การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการบรรจุ กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตดินผสม สำหรับอุตสาหกรรมเซรามิกส์

ผู้แต่ง

  • ศิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จินตนัย ไพรสณฑ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กิตติชัย อธิกุลรัตน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การปรับปรุงกระบวนการ, แผนภูมิกิจกรรมพหุคูณ, อุตสาหกรรมเซรามิกส์, ECRS

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา หาแนวทางการปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการบรรจุของบริษัทผู้ผลิตดินผสม สำหรับอุตสาหกรรมเซรามิกส์ โดยใช้การศึกษาการทำงานด้วยเครื่องมือแผนภูมิกิจกรรมพหุคูณ (Multiple activity chart) ในการบันทึกข้อมูล หาแนวทางการปรับปรุงโดยใช้การลดความสูญเปล่าด้วยหลักการ ECRS  พร้อมทั้งเปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับปรุง ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการดังกล่าวคือ 1) เวลาว่างของเครื่องจักร รวมทั้งเวลารอคอยของพนักงาน และ 2) การทำงานของเครื่องจักรไม่เต็มประสิทธิภาพ ผู้วิจัยได้ดำเนินการปรับปรุงโดยใช้หลักการ ECRS ได้แก่ 1) การรวมขั้นตอน รวมพื้นที่เข้าด้วยกัน 2) การจัดลำดับงานใหม่ให้เหมาะสม โดยใช้การสลับขั้นตอนและงานให้กับพนักงาน และ 3) การออกแบบการทำงานให้ง่ายขึ้น โดยตัดคานเหล็กบางจุดที่ขัดขวางการเคลื่อนไหวของพนักงาน ผลการปรับปรุง พบว่า เวลาที่ใช้ในการบรรจุต่อ 1 ถุง ลดลงร้อยละ 53.00 ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.58 ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานคนที่ 1 และ 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.94 และ 43.86 ตามลำดับ ส่งผลให้ผลิตภาพของกระบวนการในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 105.88 และสามารถลดต้นทุนแรงงานในการบรรจุได้ 19,320 บาทต่อปี

References

กรณ์ฐิกูล วราวงษ์หิรัณ. (2559). การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตในสายการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

จักรพงษ์ เพ็งแจ่มใส. (2560). การปรับปรุงการบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว. (2546). หลักการเพิ่มผลผลิต (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติสำนักพิมพ์โรงพิมพ์ประชาชน.

ประเสริฐ อัครประถมพงศ์. (2552). การลดความสูญเปล่า ด้วยหลักการ ECRS. ค้นจาก https://cpico.wordpress.com.

ภัทรนิษฐ์ บุญวัง. (2556). การประยุกต์แนวคิดแบบลีนเพื่อลดความสูญเปล่าในการผลิต กรณีศึกษาบริษัท ABC จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ภีมพร ประเสริฐ และคณิศร ภูนิคม. (2013). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตกระถางกรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat Universit, 3(6), 61-72.

หัสดินทร์ สอนปะละ. (2560). แรงจูงใจและส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเซรามิกส์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเอาท์เลทเซรามิกส์ จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

องุ่น สังขพงศ์ และสถาพร ทองคำ.(2556). การเพิ่มผลผลิตของสายการผลิตกุ้งไม่มีหัวแช่แข็งในอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

อนุธิดา ประเสริฐศักดิ์. (2554). การลดต้นทุนเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 17(1), 1-10.

Kasidit, S., & Chusak, S. (2007). Productivity Improvement with Line Balancing Technique by Genetic Algorithm. In Proceeding of 7th National Conference of Industrial Engineering Network. (IE Network), Petchaburi, 685 – 692.

Phiphop, L. (2005). Production Planning and Control. Bangkok: Technology Promotion Association (Thailand-Japan) Press. 83-96.

Ratchawan, K., & Neausom, T. (1995). Motion and Time Study. Bangkok: Physic Center Press, 48-62.

Wichai, C. & Chaleormpol, B. (2008). Application of Production Line Balancing Technique for Productivity with Electronic Part Assembly Industry. KKU Research Journal, 13(8), 969-980.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-08

How to Cite

[1]
แจ้งรักษ์สกุล ศ., ไพรสณฑ์ จ. ., และ อธิกุลรัตน์ ก., “การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการบรรจุ กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตดินผสม สำหรับอุตสาหกรรมเซรามิกส์”, PSRU JITE, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 73–83, เม.ย. 2023.