แบบจำลองภาพเสมือนจริงเพื่อประเมินสมรรถนะของระบบส่องสว่างภายในอาคาร

Main Article Content

อโศก ศรีทองธรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้นำเสนอเทคนิคการจำลองภาพเสมือนจริงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Dialux 4.12 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะของระบบส่องสว่างภายในอาคารโดยเปรียบเทียบ ค่าความสว่าง ค่าความหนาแน่นกำลังไฟฟ้าส่องสว่าง และค่าความสม่ำเสมอของแสง จาก 2 พื้นที่ตัวอย่าง  ซึ่งควบคุมการกระจายแสงแตกต่างกันจากดวงโคมไฟฟ้า 2 แบบ พื้นที่ตัวอย่างที่ 1 ติดตั้งดวงโคมไฟฟ้าขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร จำนวน 9 ชุด  พื้นที่ตัวอย่างที่ 2 ติดตั้งดวงโคมไฟฟ้าขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร จำนวน  20 ชุด จากผลการจำลองภาพเสมือนจริงใน 2 พื้นที่ตัวอย่าง พบว่า ค่าความสว่าง และค่าความหนาแน่นกำลังไฟฟ้าส่องสว่างมีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ในขณะที่ค่าความสม่ำของแสง พื้นที่ตัวอย่างที่ 2 มีค่าเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานเพียงพื้นที่เดียว ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มสมรรถนะของระบบส่องสว่างจากผลการจำลองภาพเสมือนจริงเฉพาะในพื้นที่ตัวอย่างที่ 2 โดย ปรับลดค่าความสว่าง และ ค่าความหนาแน่นกำลังไฟฟ้าส่องสว่างที่มีค่า สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยการลดจำนวนดวงโคมไฟฟ้าลง 50 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ค่าความสม่ำเสมอของแสงไม่น้อยกว่า 0.40 ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อระบบส่องสว่างของพื้นที่ตัวอย่างลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 129,800 วัตต์ต่อชั่วโมง เป็น 64,900 วัตต์ต่อชั่วโมง จะเห็นว่า การประยุกต์ใช้เทคนิคการจำลองภาพเสมือนจริงเพื่อการออกแบบขั้นหลักการ และการปรับปรุงงานด้านวิศวกรรมส่องสว่างเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีเพื่อให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และสามารถใช้ประโยชน์จากผลของการจำลองเป็นข้อมูลในการปรับปรุงระบบส่องสว่างต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
ศรีทองธรรม อ., “แบบจำลองภาพเสมือนจริงเพื่อประเมินสมรรถนะของระบบส่องสว่างภายในอาคาร”, NKRAFA J SCI TECH, ปี 17, ฉบับที่ 1, น. 47–59, มิ.ย. 2021.
บท
บทความวิจัย

References

[1] J.E. Kaufman . (1981). IES Lighting Handbook (1981Reference Volume). New York: Illuminating Engineering Society.
[2] สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย. (2559). คู่มือแนวทางการออกแบบการส่องสว่างภายในอาคาร. กรุงเทพฯ: สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย.
[3] กฎกระทรวง. (2549). มาตรฐานในการบริหาร และการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่างและเสียง. สืบค้น 20 ตุลาคม 2563, จาก: http://www3.mol.go.th/content/63186/1505802871
[4] กฎกระทรวง. (2537). พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537). สืบค้น 15 ตุลาคม 2563, จาก:https://download.asa.or.th/03media/04law/cba/mr/mr37-39.pdf
[5] กฎกระทรวง. (2552). กำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552. สืบค้น 10 ตุลาคม 2563, จาก: https://www.dede.go.th/download/energysaving58/20_2552.pdf
[6] กฎกระทรวง. (2562). ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง. สืบค้น 10 ตุลาคม 2563, จาก: http://library.rsu.ac.th/greenoffice/law/law4_2.pdf
[7] เจริญ คันธวงศ์. (2555). การจัดการอาคารสำนักงานเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน กรณีศึกษา อาคารเจริญ คันธวงศ์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ.
[8] ประภาศิลป์ อเนกสุวรรณมณี. (2555). การศึกษาความคุ้มค่าของโครงการเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน กองดุริยางค์ทหารบก. (ปริญญานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปทุมธานี).
[9] อวิรุทธ์ ศรีสุธาพรรณ. (2552). The Assessment of Building Energy Performance: Thammasat University, Rangsit Campus. Journal of Architectural/Planning Research and Studies. (1)6: 13-30.
[10] ศิวาวุธ ปิ่นอ่อน. (2553). การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าแสงสว่างพื้นที่ภายในและภายนอกอาคารศูนย์การค้าชุมชน : กรณีศึกษา ศูนย์การค้าลาวิลล่า. (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
[11] วัลลภ ภูผา และคณะ. (2556). การศึกษาโคมไฟฟ้าแสงสว่างด้วยระบบพลังงานแบบผสมผสาน. ใน: การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5(657- 660). ประจวบคีรีขันธ์: เครือข่ายวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.