ใช้การอ้างอิงแบบ IEEE Style มีวิธีการดังนี้

  1. ใส่ตัวเลขกำกับไว้ในเครื่องหมาย [ ] ท้ายข้อความหรือชื่อบุคคลที่อ้างอิง โดยให้ตัวเลขอยู่ในระดับบรรทัดเดียวกันกับเนื้อหา เช่น [1]
  2. ให้ใส่ตัวเลขอ้างอิงเรียงลำดับตั้งแต่เลข 1 เป็นต้นไป ต่อเนื่องกัน และในกรณีที่มีการอ้างอิงซ้ำให้ใช้ตัวเลขเดิมที่เคยใช้อ้างมาก่อนแล้ว
  3. แหล่งที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดในเนื้อหาจะไปปรากฏอยู่ในบรรณานุกรม โดยการเรียงลำดับตามหมายเลข และพิมพ์หมายเลขอยู่ในเครื่องหมาย [ ]
  4. กรณีที่อ้างอิงเอกสารหลายรายการในคราวเดียวกัน
    • อ้างอิงไม่เกิน 2 รายการให้ใส่หมายเลขของเอกสารที่อ้างเรียงลำดับโดยใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่น เช่น [1, 2] หรือ [1, 5]
    • อ้างอิงเกิน 2 รายการและเป็นรายการที่ต่อเนื่องกันให้ใส่หมายเลขของเอกสารที่อ้างเรียงลำดับโดยใส่เครื่องหมายยัติภังค์ (-) คั่น เช่น [1-3] หรือ [1-5]
    • อ้างอิงเกิน 2 รายการและเป็นรายการทั้งต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง ให้ใส่หมายเลขของเอกสารที่อ้างเรียงลำดับโดยใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นในกรณีไม่ต่อเนื่อง และเครื่องหมายยัติภังค์ (-) คั่นในกรณีต่อเนื่อง เช่น [1, 4-5]
  5. ชื่อผู้แต่ง

5.1    ไม่ต้องลงคำนำหน้า ตำแหน่งวิชาการ คำเรียกทางวิชาชีพ ยศทางทหารและตำรวจ

5.2    ชื่อผู้แต่งชาวไทยเขียนเป็น ชื่อ นามสกุล

5.3    ชื่อผู้แต่งชาวต่างชาติเขียนเป็น อักษรย่อของ ชื่อต้น ชื่อรอง, นามสกุล รวมถึงผู้แต่งชาวไทยที่เขียนบทความเป็นภาษาอังกฤษ

5.4    ผู้แต่งมากกว่า 6 คนขึ้นไป ให้ลงผู้แต่งคนแรกแล้วตามด้วย และคณะ หรือ et al.

  1. ชื่อเรื่อง ชื่อหนังสือ ชื่อวารสาร ชื่อวิทยานิพนธ์ ใช้ตัวเอียง

 

ตัวอย่างการอ้างอิงหนังสือ

รูปแบบภาษาไทย               [#] ชื่อผู้แต่ง, ชื่อหนังสือ, ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์, หน้า.

รูปแบบภาษาอังกฤษ           [#] J. K. Author. Title of Book, ed. City of Publisher: Publisher, Year, Pages.

 

  • สุพักตร์ พิบูลย์, กลยุทธ์การวิจัยเพื่อพัฒนางานวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จตุพรดีไซน์, 2547, 45-52.
  • Gilbert, Cities Proverty and Development Urbanization in the Third Word, London: Oxford University Press, 1982, 48-50.

 

ตัวอย่างการอ้างอิงจากการประชุมวิชาการ

รูปแบบภาษาไทย               [#] ชื่อผู้แต่ง, “ชื่อบทความ,” ใน ชื่อการประชุมวิชาการ, ชื่อสถานที่จัดงาน, วัน เดือน ปีที่จัด, หน้า.

รูปแบบภาษาอังกฤษ           [#] Author, “Title of paper,” in Title of Conference, City, Country of Conference, Month Date, Year, Pages number.

 

  • นิตยา เงินประเสริฐศรี, “ผลกระทบของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของขนาดรู Orifice และ Nozzle ต่อคุณสมบัติการวัดของแอร์เกจ,” ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28 (MENETT 28), จังหวัดขอนแก่น, 15-17 ตุลาคม 2557, น. 45-47.
  • S. Müller, D. Bermbach, Tai, and F. Pallas, “Benchmarking the Performance Impact of Transport Layer Security in Cloud Database Systems,” in Cloud Engineering (IC2E) 2014 IEEE International Conference, Boston, Massachusetts, 2014, pp. 27-36.

 

ตัวอย่างการอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์

รูปแบบภาษาไทย                        [#] ชื่อผู้แต่ง, “ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์,” วิทยานิพนธ์ ชื่อย่อปริญญา (สาขา), ชื่อมหาวิทยาลัย, ชื่อเมือง, ชื่อประเทศ, ปีที่พิมพ์.

รูปแบบภาษาอังกฤษ           [#] J. K. Author, “Title of dissertation,” Ph.D. dissertation, Department, University, City of University, State, year.

                                      [#] J. K. Author, “Title of Thesis,” M.S. thesis, Department,

                                      University, City of University, State, year.

 

  • กอเซม มะแซ, สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี,” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา, 255
  • W.Nickel, The Relationship between IT-Business Alignment and Organizational Culture: An Exploratory Study,” Doctoral Dissertation, University of Memphis, Tennessee, United State, 2005.

ตัวอย่างการอ้างอิงจากเว็บไซต์

รูปแบบภาษาไทย              [#] ชื่อผู้แต่ง, “ชื่อเรื่อง,” ชื่อเว็บไซต์ (ถ้ามี) [ออนไลน์]. เว็บไซต์: http://... (เข้าถึงเมื่อ: วัน เดือน ปี).

รูปแบบภาษาอังกฤษ         [#] J. K. Author, “Page title.” Website title. [Online]. Available :Web Address (accessed date retrieved).

 

  • CNN Wire Staff, “The Session Initiation Protocol - The Internet Protocol.” [Online]. Available: http://www.cnn.com (Accessed: July. 10, 2011).
  • อนุรักษ์ โชติดิลก, ตัวแบบการพัฒนาผู้นำที่เหมาะสมในสถานการณ์วิกฤติ, [ออนไลน์]. Available: https://www.tci-thaijo.org (เข้าถึงเมื่อ: 2 สิงหาคม 2561).

 

ตัวอย่างการอ้างอิงจากวารสาร

รูปแบบภาษาไทย              [#] ชื่อผู้แต่ง, “ชื่อบทความ,” ชื่อวารสาร, ปีที่, ฉบับที่, หน้า, เดือน, ปี.

รูปแบบภาษาอังกฤษ           [#] J. K. Author, “Title of Article,” Title of Journal, Volume, Issue, Pages. Month. Year.

 

[9]  นิตยา เงินประเสริฐศรี, “องค์การแนวนอน,” วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ปีที่ 27, ฉบับที่ 15, หน้า 37-42, มกราคม-มิถุนายน, 2554.

[10] J. R. Beveridge and E. M. Riseman, “How easy is matching 2D line models using local search?,” IEEE Transactions on Pattern Analysis and Machine intelligence, vol. 19, no. 6, pp. 564-579, June 1997.