The Development of Occupational Competency Analytical Standard Model using Prototyping Functional Analysis

Main Article Content

วิเชษฐ์ พลายมาศ
ศักดิ์ชาย ตั้งวรรณวิทย์

Abstract

กระบวนการสำคัญของการพัฒนามาตรฐานอาชีพคือการวิเคราะห์สมรรถนะอาชีพ แต่ปัญหาหลักของการพัฒนามาตรฐานอาชีพในประเทศไทยโดยใช้คณะทำงานจากหลากหลายสาขาประสบอยู่ในปัจจุบันคือ การขาดรูปแบบมาตรฐานของการวิเคราะห์สมรรถนะอาชีพเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ดัวยเหตุนี้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบจำลองการวิเคราะห์สมรรถนะอาชีพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ฟังก์ชันด้วยวิธีต้นแบบ 2) หาคุณภาพแบบจำลองโดยวิธีสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 3) นำแบบจำลองที่ได้ไปพัฒนามาตรฐานอาชีพสาขาจัดการคลังสินค้าวัตถุอันตราย 4) ประเมินผลมาตรฐานอาชีพที่ได้โดยผ่านเวทีสัมมนาประชาพิเคราะห์ แบบแผนการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เป็นการวิจัยทั้งในระดับแนวคิด ระดับการนำไปใช้ และระดับประเมินค่า วิธีการวิจัยเริ่มจากพัฒนาแบบจำลองการวิเคราะห์สมรรถนะอาชีพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ฟังก์ชันด้วยวิธีต้นแบบ จากนั้นนำแบบจำลองที่ได้ไปประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ นำแบบจำลองที่ผ่านการประเมินคุณภาพไปวิเคราะห์สมรรถนะอาชีพโดยใช้วิธีการระดมความเห็นจากผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญหลายครั้งเพื่อพัฒนามาตรฐานอาชีพสาขาจัดการคลังสินค้าวัตถุอันตราย และสุดท้าย ประเมินผลมาตรฐานอาชีพที่ได้โดยใช้วิธีประชาพิเคราะห์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง


ผลการหาคุณภาพของแบบจำลองโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่าระหว่าง 0.83 ถึง 1.00 ส่วนความเหมาะสมของแบบจำลองอยู่ในระดับดีมาก ผลการประเมินมาตรฐานอาชีพสาขาจัดการคลังสินค้าวัตถุอันตรายจากผู้เข้าร่วมสัมมนาประชาพิเคราะห์ มีความคิดเห็นต่อผลการกำหนดสมรรถนะอาชีพในระดับมาก   ผลการวิจัยพบว่า มาตรฐานอาชีพสาขาจัดการคลังสินค้าวัตถุอันตราย ประกอบด้วยหน้าที่หลัก จำนวน 1 หน้าที่ สมรรถนะอาชีพจำนวน 15 หน่วยสมรรถนะ สมรรถนะย่อยจำนวน 59 หน่วยย่อย 173 เกณฑ์ปฏิบัติงาน และครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพชั้น 3-4-5-6

Article Details

How to Cite
1.
พลายมาศ ว, ตั้งวรรณวิทย์ ศ. The Development of Occupational Competency Analytical Standard Model using Prototyping Functional Analysis. Prog Appl Sci Tech. [Internet]. 2016 Dec. 30 [cited 2025 Jan. 6];6(2):102-14. Available from: https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/past/article/view/243144
Section
Information and Communications Technology

References

Lado, Augustine A; Wilson, Mary C., (1994) Academy of Management. The Academy of Management Review; Oct 1994; 19.

John Bowden and Geoff N Masters. (1993). Implications for higher education of a competency-based approach to education and training. Canberra.

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (2557). รายงานประจำปี 2556-2557.

John Crinnion (1991; 18). Evolutionary Systems Development, a practical guide to the use of prototyping within a structured systems methodology. Plenum Press, New York.

บัญชา วิชยานุวัต (2550). การพัฒนารูปแบบมาตรฐานอาชีพเพื่อประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

McClelland, D. (1973). Testing for competence rather than for ‘intelligence’. American Psychologist, Vol. 28, No 1, p. 1-14.

Boyatzis, R.E. (1982), The Competent Manager: A Model for Effective Performance, John Wiley & Sons, New York, NY.

Spencer, L.M. and Spencer, S.M., Competence at work: Model for superior performance. Wiley,New York, 1993.

สำนักงาน ก.พ. (2552). คู่มือสมรรถนะหลัก: คำอธิบาย และตัวอย่างพฤติกรรมบ่งชี้. สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน สำนักงาน ก.พ., นนทบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (2549), หลักการศึกษาและการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมของ UNESCO, กระทรวงศึกษาธิการ.

Edward E. Lawler III (1993). from JOB ANALYSIS to Competency Analysis, Center of Effective Organization, Los Angeles, USA.

Smith MF (1991). Software Prototyping: Adoption, Practice and Management. McGraw-Hill, London.

Nielsen, Jakob (1994). Usability Engineering. Morgan Kaufmann Publishers. ISBN 0-12-518406-9.

Ian Sommerville, (2004). Software Engineering, 6th edition. Addison-Wesley, England.

Juan I. Sanchez and Edward L. Levine (2008). What is (or should be) the difference between competency modeling and traditional job analysis? Human Resource Management Review 19 (20 09) 53– 63.

Candace L. Hawkes and Bart L. Weathington (2014). Competency-Based Versus Task-Based Job Descriptions: Effects on Applicant Attraction. p190-211. Institute of Behavioral and Applied Management.

อโณทัย งามวิชัยกิจ (2559). การพัฒนาสมรรถนะอาชีพในสายงานการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของประเทศไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2558.

มนต์ชัย ควรนิยม (2551) การพัฒนามาตรฐานอาชีพอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเพื่อกำหนดคุณวุฒิวิชาชีพ. ครุุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อัคครัตน์ พูลกระจ่าง และคณะ (2559). การพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาโลจิสติกส์ ระยะที่ 2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.