การพัฒนาเคลือบหินฟันม้าที่มีทองแดงออกไซด์ ดีบุกออกไซด์ สังกะสีออกไซด์ และแบเรียมคาร์บอเนตเป็นสารเพิ่มเติม ที่อุณหภูมิ 1,230 องศาเซลเซียส
คำสำคัญ:
เคลือบหินฟันม้า, สารเพิ่มเติม, เซรามิกส์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเกิดสีของเคลือบ ทดสอบค่าสีและความสว่างของเคลือบ 2) เพื่อศึกษาลักษณะและความสมบูรณ์ของผิวเคลือบโดยกำหนดเคลือบที่มีดีบุกออกไซด์ สังกะสีออกไซด์ และแบเรียมคาร์บอเนตเป็นสารเพิ่มเติม โดยสุ่มแบบเจาะจงจากตารางสามเหลี่ยม จำนวน 10 สูตรส่วนผสม และใช้ทองแดงออกไซด์ เป็นสารเพิ่มเติม ร้อยละ1 ร้อยละ 3 และร้อยละ 5 ทุกส่วนผสม เผาเคลือบที่อุณหภูมิ 1,230 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศแบบออกซิเดชั่น ผลการวิจัยพบว่า (1) การเกิดสีของเคลือบหินฟันม้า มี 2 โทน ได้แก่ 1) โทนเขียวอมสีฟ้า ได้แก่ สูตรที่ 1-3 มีปริมาณทองแดงออกไซด์ เป็นสารเพิ่มเติม ร้อยละ1 2) โทนสีเขียว ได้แก่ สูตรที่ 1-3 มีปริมาณ ทองแดงออกไซด์เป็นสารเพิ่มเติม ร้อยละ3-5 และสูตรที่ 4-10 ที่มีปริมาณทองแดงออกไซด์ เป็นสารเพิ่มเติม ร้อยละ 1-5 (2) เคลือบหินฟันม้ามีค่า a* เฉลี่ยอยู่ที่ -9.65 ถึง -11.10 มีค่า b* เฉลี่ยอยู่ที่ +12.77 ถึง +16.64 และมีค่า L* เฉลี่ยอยู่ที่ +50.80 ถึง +24.30 (3) ลักษณะของเคลือบหินฟันม้ามีความมันแวววาวทุกสูตรส่วนผสม และผิวเคลือบมีความสมบูรณ์โดยไม่มีตำหนิทุกสูตรส่วนผสม (4) เคลือบหินฟันม้าที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยวัตถุดิบดังต่อไปนี้ หินฟันม้า ร้อยละ 45 โดโลไมท์ ร้อยละ 10 แคลเซียมคาร์บอเนต ร้อยละ 13 ดินขาว ร้อยละ 07 หินเขี้ยวหนุมาน ร้อยละ 25 มีส่วนผสมของดีบุกออกไซด์ ร้อยละ 2-8 สังกะสีออกไซด์ ร้อยละ1-7 แบเรียมคาร์บอเนต ร้อยละ 1-7 และสามารถใช้ทองแดงออกไซด์ ต่อเคลือบหินฟันม้าที่มีดีบุกออกไซด์ สังกะสีออกไซด์ และแบเรียมคาร์บอเนตเป็นสารเพิ่มเติม ตั้งแต่ ร้อยละ 1-5
References
ณัฐนันท์ บัวงาม. (2553). ความสุนทรีย์จากม้าน้ำ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต)
มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ปรีดา พิมพ์ขาวขำ. (2547). เซรามิกส์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2546). สีเซรามิก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2547). รวมสูตรเคลือบเซรามิกส์. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ภรดี พันธุภากร, และเสกสรรค์ ตันยาภิรมย์. (2542). เคลือบเซรามิกส์จากเปลือกหอยนางรม. .
(รายงานผลการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมศักดิ์ ชวาลาวัณย์. 2549. เซรามิกส์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สุขุมาล เล็กสวัสดิ์. (2548). เครื่องปั้นดินเผา พื้นฐานการออกแบบและปฏิบัติงาน.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Singer, S. S. (1963). Industrial Ceramics. London: Champan and Hall Ltd.