การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเซลลูลาร์ ในการติดตามอากาศยานสำหรับการค้นหาและช่วยชีวิต

Main Article Content

ชัญญาวัจน์ สถิตภัทรสมบัติ
ภูมิพัฒน์ ดวงกลาง

บทคัดย่อ

การใช้เรดาร์เพื่อการตรวจจับอากาศยานที่ระดับต่ำนั้นมีข้อจำกัดในเรื่องการบดบังของภูมิประเทศ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถทราบพิกัดที่แน่นอน ในกรณีเกิดเหตุการณ์ที่อากาศยานขาดการติดต่อที่ระยะต่ำ หรือเกิดอุบัติเหตุอากาศยานตก จึงส่งผลให้ชุดค้นหาและช่วยชีวิตต้องทำการค้นหาในพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง  ส่งผลให้การค้นหาใช้เวลานาน ล่าช้า และไม่ทันการณ์  ดังนั้น การติดตามตำแหน่งของอากาศยานและยานพาหนะทางยุทธการของกองทัพอากาศที่เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ยุทธการ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องติดตาม ตรวจการณ์ และเฝ้าระวังตลอดเวลา


จากปัญหาข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้มีแนวคิดประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการติดตามอากาศยานและยานพาหนะทางยุทธการของกองทัพอากาศ โดยการส่งและจัดเก็บข้อมูลพิกัดทางภูมิศาสตร์ตั้งแต่อากาศยานเริ่มทำการบินจนเสร็จสิ้นภารกิจการบิน ตามเส้นทางเหนือภูมิประเทศที่อากาศยานทำการบิน โดยสามารถใช้งานได้ที่ระยะสูงไม่เกิน 2,500 ฟุต อีกทั้งยังสามารถแสดงตำแหน่งและประวัติการเดินทางในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้ตลอดเวลา ทำให้เป็นการเพิ่มศักยภาพด้านระบบบัญชาการและควบคุมในการติดตามอากาศยานและยานพาหนะทางยุทธการของกองทัพอากาศ รวมถึงเพิ่มศักยภาพการตรวจจับอากาศยานสำหรับภารกิจการค้นหาและช่วยชีวิตให้กับผู้ปฏิบัติงานในห้องบัญชาการรบ (War Room) ของศูนย์ปฏิบัติการในทุกระดับ โดยจะสามารถใช้ระบบฯ นี้เป็นเครื่องมือเพื่อให้เกิดสถานการณ์หยั่งรู้ร่วมกัน และประกอบการตัดสินตกลงใจในภารกิจที่เกี่ยวข้องได้รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์

Article Details

How to Cite
[1]
สถิตภัทรสมบัติ ช. . และ ดวงกลาง ภ., “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเซลลูลาร์ ในการติดตามอากาศยานสำหรับการค้นหาและช่วยชีวิต”, NKRAFA J SCI TECH, ปี 17, ฉบับที่ 1, น. 60–70, มิ.ย. 2021.
บท
บทความวิจัย

References

[1] ศุภกานต์ แก้วเหลี่ยม, ภูมิพัฒน์ ดวงกลาง. (2563). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ประยุกต์เพื่อการติดตามอากาศยาน ยานพาหนะและบุคคล กองทัพอากาศ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ, 16(1): 42-51.
[2] อัญญา บูชายันต์, วนมพร พาหะนิชย์, ภูมิ สาทสินธุ์. (2018). เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศกับการรู้เรื่องภูมิศาสตร์. Special Issue: JHSSRRU, 20: 385-397.
[3] nPerf. (2021). แผนที่ความครอบคลุม 3G/ 4G/ 5G, Thailand. แหล่งข้อมูล: https://cdn.nperf.com/th/map/TH/-/.
ค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564.
[4] ปรีชา พินชุนศรี, ฐิติรัตน์ จันทรดารา, ยุทธเดช ช้อยแสง, ธนิกา กอสินประเสริฐ, ดวงนภา บัวสันต์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการด้านทะเบียนทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 25(2): 79-91.
[5] ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ. (2542). หลักการะบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] สกรณ์ บุษบง, ทิพวัลย์ แสนคํา, นพพัสสร พูนสังข์, มนัสวี เดชบันดิษ. (2563). การพัฒนาระบบจัดการคลังเลือดออนไลน์พร้อมชุดอุปกรณ์แจ้งเตือนอุณหภูมิตู้เก็บเลือดโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่งกรณีศึกษาโรงพยาบาลพุทไธสง อําเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 7(1) : 40-50.
[7] นิรุทธ์ รวยรื่น, เกรียงไกร ปอแก้ว. (2014). การใช้แมพรีดิวซ์เชื่อมคอลเลคชันของฐานข้อมูลโนเอสคิวแอลบนมองโกดีบี (Using MapReduce to Join Collection of NOSQL Database Based on MongoDB).วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา), 14(2): 23-34.