การประเมินความคุ้มค่าของการจัดเก็บอะไหล่สำหรับหน่วยผลิตคอนกรีตผสมเสร็จด้วยวิธีวิเคราะห์ความสำคัญแบบ ABC และวิธีวิเคราะห์สัดส่วนต้นทุน

Main Article Content

พิชญะ ธรรมวิรัตน์
เกียรติฟ้า ตั้งใจจิต
ศิโรรัตน์ พัฒนไพโรจน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์วิธีการวิเคราะห์ความสำคัญแบบ ABC และวิเคราะห์สัดส่วนต้นทุนกับการจัดเก็บอะไหล่เครื่องจักรของหน่วยผลิตคอนกรีตผสมเสร็จภายในประเทศไทย เพื่อป้องกันการหยุดเครื่องจักรโดยไม่ได้วางแผน อันเป็นผลมาจากสาเหตุของการไม่มีอะไหล่จัดเก็บอยู่ภายในหน่วยผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ โดยเริ่มดำเนินการสำรวจข้อมูลเครื่องจักรที่มีขนาดและยี่ห้อที่ถูกใช้งานมาก รวบรวมข้อมูลอะไหล่ของเครื่องจักร วิเคราะห์ความสำคัญของอะไหล่ตามเกณฑ์ และนำมาวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการจัดเก็บอะไหล่จากการประเมินค่าความเสียหายเนื่องจากไม่มีอะไหล่จัดเก็บเปรียบเทียบกับต้นทุนในการจัดเก็บอะไหล่ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับการจากศึกษาวิจัยนี้ คือสามารถจำแนกอะไหล่ที่มีความคุ้มค่าในการจัดเก็บ ผลการศึกษาพบว่ามีอะไหล่จำนวน 52 รายการ หรือร้อยละ 29 ของอะไหล่ทั้งหมด เป็นอะไหล่ที่มีค่าสัดส่วนต้นทุน มากกว่า 1.00 ซึ่งเป็นอะไหล่กลุ่มที่ถูกประเมินให้เป็นอะไหล่ที่คุ้มค่าในการจัดเก็บในหน่วยผลิต และสามารถใช้เป็นแนวทางประยุกต์ใช้กับเครื่องจักรกลขนาดอื่น ๆ รวมถึงงานด้านงานวิศวกรรมอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น อู่ซ่อมรถยนต์ เครื่องจักรกลสำหรับบรรจุบรรจุภัณฑ์ หรือเครื่องจักรกลด้านการเกษตร เป็นต้น

Article Details

How to Cite
1.
ธรรมวิรัตน์ พ, ตั้งใจจิต เ, พัฒนไพโรจน์ ศ. การประเมินความคุ้มค่าของการจัดเก็บอะไหล่สำหรับหน่วยผลิตคอนกรีตผสมเสร็จด้วยวิธีวิเคราะห์ความสำคัญแบบ ABC และวิธีวิเคราะห์สัดส่วนต้นทุน. featkku [อินเทอร์เน็ต]. 23 มิถุนายน 2023 [อ้างถึง 23 มกราคม 2025];9(1):65-74. available at: https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/248738
บท
บทความวิจัย

References

ฆนนัช พระพุทธคุณ และ ธีรเดช วุฒิพรพันธ์. การศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมของปัจจัยที่ใช้ในกระบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 2554; 21(12): 313-20.

ชมพูนุท เกษมเศรษฐ์, ศิวัช ปริญญาเมธี และธีรโชติ สกุลศึกษาดี. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการจัดการสินค้าคงคลังสําหรับโรงงานผลิตภัณฑ์เบเกอรี่. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. 2557; 4(11): 12-26.

ธงชัย วุฒิจันทร์ และ ปวีณา เชาวลิตวงศ์. การปรับปรุงระบบจัดการอะไหล่ในโรงงานบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษ. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ครั้งที่ 10, 6-7 ธันวาคม 2556, จังหวัดนครปฐม; 2556.

หัสนัย สำเร็จ, ศักดิ์ชาย รักการ, ปพน สีหอมชัย และอนัญญา จินดาวัฒนะ. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดการคลังอะไหล่ กรณีศึกษา: ธุรกิจงานซ่อมเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต. 2557; 4(11): 28-40.

ปริญญา จันทรวินิจ และ ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ. การปรับปรุงระบบการคงคลังอะไหล่สําหรับเครื่องจักรการผลิต. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา. 2556; 24(11): 58-66.

วัฒนา เชียงกูล, ดลดิษฐ์ เมืองแมน และ เกรียงไกร ดำรงรัตน์. การจัดการงานบำรุงรักษาด้วย Reliability. SE-EDUCATION PCL.: กรุงเทพ; 2553.

สุจิตรา อดุลย์เกษม, อภิรัตน์ สุวรรณเพ็ชร์, นิชาภัทร ผ่องใส และ อรวรรณ เชาวลิต. ต้นแบบระบบการควบคุมและจัดการเครื่องจักรและอะไหล่เครื่องจักร: กรณีศึกษาโรงงานผลิตน้ำตาล. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University. 2558; 2(12): 89-101.

พรศิริ คำหล้า, เจษฎา ยาโสภา, ธัญญารัตน์ ไชยกำบัง, ปิยณัฐ โตอ่อน, รัชฎา แต่งภูเขียว ณัฐนันท์ อิสสระพงศ์ และคณะ. การศึกษาเวลามาตรฐานในกระบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จด้วยการจับเวลาโดยตรง. Industrial Technology Journal. 2564; 6(12): 41-51.

ศุภกร รัตนบวร และ ธารชุดา พันธ์นิกุล. การพิจารณาทางเลือกในการเพิ่มพื้นที่จัดเก็บสินค้าโดยใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2558; 8(12): 48-61.