การเพิ่มความแม่นยำของโปรแกรมระบุตำแหน่งเป้าหมายบนภูมิประเทศจากอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กแบบ 4 ใบพัด ด้วยเลเซอร์วัดระยะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอวิธีการเพิ่มความแม่นยำในการระบุตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ของเป้าหมายภาคพื้นดินที่เราสนใจ จากอากาศยานไร้คนขับ ด้วยเลเซอร์วัดระยะ โดยการนำข้อมูลตำแหน่งพิกเซลของภาพเป้าหมาย(pixel location) ตำแหน่งพิกัดของอากาศยานไร้คนขับ(GPS location) ความสูงของอากาศยาน(altitude) ท่าทางการบิน(attitude) มุมของกล้องที่ติดตั้งอยู่บนอากาศยานไร้คนขับ และระยะจากกล้องถึงเป้าหมายที่สนใจ มาทำการประมาณค่าตำแหน่งพิกัดของเป้าหมายภาคพื้นดิน แล้วทำการทดสอบความถูกต้องของสมการด้วยโปรแกรม MATLAB จากนั้นจึงทำการพัฒนาโปรแกรมระบุพิกัดเป้าหมายด้วยภาษา C++ และทำการทดสอบระบุพิกัดเป้าหมายจริงกับอากาศยานไร้คนขับแบบ 4 ใบพัด ผลการทดสอบแสดงถึงความแม่นยำในการระบุพิกัดเป้าหมายจากอากาศยานไร้คนขับซึ่งมีค่าความผิดพลาดน้อยกว่า 10 เมตร
Article Details
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ก่อนเท่านั้น
References
Beard & McLain, “Small Unmanned Aircraft,” Princeton University Press, 2012.
Eldredge, A. M. (2006). Improved state estimation for miniature air vehicles. Master’s thesis, Brigham Young University.
D. Blake Barber, “Vision-based Target Geo-location using a Fixed-wing Miniature Air Vehicle”, 2006.
Wikipedia. (2019). Latitude. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Latitude [2562, กรกฎาคม 20]
Ma, Y., Soatto, S., Kosecka, J., and Sastry, S. S. (2003). An Invitation to 3-D Vision from Images to Geometric Models. SpringerVerlag, New York, USA.
SparkFun Electronics. (2019). LIDAR – Lite v3 Hookup Guide. [ออนไลน์]เข้าถึงได้จาก http://Learn.sparkfun.com/tutorials/lidar-lite-v3-hookup-guide/all [2562, กรกฎาคม 20]
Trucco, E. and Verri, A. (2002). Introductory Techniques for 3-D Computer Vision. Prentice-Hall, New Jersey, USA.
นักเรียนนายเรืออากาศณัฐพล ทัศนพิมล, นักเรียนนายเรืออากาศปรัชญาวัต มั่งคั่ง, “การพัฒนาโปรแกรมระบุตำแหน่งเป้าหมายบนภูมิประเทศจากอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กด้วยระบบการภาพ”, โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช, 2018.