การศึกษาสมบัติเชิงกลของต้นข้าวโพดเพื่อออกแบบเครื่องสับต้นข้าวโพด

Main Article Content

ชัยณรงค์ หล่มช่างคำ
ชัยยันต์ จันทร์ศิริ
ประยูร จอมหล้าพีรติกุล
อาภาภรณ์ จอมหล้าพีรติกุล
เดชาวัต มั่นกลาง
ประสิทธิ์ โสภา

บทคัดย่อ

การศึกษาสมบัติเชิงกลของต้นข้าวโพดมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของการรับแรงสับเฉือนของลำต้นข้าวโพด เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานและแนวทางในการออกแบบและสร้างเครื่องสับต้นข้าวโพดเพื่อเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งปัจจัยในการทดสอบประกอบด้วย แรงสับเฉือนสูงสุด ความเค้นเฉือนสูงสุด และพลังงานสับจำเพาะสูงสุด ที่มีมุมคมของใบมีดสับ จำนวน 5 ใบมีด มีมุมคมแต่ละใบ คือ 30O 40O 50O 60O และ 70O โดยกำหนดอัตราการเคลื่อนที่ของใบมีดสับ 5 ระดับ คือ 10 20 40 60 และ 100 mm/min ตามลำดับ จากผลการทดสอบพบว่า แรงสับเฉือนสูงสุด ความเค้นเฉือนสูงสุด และพลังงานสับจำเพาะสูงสุด ในการสับลำต้นข้าวโพดพันธุ์ข้าวเหนียวม่วงแต้มมีค่าสูงกว่าพันธุ์ข้าวเหนียว และแรงสับเฉือนสูงสุดของใบมีดสับที่ทำมุม 30O ในทุกอัตราการเคลื่อนที่ของใบมีดสับจะใช้แรงสับเฉือนสูงสุด ความเค้นเฉือนสูงสุด และพลังงานสับจำเพาะสูงสุด น้อยกว่าทุกมุมคมของใบมีดสับ และยังพบว่าเมื่อเพิ่มอัตราการเคลื่อนที่ของใบมีดสับในทุกมุมใบมีดสับที่ทำการทดสอบจะมีแนวโน้มของแรงสับเฉือนสูงสุด ความเค้นเฉือนสูงสุด และพลังงานสับจำเพาะสูงสุดลดลง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 507.28±10.15 N 30.18±10.76 MPa และ 57.05±8.82 mJ/mm2

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2563/64. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (สื่อออนไลน์). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึง ได้จาก: http://www.oae.go.th

รุ่งเรือง กาลศิริศิลป์, ณพล เหลืองพิพัฒน์สร และ จตุรงค์ ลังกาพินธุ์. การออกแบบและสร้างเครื่องย่อยและอัดหญ้าอาหารสัตว์สำหรับเกษตรกรรายย่อย. วารสารวิจัย มทร.ธัญบุรี. 2562; 18(1): 40-51.

มงคล ตุ่นเฮ้า, กลวัชร ทิมินกุล และ รังสิทธิ์ ศิริ มาลา. ออกแบบและพัฒนาเครื่องหั่นย่อยต้นถั่วลิสง. วารสารแก่นเกษตร. 2554; 39(3): 60-5.

ชัยณรงค์ หล่มช่างคำ, ประสิทธิ์ โสภา, ประยูร จอมหล้าพีรติกุล, อาภาภรณ์ จอมหล้าพีรติกุล และ เดชาวัต มั่นกลาง. ทดสอบและประเมินผลปัจจัยของใบมีดสับที่เหมาะสมสำหรับสับหญ้าเนเปียร์เพื่อผลิตอาหารสัตว์. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 8, 29 พฤษภาคม 2564, จังหวัดขอนแก่น; 2564.

Womac AR, Igathinathane C and Hayes D. Shearing charac-teristics of biomassfor size reduction. paper presented in An ASAE meeting presentation; 2005.

Persson S. Mechanics of Cutting Plant Material. American Society of Agricultural Engineers: USA; 1987.

รังสรรค์ กุฎสำโรง และ วินัย กล้าจริง. การศึกษาสมบัติเชิงกลของต้นมันสำปะหลัง. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16 และระดับนานาชาติครั้งที่ 8, 17-19 พฤษภาคม 2558. กรุงเทพฯ; 2558.

Chattopadhyay PS, Pandey KP. Mechanical properties of sorghum stalk in relation to quasi static deformation. Journal of Agricultural Engineering Research. 1999; 73: 199-206.

Lomchangkum C, Junsiri C, Sudajan S, and Laloon K. A Study on the Mechanical Characteristics of Cassava Tuber Cutter. International Journal of Agricultural Technology 2020; 16(1): 63-76.