การประยุกต์ใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ในการควบคุมความชื้นอัตโนมัติ ในโรงเพาะเห็ด

Main Article Content

ไกรสร รวยป้อม
ร้อยทิศ ญาติเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาการประยุกต์ใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ในการควบคุมความชื้นอัตโนมัติในโรงเพาะเห็ดมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบระบบพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์และระบบควบคุมความชื้น ทดสอบกับโรงเพาะเห็ดที่มีขนาด.กว้าง.2.×.ยาว.4.×.สูง.3.เมตร.ติดตั้งระบบควบคุมความชื้นอัตโนมัติโดยใช้ระบบพ่นหมอกเป็นระบบเพิ่มความชื้น ลักษณะการควบคุมเป็นแบบ 2 ตำแหน่ง (on-off) ซึ่งรับสัญญาณจากหัววัดความชื้นแบบ IC ส่งสัญญาณควบคุมมายังชุดควบคุมความชื้นที่ทำงานอัตโนมัติ สามารถควบคุมการเพิ่มความชื้นให้กับโรงเพาะเห็ดด้วยหัวพ่นหมอก โดยผ่านรีเลย์ซึ่งใช้แหล่งพลังงานจากพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ ทดสอบโดยการตั้งค่าควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเพาะเห็ดไม่ให้ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โดยนำก้อนเห็ดใส่โรงเพาะเห็ดทั้ง 2 โรงเรือน ผลการทดสอบโรงเรือนควบคุมความชื้นอัตโนมัติมีค่าความชื้นโดยเฉลี่ย เท่ากับ 80.70 เปอร์เซ็นต์ พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์มีกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยเฉลี่ยเท่ากับ 29.42 วัตต์ กำลังไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบควบคุมโดยเฉลี่ยเท่ากับ 20.34 วัตต์ กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยเฉลี่ยเท่ากับ 1.63 แอมป์แปร์ กระแสไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบควบคุมโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1.06 แอมป์แปร์

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

จิรวุฒิ อินทรานุกูล. การสร้างโรงเรือนสวนเห็ด จิรวุฒิ. ชัยภูมิ; 2551.

ธนากร น้ำหอมจันทร์ และ อติกร เสรีพัฒนานนท์. ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนเพาะปลูกพืชไร้ดิน แบบ Evaporative Cooling System ร่วมกับการสเปรย์ละอองน้ำแบบอัตโนมัติ โดยใช้ PLC. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.2555; 8(1): 98-111.

นิติรงค์ พงษ์พานิช, วัชรพล ชยประเสริฐ, ภัทราพร สัญชาตเจตน์, อิทธิเดช มูลมั่งมี และ กฤษฏา แสงเพ็ชร์ส่อง. การพัฒนาและทดสอบระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนแบบEvaporative cooling. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 16 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8, 17 - 19 มีนาคม 2558, จังหวัดนครปฐม; 2558.

บุญยงค์ ภู่นันทพงษ์. การจัดการและควบคุมอุตสาหกรรม. ฟิสิกส์: กรุงเทพฯ; 2531.

ศุภวุฒิ ผากา, สันติ วงศ์ใหญ่ และ อดิศร ถมยา. 2557. การพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดในโรงเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. 2557; 7(1): 58-69.

Sathaya Bunratchoo. แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ (สื่อออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.klcbright.com.

ปุญณรัตน์ ภิญโญพันธ์. แบตเตอรี่สำหรับเก็บพลังงานแสงอาทิตย์และอินเวอร์เตอร์. (สื่อออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.travel-is.com.

เครื่องควบคุมการชาร์จ. (สื่อออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://solarsmileknowledge.wordpress.co.

จุฑารัตน์ เอื้อปัญจะศิลา. อุปกรณ์วัดความชื้น (สื่อออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.thaigoodview.com.

ณัฐสมุทร เอกภาพสากล และ สุรชัย รดาการ. การเพิ่มสมรรถนะของปั๊มน้ำ ด้วยอินเวอร์เตอร์เพื่อใช้ในระบบป้องกันอัคคีภัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน; 2556.

ธัญดร ออกวะลา. การคำนวณปริมาณการใช้น้ำ. ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน: นครปฐม; 2553.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานจากแผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ. สารเคมีอันตราย (สื่อออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http:/www.Thaiclinic.com/medbible/bonetumor.html.

ชาย ชีวะเกตุ และ ชนานัญ บัวเขียว. การผลิตไฟฟ้าโดยเซลล์แสงอาทิตย์. (สื่อออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www2.eppo.go.th/vrs/VRS49-09-Solar.html.

ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร. กลศาสตร์ของไหล. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่; 2541.

เอกประพันธ์ อักษรพันธ์. การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการสาธิตระบบการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2543.

พรรณวิภา อรุณจิตต์, นาวี โกรธกล้า และ ปิจิราวุช เวียงจันดา. โรงเรือนปลูกพืชควบคุมและมอนิเตอร์อัตโนมัติผ่านระบบเครือข่าย.การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 16 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8, 17 - 19 มีนาคม 2558, จังหวัดนครปฐม; 2558.