วิธีตาข่ายสองมิติที่ปรับปรุงแล้วชนิดใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิธีตาข่ายสองมิติของ เฮสและสมิทธ์ เป็นวิธีดั้งเดิมที่ใช้ประมาณค่าสัมประสิทธิ์แรงยกของแพนอากาศ ได้แต่ความถูกต้องของผลลัทธ์ในย่านมุมปะทะค่าสูงยังมีค่าต่างไปจากค่าที่ได้จากการทดลองเป็นอย่างมาก ต่อมาได้มีการพัฒนาวิธีตาข่ายสองมิติขึ้นใหม่โดยใช้เพียงการกระจายแบบเชิงเส้นของความเข้มกระแสวนเท่านั้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นวิธีตาข่ายชนิดอันดับที่หนึ่ง และให้ผลเฉลยที่ดีกว่าของวิธีดั้งเดิม แต่วิธีที่สองนี้ยังไม่ได้คำนึงถึงผลของการกระจายความเข้มแหล่งกำเนิดเลย ดังนั้นวิธีตาข่ายชนิดอันดับที่หนึ่ง วิธีใหม่ที่ใช้ทั้งการกระจายแบบคงที่ของความเข้มแหล่งกำเนิดและการกระจายแบบเชิงเส้นของความเข้มกระแสวนจึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการไหล ที่ไหลผ่านแพนอากาศ การเปรียบเทียบวิธีตาข่ายสองมิติทั้งสามวิธีข้างต้น จะใช้ทั้งแพนอากาศของ NACA ชนิด 4 ตัวเลข ชนิด 5 ตัวเลข และชนิด 6 ตัวเลข ซึ่งประกอบด้วย แพนอากาศแบบสมมาตรคือ NACA 0009 และ NACA 0012 แพนอากาศแบบอสมมาตรคือ NACA 2410 และ NACA 23015 รวมทั้ง NACA 65210 ผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า วิธีตาข่ายชนิดอันดับที่หนึ่งชนิดที่ใช้ทั้งการกระจายแบบคงที่ของความเข้มแหล่งกำเนิดและการกระจายแบบเชิงเส้นของความเข้มกระแสวนให้ค่าตัวแปรทางอากาศพลศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับค่าจากการทดลองมากกว่าวิธีอื่น
คำสำคัญ: วิธีตาข่ายสองมิติ ความเข้มแหล่งกำเนิดแบบคงที่ ความเข้มกระแสวนแบบเชิงเส้น วิธีตาข่ายชนิดอันดับที่หนึ่ง และ แพนอากาศของ NACA
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ก่อนเท่านั้น
References
Abbott I H, Doenhoff A E, Theory of wing sections, Dover Publications Inc, New York, 1959.
Bertin, J.J., and Smith, M.L., Aerodynamics for Engineers,Prentice-Hall, Inc., Englewood Cliffs, 2nd Ed., 1989
J.D. Anderson. “FUNDAMENTALS OF AERODYNAMICS”, McGraw Hill, New York, USA ,2001
Katz J, Plotkin A, Low Speed Aerodynamics - Second edition, Cambridge University Press, New York, 2001.
Moran, J. An Introduction to Theoretical and ComputationalAerodynamics, John Wiley &Sons, New York, 1984.
W.H. Meson Incompressible Potential Flow Using Panel Methods, available online[http://www.dept.aoe.vt.edu>Mason >ConfigAero] accessed December 20, 2018