การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการขนส่งสินค้าในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม กรณีศึกษา: ศูนย์กระจายสินค้า บริษัท ABC
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ช่วยแก้ปัญหาการจัดรถขนส่งสินค้าภายใต้เงื่อนไข ความสามารถของลูกค้าในการรองรับรถขนส่งแต่ละประเภท ช่วงเวลาการรับสินค้าของลูกค้า และข้อจำกัดด้านความสามารถในบรรทุกสินค้าของรถขนส่ง ซึ่งระบบการจัดรถขนส่งในปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษาใช้วิธีการจัดโดยใช้ประสบการณ์ของพนักงาน แต่หลังจากที่วิเคราะห์ผลการจัดเส้นทางในอดีต พบว่าการมีการจัดส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกที่ไม่เหมาะสมกับปริมาณสินค้า ส่งผลให้มีต้นทุนการขนส่งสินค้าเกินความจำเป็น และไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นเส้นทางที่มีความคุ้มค่าหรือไม่ ดังนั้นจึงได้ประยุกต์ใช้วิธีการหาคำตอบด้วยตัวแบบทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีตัวชี้วัดคือ จำนวนเที่ยวรถที่น้อยลงและค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการจัดรถขนส่งในปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษาโดยใช้ประสบการณ์ของพนักงาน ผลจากการศึกษา พบว่าค่าใช้จ่ายในการขนส่งลดลงร้อยละ 5.76 และมีจำนวนเที่ยวในการจัดส่งสินค้าทั้งหมดลดลงร้อยละ 3.35 ภายใน 30 วัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ (FEAT Journal) มีกําหนดออกเป็นราย 6 เดือน คือ มกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี จัดพิมพ์โดยกลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมทั้งยังจัดส่ง เผยแพร่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศด้วย บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร FEAT ทุกบทความนั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2535
References
Rinmukda W, Phitphibun T, Srisuknam and Watthanawonwong A. A Study of The Appropriate Vehicle Routing Model to Reduce Transportation Cost: Case Study of ABC Fruit Trading Company. Panyapiwat Journal 2016; 8(3): 99-110.
Hongsuwan P, Chataraksa Wa and Chupisutikul S. Education for Increasing The Efficiency of Drinking Water Transportation Route Sumut Songkhram Province. [Master Degree Engineering Thesis]. Nakhon Pathom: Mahidol University; 2013.
พิศาล สีนวล. การใช้โปรแกรมทางคณิตศาสตร์สำหรับแก้ปัญหาจัดสรรทรัพยากรเพื่อลดเวลาในการวางแผนการผลิต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
Velarde JM, García S, López M and Bueno-Solano A. Implementation of a Mathematical Model to Improve Sustainability in the Handling of Transport Costs in a Distribution Network. Sustainability. 2020; 12(1): 63.
Qin XW, Fan YS and Yin CW. The Research on Integration and Optimization of Network Planning of Vehicle Logistics. Computer Integrated Manufacturing System. 2006; 3: 364-76.
Ma SH and Zhang XL. Logistics Capacity Constraints Based on Vehicle Logistics Plan. IE&M. 2006; 06: 15-32.
Yang W, Li T and Li Z. The Research Integration of Vehicle Logistics and Its Solution. Logistics Management. 2005; 10: 46-8.
Gao SP. The Fuzzy Optimization Algorithms and Theory of Transportation Problem. China: Xidian University; 2003.
Zhang J, Tang JF and Pang ZD. Simulation Study on The Integrated Inventory Transportation Problem of Different Transportation Modes. Journal of Northwestern University (Natural Science Edition). 2008; 04: 492-5.
น้ำมนต์ กลิ่นพลับ และ สรวิชญ์ เยาวสุวรรณไชย. แบบจำลองคณิตศาสตร์สำหรับจัดเส้นทางเดินรถขนส่งที่ความจุดไม่จำกัด กรณีศึกษา ผู้ให้บริการขนส่งอาหารแช่แข็ง. วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน. 2560; 5(1): 12-25.
Tolga Bektas. The Multiple Travelling Salesman Problem: An Overview of Formulations and Solution Procedures. Omega. 2006; 34: 209-19.
Gorenstein S. Printing Press Scheduling for Multi-Edition Periodicals. Management Science. 1970; 16(6): 373-83.
Carter AE and Rangsdale CT. Scheduling Pre-Printed Newspaper Advertising Inserts Using Genetic Algorithm. Omega. 2022; 30: 415-21.
Angel RD, Caudle WL, Noonan R and Whinston A. Computer Assisted School Bus Scheduling. Management Science. 1972; 18: 279-88.
Svestka, Joseph, Huckfeldt, and Vaughn E. Computational Experience with an m-Salesman Travelling Salesman Algorithm. Management Science. 1973; 19(7): 790-9.
วริศรา วัชรานุรักษ์ และ สรวิชญ์ เยาวสุวรรณไชย. การพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์ สำหรับการจัดเส้นทางการเดินรถ เพื่อธุรกิจค้าปลีกแบบมีกรอบเวลาและระยะเวลาเดินทางที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาของวัน. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6, 6 มิถุนายน 2561, จังหวัดสมุทรปราการ; 2561.
สวิชญ์ เธียรธำรงสุข และ ชนะ รักษ์ศิริ. การพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์สำหรับการจัดตารางรถบรรทุกเพื่อใช้อัตราการหมุนรถและการใช้ประโยชน์ของรถที่ดีที่สุด. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต ศรีราชา, 28 สิงหาคม 2563, จังหวัดชลบุรี; 2563.
Hitchcock FL. The Distribution of a Product from Several Sources to Numerous Localities. Journal of Mathematics and Physics. 1941; 20: 224-30.
Benavent E, Landete M, Salazar-González J-J, and Tirado G. The Probabilistic pickup-and-delivery travelling salesman problem. Expert Systems with Applications. 2019; 121: 313–23.
Miranda PA, Blazquez CA, Obreque C, Maturana-Ross J and Gutierrez-Jarpa G. The bi-objective insular traveling salesman problem with maritime and ground transportation costs. European Journal of Operational Research. 2018; 271(3): 1014-36.
ไพฑูรย์ ศิริโอฬาร. การลดต้นทุนการขนส่ง โดยการจัดเส้นทางพาหนะที่เหมาะสม กรณีศึกษา ธุรกิจเครื่องดื่มชานม. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 2557; 5(ฉบับพิเศษ): 272-9.
Puchongkawarin C and Ransikarbum K. An Integrative Decision Support System for Improving Tourism Logistics and Public Transportation in Thailand. Tourism Planning & Development. 2021; 18(6), 614-29