การอบแห้งดอกบัวด้วยสารดูดความชื้นร่วมกับ เทคนิคสุญญากาศและไมโครเวฟ

ผู้แต่ง

  • ชาลินี เพ็ชรนิล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • ณัฐหทัย แซ่ย่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

คำสำคัญ:

การอบแห้ง, ดอกบัว, ไมโครเวฟ, สุญญากาศร่วมกับรังสีอินฟราเรด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาจลนพลศาสตร์การอบแห้งดอกบัวและสมบัติของดอกบัวก่อนและหลังการอบแห้ง โดยทำการศึกษาการอบแห้งดอกบัวสายพันธุ์โคโลราต้า ด้วยเทคนิคการฝังกลบด้วยซิลิกาทรายร่วมกับเทคนิคสุญญากาศและไมโครเวฟ ดอกบัวที่ใช้ในการอบแห้งคือ ดอกบัวโคโลราต้า โดยมีเงื่อนไขในการอบแห้งที่กำลังไมโครเวฟ 400 500 และ 600 วัตต์ และความดันสัมบูรณ์ภายในห้องอบแห้งที่ 5 กิโลปาสคาล จากการทดลองพบว่า กำลังไมโครเวฟที่สูงขึ้นมีผลต่อความชื้นที่ลดลงของดอกบัวโดยใช้เวลาในการอบแห้งและความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะลดลงแต่ความแตกต่างของสีดอกบัวโดยรวมจะเพิ่มขึ้น โดยการอบแห้งดอกบัวที่ความชื้นเริ่มต้นเฉลี่ยร้อยละ 756.06 มาตรฐานแห้ง ที่กำลังไมโครเวฟที่ 600 วัตต์ ใช้เวลาอบแห้งน้อยที่สุด 80 นาที จนมีความชื้นสุดท้ายร้อยละ 5.88 มาตรฐานแห้ง และความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะน้อยที่สุด 0.203 เมกะจูลต่อกรัมน้ำระเหย การอบแห้งด้วยการฝังกลบด้วยซิลิกาทรายอย่างเดียวให้ค่าความแตกต่างของสีดอกบัวโดยรวมน้อยที่สุด 5.22 และเมื่อพิจารณาเฉพาะการอบแห้งด้วยไมโครเวฟพบว่าการอบแห้งดอกบัวที่กำลังไมโครเวฟ 400 วัตต์ ให้ค่าความแตกต่างของสีโดยรวมน้อยที่สุด 6.13 นอกจากนี้การอบแห้งดอกบัวทุกวิธีให้ค่าปริมาณน้ำอิสระน้อยกว่า 0.6 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

References

กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์, และศรีมา แจ้คำ. (2562). แบบจำลองทางคณิตศาสตร์การอบแห้งข่าด้วยสุญญากาศร่วมกับรังสีอินฟราเรด. วารสารวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 9(3), 29-43.

ปานฤทัย เมฆะ, และสุจินดา ศรีวัฒนะ. (2563). สถาวะที่เหมาะสมในการอบแห้งด้วยไมโครเวฟและการสกัดด้วยคลื่นอัลตราโซนิกสมบัติทางเคมีกายภาพของดอกอัญชัน (Clitoria ternatea L.). วารสารวิทยาศาสตร์ มศว., 36(2), 197-215.

พัชรี ญานสาร. (2564). ดอกบัวโคโลราต้า. พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรามงคลธัญบุรี ค้นหาจาก http://www.lotus.rmutt.ac.th/?p=10473

มานะบุตร ศรียงค์, มัณฑนา บัวหนอง, ณ นพชัย ชาญศิลป์, ภูรินทร์ อัครกุลธร, และเฉลิมชัย วงอารี. (2554, ธันวาคม). คุณภาพของกลีบดอกบัวมังคลอุบลที่ทำแห้งด้วยวิธีการอบแห้งไมโครเวฟร่วมกับการฝังในซิลิก้าเจล. เอกสารนำเสนอในที่ประชุมสัมมนาวิชาการการพัฒนาบัวให้เป็นพืชเศรษฐกิจ ครั้งที่ 9 ในงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติราชพฤกษ์ 2554, ณ โรงแรมเซ็นทารา ดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่.

