การจัดการโซ่อุปทานสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บริเวณรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ปาละวงค์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ใกล้รุ่ง พรอนันต์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, การจัดการโซ่อุปทานท่องเที่ยว, ตัวแบบเชิงปฏิบัติการโซ่อุปทาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness tourism) บริเวณรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness tourism) บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยวิธีการดำเนินงานวิจัยเป็นแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลภาพรวมของโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วยแบบสอบถาม และนำผลลัพธ์ที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์โซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบริเวณรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยตามหลักตัวแบบเชิงปฏิบัติการโซ่อุปทาน (SCOR model) ผลการวิจัย พบว่า การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีองค์ประกอบ 3ด้าน ได้แก่ การจัดการห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านต้นน้ำ การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านกลางน้ำ และการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านปลายน้ำ

References

กรแก้ว จันทภาษา. (2007). การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล (In-depth interview) ค้นจาก https://home.kku.ac.th/korcha/int3.html

กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2564). ยกระดับโรงแรมไทยด้วยมาตรฐาน WellHotel ส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวตอบโจทย์แนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. Policy Brief Tourism, 6(1), 1-12.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ต้นทุนของไทยสู่การเป็น Wellness Tourism. ค้นจาก https://tatacademy.com/th/articles/article/fb75df03-f23b-463985ff722932a75d41? bclid=IwAR2wA4CTbHdtT3XL61ztwLAl27hTQGnrYJRCFKhTQGnr2flURTdVu3ZzVu0

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: โรงพิมพ์ครองช่างพริ้นติ้ง.

นันทพรรณ พูลอ่ำ. (2560). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (wellness Tourism). ค้นจาก https://sites.google.com/

แผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 2560 - 2564. ค้นจาก https://sukhothai.mots.go.th/download/article/article_20200414104709.pdf

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุโขทัย. (2563). สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย. ค้นจาก https://sukhothai.mots.go.th/ewtadmin/ewt/sukhothai/more_news.php?page=1&cid=7

อรนรินทร์ ขจรวงศ์วัฒนา. (2552). การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview). ค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/285191

Lean Supply Chain by TMB. (2020). ทำความรู้จัก SCOR Model. Retrieved from https://tmbleansupplychain/posts/4107926662566487

Nanthapodej, R., Phutthala, S., & Pattanapairoj, S. (2006). Principle of supply chain operations reference (SCOR) model. Engineering and Applied Science Research, 33(4), 325-335.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-12

How to Cite

[1]
ปาละวงค์ อ. และ พรอนันต์ ใ., “การจัดการโซ่อุปทานสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บริเวณรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย”, PSRU JITE, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 102–114, เม.ย. 2023.