ความดัน 1.5 bar สำหรับใช้ในการให้ความร้อนผลปาล์มแบบนึ่งโดยตรง เนื่องจากในแง่การใช้พลังงาน ที่ความดัน 1.5 bar ใช้พลังงานน้อยกว่าที่ 3 bar

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

Jusoh JM, Rashid NA, Omar Z. Effect of Sterilization Process on Deterioration of Bleachability Index (DOBI) of Crude Palm Oil (CPO) Extracted from Different Degree of Oil Palm Ripeness. Int. J. Biosci. Biochem. & Bioinfo 2013; 3(4): 322-7.

Mahidin MR. Quality improvement in the production of Malaysian palm oil. Palm Oil Development 1998; 9: 15–21.

Sivasothy K. Palm oil milling technology. Advances in Palm Oil Research 2000; 1: 745–75.

Matthaus B. Technological innovations in major world oil crops. Oil technology 2012; 2: 23-92,

Let CC. storage and transportation of fresh fruit bunch and palm oil products. Palm Oil Technical Bulletin 1995; 1: 2–4.

Olie JJ, Tjeng TD. The Extraction of Palm Oil. The Incorporated Society of Planters, Kuala Lumpur 1974; 29–35.

Hadi S, Ahmad D, Akande FB. Determination of the bruise indexes of oil palm fruits. Journal of Food Engineering 2009; 95: 322-6.

อามีน อาลีมัลบารี มักตาร์ แวหะยี และ ชยุต นันทดุสิต. การทบทวนเอกสาร กระบวนการของการสกัดน้ำมันปาล์มในประเทศไทย. การถ่ายเทพลังงานความร้อนและมวลสารในอุปกรณ์ด้านความร้อนและกระบวนการครั้งที่ 16, 23 – 24 กุมภาพันธ์ 2560, จังหวัดเชียงใหม่; 2560

พูนสุข ประเสริฐสรรพ์ และ สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. การศึกษาและวิเคราะห์สถานภาพและ ศักยภาพของการใช้ประโยชน์จากของเสียจากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ. สำนักงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม; 2537.

Hadi AA, Mohammad AW, Takriff MS.Determination of optimum sterilization condition based on calculated heat transfer rate for palm oil mill process.ARPN Journal of Engineering and Applied Sciences 2016; 11(13): 8475-80.

Malaysian Palm Oil Board (MPOB). Fresh fruit bunch (FFB) grading manual. Kuala Lumpur; 2003.

Sukaribin N, Khalid K. Effectiveness of sterilization of palm bunch using microwave technology. Industrial Crops and Products 2009; 30(2): 179-83.

Alimalbari A, Hanifarianty S, Kumar A, Khomphet T, Eksomtramage T, Wae-hayee M. Effects of pressed palm conditions on acceleration of palm drying rate and CPO quality. Journal of Advanced Research in Fluid Mechanics and Thermal Sciences 2019; 55(1): 12-9.

Hanifarianty S, Legwiriyakul A, Alimalbari A, Nuntadusit C, Theppaya T, Wae-Hayee M. The development of rotary drum dryer for palm fruit sterilization. 8th TSME-International Conference on Mechanical Engineering, 2017 December 12-15; TSME-ICoME, Thailand; 2017

สาวิตรี คำหอม วีรชัย อาจหาญ และ ชาญชัย ทองโสภา. การศึกษาการประยุกต์ใช้เตาอบไมโครเวฟแบบสายพานในกระบวนการนึ่งปาล์มน้ำมัน. การประชุม วิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่10, 1-3 เมษายน 2552, จังหวัดนครราชสีมา; 2552.

สิรวิชญ์ ภักดีโชติ อามีน อาลีมัลบารี และ มักตาร์ แวหะยี. ผลของระยะเวลาที่มีผลต่อการหลุดร่วงและปริมาณน้ำมันดิบในกระบวนการอบแบบนึ่งโดยตรง. การถ่ายเทความร้อนและมวลในอุปกรณ์ด้านความร้อนและกระบวนการครั้งที่ 18, 20-21 มีนาคม 2562, จังหวัดกระบี่; 2562.

Chavalparit O. Clean Technology for the Crude Palm Oil Industry in Thailand [PhD Thesis]. Wageningen University; 2006.

Mahidin MR. Quality improvement in the production of Malaysian palm oil. Palm Oil Development 1998; 9: 15–21.

Sivasothy K. Palm oil milling technology. Advances in Palm Oil Research 2000; 1: 745–75.

Hadi NA, Han NM, May CY, Ngan MA. Dry Heating of Palm Oil Fruits: Effect on Selected Parameters. American Journal of Engineering and Applied Sciences 2012; 5(2): 128-31.

Eaton. Process of sterilizer 2012. [Internet]. Available from: http://www. novaflow.com.my/wpcontent/themes/ webtemp/pdf/ICEPO%202012%20Part3. pdf.

Reese CD. Industrial Safety and Health for Infrastructure Services. CRC Press Taylor and Francis Group; 2009.

Kandiah S, Basiron Y, Suki A, Taha RM, Hwa TY, Sulong M. Continuous Sterilization: The New Paradigm for Modernizing Palm Oil Milling - Journal of Oil Palm Research 2006, 144-52.

Loh TW. Innovative methods in oil processing oil palm industry. In Proceedings of the 1994 PORIM National Palm Oil Milling and Refining Technology Conference, Kuala Lumpur; 1994.

Ali FS, Shamsudina R, Yunusb R. The effect of storage time of chopped oil palm fruit bunches on the palm oil quality - Agriculture and Agricultural Science Procedia 2014; 2: 165 – 72.

สมพร พรหมดวง. การออกแบบและพัฒนาเครื่องแยกผลปาล์มน้ำมันออกจากทะลาย. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12, 17 สิงหาคม 2560, มหาวิทยาลัยรังสิต; 2560.