การใช้ FMEA เพื่อลดของเสียในอุตสาหกรรมการฉีดขึ้นรูปพลาสติก : กรณีศึกษาบริษัท AB จำกัด
คำสำคัญ:
ลดของเสีย, การฉีดขึ้นรูปพลาสติก, วิเคราะห์ลักษณะสาเหตุและผลกระทบบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการขึ้นรูปพลาสติกแบบฉีด (Injection Molding) 2) เพื่อวิเคราะห์และหาสาเหตุของปัญหา และลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการขึ้นรูปรูปพลาสติกแบบฉีด (Injection Molding) 3) ลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากกระบวนการขึ้นรูปและเพิ่มผลผลิตจากการลดของเสีย ผลการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์ลักษณะของสาเหตุด้วยแผนภาพพาเรโตและแผนภาพสาเหตุและผลแสดงพบว่าผลิตภัณฑ์เกิดการเสียหายจากจุดดำหรือจุดสีที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต และจากการวิเคราะห์ปัญหาด้วยเทคนิค FMEA พบว่า ก่อนการปรับปรุงกระบวนการผลิตมีค่าเฉลี่ย RPN อยู่ที่ 155.75 คะแนน และหลังการปรับปรุงกระบวนการผลิตมีค่าเฉลี่ย RPN อยู่ที่ 17.50 คะแนน มีค่าลดลงถึง 138.25 คะแนน และปัญหาหลักที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตเกิดจากการทำความสะอาดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ไม่สะอาดเพียงพอ และผู้ปฏิบัติงานยังไม่เข้าใจขั้นตอนในการทำความสะอาดและการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ ส่งผลให้เกิดผง ฝุ่น และเศษเหลือของวัตถุดิบที่ค้างอยู่ ทำให้เกิดจุดดำหรือจุดสีบนผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิต หลังจากได้ทำการปรับปรุงกระบวนการผลิตสามารถลดของเสียที่เกิดขึ้นได้ถึงร้อยละ 99.455 และสามารถลดต้นทุนที่เกิดจากของเสียได้ถึง 776,540 บาท
References
Butrkumchotiporn, S., Ngamsa-ard, W., Buranaprap, P., & Kaewsai, A. (2021). Process Improvement of Plastic Forming by Using Failure Mode and Effect Analysis Technique Case Study GP Company. Journal of Science and Technology, Southeast Bangkok College, 1(3), 30-44.
Choobthaisong, S., & Kanchana, R. (2020). Reducing Defectives in Plastic Injection Process of Telephone Part by Design of Experiment. SWU Engineering Journal, 15(3), 17-31.
Kaewchur, P., Klunngien, J., Ketsarapong, P., Keaitnukul, W., Sritong, C., & Rungsankasem, A. (2011). Effect Analysis in Attach Velvet Powder Process, Kasem Bundit Engineering Journal, 1(2), 43 -57.
Mikulak, R. J., McDermott, R., Beauregard, M. (2017). The Basics of FMEA. United States: Taylor & Francis.
Ratchadakorn, P., & Klomjit, P. (2022). Operational risk analysis: case study of plastic bag manufacturer. Journal of Engineering and Innovation, 15(4), 120-128.
Reda, H., & Dvivedi, A. (2022). Decision-making on the selection of lean tools using fuzzy QFD and FMEA approach in the manufacturing industry. Expert Systems with Applications, 192, 116416.
Stamatis, D. H. (2003). Failure Mode and Effect Analysis: FMEA from Theory to Execution. Germany: ASQ Quality Press.
Woawichai, C., Jaichomphu, P., Chailungkarn, T., & Kanchanaruangrong, N. (2020). Work Method Improvement in Plastic Part Packaging: A Case Study of Motorcycle Part Production Company. Kasem Bundit Engineering Journal, 10(2), 148-163.