ระวิน สืบค้า. (2556). เทคโนโลยีความชื้น. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 23(2), 500-512.

รัฐศักดิ์ พรหมมาศ, โศภิดา สังข์สุนทร, และณิชาภา มินาบูลย์. (2560). การอบข้าวสารชุบสีสมุนไพรด้วยคลื่นไมโครเวฟ. วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยจุลจอมเกล้า, 15(15), 79-89.

วรวุฒิ มานะงาน, และกิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์. (2563). การอบแห้งดอกบัวด้วยเทคนิคสุญญากาศแบบพัลส์และอินฟราเรดร่วมกับการฝังในซิลิกาทราย. วารสารวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 10(3), 86-98.

โศภิดา สังข์สุนทร, ดนุสรณ์ ชาติเชยแดง, และวัชรพงศ์ บุญครอง. (2559). ผลของการใช้ไมโครเวฟร่วมกับสุญญากาศในการอบแห้งสับประรด. วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยจุลจอมเกล้า, 14(14), 159-170.

สุภวรรณ ฏิระวณิชย์กุล, สลิลลา ชาญเชี่ยว, และยุทธนา ฏิระวณิชย์กุล. (2556). การอบแห้งใบบัวบกเพื่อผลิตใบบัวบกแห้งชงดื่มด้วยการแผ่รังสีอินฟราเรด: จลนพลศาสตร์ความสิ้นเปลืองพลังงานและคุณภาพ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 18(2), 311-324.

สุภา จุฬคูปต์. (2552). การพัฒนาดอกบัวสดอบแห้ง. รายงานการวิจัย สาขาคหกรรมศาสตร์คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

Angel, C., Antoni, S., Adam, F., Klaudiusz. J., Maciej, A., Angel, A., & Carbonell, B. (2011). Effects of vacuum level and microwave power on rosemary volatile composition during vacuum–microwave drying. Journal of Food Engineering, 103, 219-227.

AOAC (Association of Official Analytical Chemists). Official Methods of Analysis. 17th

ed. Association of Official Analytical Chemists. Maryland: Gaithersburg; 2000.

MacDermot, E. (1974). Preserving flower with silica gel, In dried flower design, Botanic

garden record plant and gardens, 30, 7-11.

Ricardo, M., Aline, G., Jade, L., Bruno, C., & Joao, L. (2020). Microwave vacuum drying of foods with temperature control by power modulation. Innovative Food Science and Emerging Technologies, 65, 1-11.

Ricardo, M., Bruno, C., Antonio, J., & Joao L. (2015). How to make a microwave vacuum dryer with turntable. Journal of Food Engineering, 166, 276-284.

Varith, J., Dijkanarukkul, P., Achariyaviriya, A., & Achariyaviriya, S. (2007). Combined microwave-hot air drying of peeled longan. Journal of Food Engineering, 81, 459-468.

Yangyang, J., Ibrahim, K., Lanlan, H., Wei, Z., Jin, L., Kaikai, L., & Chunmei, L. (2019) bInfluence of three different drying techniques onpersimmon chips’ characteristics: A comparisonstudy among hot-air, combined hot-air-microwave, and vacuum-freeze drying techniques. Food and Bioproducts Processing, 118, 67-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07

How to Cite

[1]
เพ็ชรนิล ช., แซ่ย่าง ณ., และ วิธินันทกิตต์ ก. ., “การอบแห้งดอกบัวด้วยสารดูดความชื้นร่วมกับ เทคนิคสุญญากาศและไมโครเวฟ”, PSRU JITE, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 43–58, เม.ย. 2023.