การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เอบีซีและปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด เพื่อจัดการสินค้าคงคลังของร้านจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง กรณีศึกษา บริษัทสมนึกอินเตอร์เทรด จำกัด

ผู้แต่ง

  • ฤดี นิยมรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กฤษฎา นาคะวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กษิดิ์เดช แช่มสายทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การจัดการสินค้าคงคลัง, การวิเคราะห์เอบีซี, ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด, จุดสั่งซื้อใหม่, ร้านจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เอบีซีของสินค้าคงคลัง วิเคราะห์หาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด และเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลังระหว่างรูปแบบปัจจุบันและรูปแบบการสั่งซื้อที่ประหยัด ของร้านจำหน่ายวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง กรณีศึกษาบริษัทสมนึกอินเตอร์เทรด จำกัด ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าคงคลังย้อนหลัง 1 ปี (เดือนพฤษภาคม 2564-เดือนพฤษภาคม 2565) โดยใช้การวิเคราะห์เอบีซี เพื่อจัดกลุ่มสินค้าคงคลังจำนวน 250 รายการ พบว่าสินค้าคงคลังกลุ่ม A มีจำนวน 14 รายการ มีมูลค่า 11,043,728 บาท หรือคิดมูลค่าเป็นร้อยละ 70.02 สินค้ากลุ่ม B จำนวน 83 รายการ มีมูลค่า 3,940,501 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24.98 และกลุ่ม C จำนวน 153 รายการ มีมูลค่า 788,593 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.00 สินค้าคงคลังกลุ่ม A มีค่าสัมประสิทธิ์แปรปรวนน้อยกว่า 0.25 จึงเหมาะสมกับรูปแบบปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด ที่พบว่าจำนวนการสั่งซื้อที่ประหยัดของสินค้าคงคลังกลุ่ม A อยู่ระหว่าง 5-11 ครั้งต่อปี และมีจุดสั่งซื้อใหม่เมื่อสินค้าคงคลังลดจำนวนลงเหลือ 3-18 หน่วยในคลังสินค้า เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบปัจจุบันกับรูปแบบปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดพบว่า รูปแบบปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดสามารถลดต้นทุนในการสั่งซื้อลงได้ 197,386 บาท หรือร้อยละ 58.03 ลดต้นทุนในการเก็บรักษาได้ 5,213 บาท หรือร้อยละ 3.39 โดยรวมลดต้นทุนสินค้าคงคลังได้ 202,581 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.02 ต่อปี

References

กชกร เจียมสง่า, ศิริลักษณ์ เอกตระกูล, วรรณลักษณ์ เหล่าทวีทรัพย์ และสุพิชชา ชีวพฤกษ์. (2563). การจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัทผลิตโคมไฟพลาสติก. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 6(1), 19-28.

กิ่งกาญจน์ ผลิกะ และนพปฎล สุวรรรณทรัพย์. (2559). การบริหารสินค้าคงคลังโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Classification Analysis เทคนิค EOQ Model และวิธี Silver-Meal: กรณีศึกษา บริษัท XYZ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 102-114.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2553). การจัดการสินค้าคงคลัง = Inventory management. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง.

จันทร์เพ็ญ อนุรัตนานนท์, ประจวบ กล่อมจิตร, พัทธ์ธีรา พรมทอง และรจเรข เลขกูล. (2563). การจัดตารางการสั่งซื้อยาในโรงพยาบาลรัฐ กรณีศึกษาโรงพยาบาลสิรินธร. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 6(2), 8-19.

ชยุตม์ บรรเทิงจิตร. (2561). การประยุกต์ใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์ในการออกแบบผังคลังสินค้าเพื่อลดเวลาในการขนถ่ายวัสดุ. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 8(3), 1-14.

ชัยวัฒน์ ขันตี. (2554). การศึกษาผลกระทบทางธุรกิจของร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ต่อร้านวัสดุก่อสร้างสมัยดั้งเดิมในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2), 89-112.

พรชิศา หฤทัยวรกูล. (2560). แนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการสินค้าคงคลังของร้านค้าปลีกก่อสร้างแบบดั้งเดิม: กรณีศึกษาร้าน พ สุวรรณภูมิ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

พิภพ ลลิตาภรณ์. (2546). การบริหารของคงคลังระบบ MRP และ ROP (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

พุทธชาด ลุนคำ. (2564). วิจัยกรุงศรี แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง. ค้นจาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/ industry-outlook/Construction-Construction-Materials/Construction-Materials/IO/io-construction-materials-21.

ภราภรณ์ ทศพร. (2559). การปรับปรุงบริหารวัตถุดิบคงคลัง กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนตลับ ลูกปืน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เยาวลักษณ์ ซาหนองหว้า และชฎาพร ฑีฆาอุตมากร. (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร สินค้าคงคลังของบริษัท ซี.เอส.สตีล โปรดักส์ จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

วิญญู ปรอยกระโทก และพงศธร คำควร. (2565). การปรับปรุงรูปแบบการจัดเก็บและการหยิบเบิกสินค้าวางกองในคลังสินค้า: กรณีศึกษาบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 8(1), 34-48.

วีระ จรัสศิริรัตน์. (2558). การศึกษาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมในการสั่งซื้อวัตถุดิบ กรณีศึกษา บริษัทผลิตเครื่องถ่ายเอกสารและอะไหล่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite

[1]
นิยมรัตน์ ฤ., นาคะวงศ์ ก., และ แช่มสายทอง ก., “การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เอบีซีและปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด เพื่อจัดการสินค้าคงคลังของร้านจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง กรณีศึกษา บริษัทสมนึกอินเตอร์เทรด จำกัด”, PSRU JITE, ปี 4, ฉบับที่ 3, น. 354–368, ธ.ค. 2022.