The Particleboard for Fire Retardation from Corn husk coated with Fish Gelatin แผ่นชิ้นไม้อัดต้านทานการลามไฟจากเปลือกข้าวโพดเคลือบเจลาตินปลา

Main Article Content

จินดาพร สืบขำเพชร
ธีระวิทย์ พลโคกก่อง

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตและตรวจสอบคุณสมบัติแผ่นชิ้นไม้อัดต้านทานการลามไฟจากเปลือกข้าวโพดเคลือบเจลาตินปลา ทำการอัดขึ้นรูปแบบแผ่นขนาด 150x150x150 mm3 โดยใช้กาวฟอร์มัลดีไฮด์เป็นตัวประสาน ในอัตราส่วนของตัวประสานต่อเปลือกข้าวโพดแห้ง 30 : 70 ขึ้นรูปด้วยวิธีการอัดเย็นในแม่พิมพ์เป็นเวลา 30 นาที ด้วยแรงกด 35.56  จากนั้นนำไปแช่ในเจลาตินปลาเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ชิ้นงานดังกล่าวนำมาทดสอบคุณสมบัติต้านทางการลามไฟตามมาตรฐาน UL 94 พบว่า แผ่นชิ้นไม้อักต้านทานการลามไฟจากเปลือกข้าวโพดเคลือบเจลาตินปลาไม่เกิดการเผาไหม้ จากนั้นทำการทดสอบคุณสมบัติชิ้นงานตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ ที่ความหนาแน่นปานกลาง (มอก. 2547) สำหรับคุณสมบัติเชิงกายภาพ มีความหนาแน่นเฉลี่ย 517.47  ปริมาณความชื้น ร้อยละ 12.30 รวมทั้งการพองตัวตามความหนาร้อยละ 5.34 และทดสอบคุณสมบัติเชิงกล พบว่า ความต้านทางแรงดัด (MOR) 6.92 MPa มอดูลัสยืดหยุ่น (MOE) 348.43 MPa และความต้านแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้า 0.060 MPa จากข้อมูลดังกล่าวพบว่าแผ่นชิ้นไม้อัดต้านทานการลามไฟจากเปลือกข้าวโพดเคลือบเจลาตินปลามีคุณสมบัติทางกายภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ : ความหนาแน่นปานกลาง มอก.876-2547 แต่ยังขาดคุณสมบัติเชิงกล และจากการวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานตามพื้นผิวของแผ่นชิ้นไม้อัดต้านทานการลามไฟจากเปลือกข้าวโพดเคลือบเจลาตินปลาที่กำลังขยาย 30, 50, 100, 200 และ 500 เท่า ด้วยกล้องอิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) พบว่าเจลาตินปลาสามารถเกาะติดพื้นผิวในลักษณะที่กระจายตัวทั่วทั้งผิวเรียบและขรุขระสลับกัน ซึ่งเป็นไปตามคุณลักษณะของแผ่นชิ้นไม้อัด ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าแผ่นชิ้นไม้อัดต้านทานการลามไฟจากเปลือกข้าวโพดเคลือบเจลาตินปลา สามารถต้านทานการลามไฟได้จริงและเหมาะสำหรับการนำมาแปรรูปใช้ในอุตสาหกรรมตกแต่งและงานเฟอร์นิเจอร์


คำสำคัญ  :  เปลือกข้าวโพด การอัดเย็น แผ่นชิ้นไม้อัด กาวฟอร์มัลดีไฮด์ เจลาตินปลา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัชธกาภรณ์ จรัญจารุพัฒน์ และสาลินี อาจารรีย์. (2561). การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 28(2), 469-476.

ธีรภัทร์ สุภานิล. (2558). การศึกษาสมบัติเชิงกลของวัสดุคอมโพสิตพอลิแลคติกแอซิดที่มีผ้าทอจากเส้นใยธรรมชาติเป็นวัสดุเสริมแรง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปกร).

บุญศักดิ์ สมบุญรอด, ไพรัช วงศ์ยุทธไกร และวรธรรม อุ่นจิตติชัย. (2549). การผลิตแผ่นปาร์ติเกิลบอร์ดชนิดเสริมแรงจากแกนต้นกัญชง. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลไม้ป่า.

พิชชา ลิ่วชิราภรณ์. (2549). การทดสอบการติดไฟและลามไฟของพลาสติก. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะแลวัสดุแห่งชาติ. 31(4), 57-60.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2563). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 876-2547. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

Ananya, T., Khalid, M., Svetlana, T-M., & Paul, J. (2020). Passive fire protection of wood using some bio-derived fire retardants. Polymers 2020, 12, 1830.

Department of Disaster Prevention and Mitigation, Ministry of Interior. (2020). Safety Thailand. Retrieved May 2, 2021, from https://www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/57e38f736c5bc.pdf

Lobo, L. (2002). Coalescence during Emulsification 3. Effect of Gelatin on Rupture and Coalescence. Journal of Colloid and Interface Science, 254(1), 165-174.

Luangtrirat, N., Louhpensang, C., & Egwutvongsa, S. (2014). A study and development of products waste materials from the paper industry. Art and Architecture Journal Naresuan University, 5(1), 41-55.

NIDA center for Research & Development of Disaster Prevention & Management (NIDA DPM). (2012). Initiation device. Retrieved May 2, 2021, from http://dpm.nida.ac.th/main/index.php/articles/fire?start=15

Nagai, T., & Suzuki, N. (2000). Isolation of Collagen from Fish Waste Material—Skin, Bone and Fins. Food Chemistry, 68, 277-281.

Towiwat, P. (2017). “Corn Husks” The management innovation of waste material from agriculture, National Innovation Agency (NIA), Thailand. Retrieved May 2, 2021, from https://www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/57e38f736c5bc.pdf

Xu, X., Yao,F., Wu, Q., & Zhou, D. (2008). The influence of wax-sizing on dimension stability and mechanical properties of bagasse particleboard. China: College of Wood and Technology, Nanjing Forestry University.